ผู้ถาม : ขอโอกาสเจ้าค่ะ...ศิษย์น้อมคำสอนในหนังสือจบที่ใจมาลองปฏิบัติ ขณะที่จิตฟุ้งซ่านเข้าไปพัวพันกับอารมณ์ไม่พอใจกับสถานการณ์ที่ต้องอดทน ใช้คำบริกรรมว่า "รู้ตะพึดตะพือ - ช่างมันตะพึดตะพือ" โดยไม่ไปใส่ใจอาการของจิต ไม่ไหลไปกับอารมณ์ แต่พยายามตัดให้มันสั้นโดยแค่รู้ว่าสิ่งนี้ผุดขึ้นในใจ ไม่ไปคิดต่อ ไม่ไปไล่ดับอาการ แต่ด้วยความเคยชินจิตก็คิดไป ก็ได้แต่บริกรรมคำนี้ ตั้งสติไม่ให้ไหลไปตามความเคยชิน ก็ได้ผลค่ะ จิตค่อยๆ หดเข้ามา และเมื่ออ่านจบที่ใจหลายรอบเข้า ใจมันก็ประมวลความเข้าใจเองอย่างปะติดปะต่อว่า เหตุคือการกระทบทางทวารต่างๆ จึงทำให้การสืบต่อของแต่ละขันธ์เป็นไปโดยอัตโนมัติ จากความเข้าใจนั้น ปากมันพูดออกมาเองว่า อ๋อ...เกิดสิ่งนี้ แล้วเกิดสิ่งนี้ขึ้น เหมือนมันไม่ได้พูดจากปาก แต่พูดจากใจ ไหลออกจากใจแบบม้วนเดียวเลย จำไม่ได้ด้วยซ้ำว่าพูดกับตัวเอง (เชิงรำพึง) ว่าอย่างไร รู้แต่ว่าพูดจบก็คือจบเลยไม่เอามาคิดต่อ แล้วก็วางความเข้าใจนั้นไปด้วย ไม่ไปคิดค้นวิเคราะห์ตามนิสัยเดิมที่มันเป็นมาอย่างนั้น อย่างนี้เรียกว่ามัน "ลงแก่ใจ" มั้ยคะ...กราบนมัสการเจ้าค่ะ หลวงตา : สาธุ เช่นนั้นเอง ปุจฉาวิสัชนาธรรมเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2561