หลวงตาณรงศักดิ์ ขีณาลโย

  • หน้าหลัก
  • สื่อธรรมะ
    • หนังสือธรรมะ
    • เสียงธรรม
      • เสียงธรรมรายปี
      • ไฟล์เสียงจัดชุด
    • CD
    • e-Book ปุจฉา-วิสัชนา
  • ปุจฉา-วิสัชนา
  • ภาพธรรม
  • วิดีโอธรรม
  • ธรรมทัศน์
  • ธรรมถึงใจ
  • ธรรมโอวาท
    • โอวาทธรรม
      • โอวาทธรรม 60-61
      • โอวาทธรรม 62
        • โอวาทธรรม ม.ค. - มี.ค. 62
        • โอวาทธรรม เม.ย.- มิ.ย. 62
        • โอวาทธรรม ก.ค. - ก.ย. 62
        • โอวาทธรรม ต.ค. - ธ.ค. 62
      • โอวาทธรรม 63
        • โอวาทธรรม ม.ค. - มี.ค. 63
        • โอวาทธรรม เม.ย. - มิ.ย. 63
        • โอวาทธรรม ก.ค. - ก.ย. 63
        • โอวาทธรรม ต.ค. - ธ.ค. 63
      • โอวาทธรรม 64
        • โอวาทธรรม ม.ค. - มี.ค. 64
      • โอวาทธรรมถึงใจ
    • ปกิณกธรรม
    • ประชาสัมพันธ์สื่อธรรม
    • โอวาทธรรมชุด
  • Other Languages
    • English
    • Deutsch

ความเข้าใจเรื่องจิตเดิมแท้ หรือ ฐีติภูตัง

ความเข้าใจเรื่องจิตเดิมแท้ หรือ ฐีติภูตัง

ผู้ถาม : กราบขอโอกาสหลวงตาเมตตาอธิบายเรื่องจิตเดิมแท้, อวิชชา และฐีติภูตัง ด้วยครับ กราบในความเมตตาของหลวงตาครับ

 

หลวงตา : ไม่มีจิตดวงเดิม เกิดมาก่อน แล้ว เกิดอวิชชามาหุ้มภายหลัง

จิต กับ อวิชชา มันเกิดขึ้นมาพร้อมกันในธรรมชาติ เพราะอวิชชาเกิด จิตจึงเกิด หรือ จิตเกิด เพราะอวิชชาเกิด
และ เพราะอวิชชาดับ จิตจึงดับ หรือ จิตดับ เพราะ อวิชชาดับ

ถ้ามีจิตดวงเดิมเกิดมาก่อน แล้วอวิชชามาห่อหุ้มที่หลัง
การปฏิบัติ ก็จะหลงว่ามีจิตเดิมแท้ เป็นดวงที่เที่ยงอย่างเป็นอมตะ เมื่อหลงผิดว่ามีจิตดวงเดิมแท้ ที่เที่ยง ก็จะหลงยึดถือจิตเดิมแท้นั้น เป็นเรา ตัวเรา หรือ จิตของเรา และจะเห็นผิดไปว่า มีอวิชชามาหุ้มจิตของเราในภายหลัง
การปฏิบัติ ก็จะปฏิบัติไปด้วยอวิชชา คือ มุ่งทำลายอวิชชาให้ได้ เพื่อ ให้ถึงจิตเดิมแท้ของเราที่บริสุทธิ์ ถ้ามีความเห็นผิด และปฏิบัติไปตามความเห็นที่ผิดอย่างนี้นะไม่มีวันที่สิ้นอวิชชาได้

จิตเดิมแท้ ที่สิ้นอวิชชา เป็นธาตุรู้ตามธรรมชาติ ที่ไม่มีดวง ไม่มีรูปร่าง มันจึงเป็นเหมือนความว่างของธรรมชาติหรือจักรวาล
ดังนั้น เมื่อ สิ้นอวิชชาแล้ว จิตที่มีรูปที่เกิดมาจากการปรุงแต่งของธาตุกับอวิชชาจึงดับไป

เหลือแต่ธาตุรู้แท้ ซึ่งเป็นธาตุแท้ๆ ตามธรรมชาติ จึงกลืนหายไปในความว่างของอากาศหรือความว่างของจักรวาล

ไม่มีตัวเราเหลือ
ไม่มีจิตของเราเหลือ
มีแต่อวิชชาดับไป เหลือแต่ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ อากาศธาตุ คือ ความว่างในร่างกาย ความว่างในจิต เพราะมีความว่างในร่างกาย และความว่างในจิต ร่างจึงไม่เที่ยงเคลื่อนไหว เกิดดับได้
เพราะมีความว่างในจิต จิตจึงไม่เที่ยง เคลื่อนไหวเกิดดับได้
โมเลกุล หรือ อะตอม หรือ อนุภาค แต่ละอนุภาค จะมีความว่าง ให้แต่ละอนุภาค เคลื่อนไหวได้
และธาตุรู้ ซึ่ง มีคุณสมบัติ คือ คล้ายกับความว่างของอากาศธาตุ แต่ไม่เหมือนกันตรงที่เป็นธาตุว่างที่มีความรู้อยู่ในตัวมันเอง
เมื่อถึงคราวที่ร่างกายแตกดับ(ตาย) จิตที่สิ้นอวิชชาจึงดับ เพราะทั้งร่างกาย กับ จิต เกิด จาก อวิชชา และธาตุต่างๆ มารวมกัน
เมื่ออวิชชาดับ จึงเหลือ แต่ธาตุแท้ๆ ตามธรรมชาติ คือ
ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ ธาตุอากาศ ธาตุรู้
ซึ่งไม่มีเราเป็นเจ้าของธาตุ หรือ ในธาตุแท้ตามธรรมชาติทุกธาตุ ไม่มีตัวเรา ของเรา

ถ้าหลงผิดยึดถือว่าร่างกาย หรือ จิต หรือ ธาตุรู้ เป็นเรา ตัวเรา หรือ ของเรา ก็จะไม่สิ้นอวิชชา

เมื่ออวิชชาดับ ธาตุรู้ ซึ่งเป็นธาตุแท้ตามธรรมชาติ ซึ่งมีคุณสมบัติ เหมือนกับธาตุอากาศ ที่เป็นความว่าง ต่างกันเพียงแต่ ธาตุรู้ ที่สิ้นหลง สิ้นอวิชชา แล้ว ก็จะกลืนหายไปในความว่างของอากาศในธรรมชาติหรือความว่างในจักรวาล

หลวงปู่........เคยถามหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ทำนองนี้ ว่ามันมีดวงจิตที่บริสุทธิ์ (ฐีติภูตัง) แล้ว อวิชชา หรือ กิเลสมาห่อหุ้มในภายหลัง

หลวงปู่มั่นวิสัชชนาว่า ถ้าท่านคิดอย่างนี้ มันเหมือนกับว่า จิตเดิมแท้ ฐีติภูตัง มันมีตัวตนว่างเปล่า มันเป็นเหมือนไหปลาร้าที่ว่างเปล่า แล้วเพียรปฏิบัติเอาปลาร้า หรือเอาอวิชชาหรือเอากิเลสออกจากใจ เพื่อให้ถึงใจที่ว่างเปล่า ปฏิบัติถึงที่สุดอย่างไร ก็จะเหลือใจที่ว่างเปล่าอยู่ เหมือนกับควักปลาร้าออกไปหมดแล้ว แต่ก็ยังเหลือไหปลาร้าให้สงวนรักษาไว้ แล้วจะพ้นทุกข์ได้อย่างไร

ท่านกล่าวว่า จิตเดิมแท้หรือฐีติภูตัง ไม่ได้เป็นความบริสุทธิ์ ที่สิ้นอวิชชามาตั้งแต่แรก มันมีอวิชชาผสมมาตั้งแต่แรก มันจึงมีตัวจิต เมื่อ สิ้นอวิชชา จึงไม่มีตัวจิต

 

ผู้ถาม : ไม่เป็นไรครับ สิ้นสงสัยดีกว่าครับ
เกรงใจหลวงตามากๆๆๆ ครับ
จะน้อมพิจารณาในคำอธิบายของหลวงตาให้ถึงใจครับผม

 

หลวงตา : อย่าสิ้นสงสัยดีกว่า เพราะเกรงใจหลวงตา เพราะเมื่อ จิตไม่เกิดปัญญารู้แจ้งจนถึงใจ จิตเขาจะไม่สิ้นหลงผิดให้เป็นอวิชชาปนอยู่ในจิต และไม่ยอมปล่อยวางความหลงยึดถือ

ฐีติภูตัง คือ ธาตุรู้ตามธรรมชาติ ที่มีอวิชชาปนมาแต่แรก เรียกว่า ใจหรือจิต หรือวิญญาณธาตุ หรือ ธาตุรู้ ...ฯลฯ ที่มีอวิชชา

เมื่อสิ้นอวิชชา ก็เป็นฐีติภูตัง หรือ ธาตุรู้ตามธรรมชาติเดิมนั้นนั่นแหล่ะ

แต่เมื่อธาตุขันธ์ยังไม่แตก(ตาย) ใจหรือจิตหรือ วิญญาณธาตุ หรือ ธาตุรู้ ฯลฯ ที่มีอวิชชาเดิม แต่กลายเป็นธาตุรู้ตามธรรมชาติ ที่ไม่มีอวิชชาแล้ว
เขาเลยสมมติชื่อใหม่ว่า จิตเดิมแท้ ใจที่บริสุทธิ์ พุทธะ..ฯลฯ แล้วแต่จะสมมติเรียกชื่อใหม่ให้แตกต่างจากธาตุรู้หรือจิตหรือใจที่มีอวิชชาปน

ขอยกตัวอย่างดังนี้;
คนสามัญชนที่สวมรองเท้า เกิดได้เป็นพระราชา แต่ก็ยังคงสวมรองเท้าคู่เดิม รองเท้านั้น ก็จะถูกสมมติเรียกชื่อเปลี่ยนใหม่ว่า รองพระบาท ส่วนคนสามัญชน สมมติชื่อใหม่ว่า พระราชา หรือ กษัตริย์..ฯลฯ

กรณีเช่นเดียวกัน

ปุถุชนที่ยังมีกิเลส เปรียบได้กับ สามัญชน ที่ต่อมาได้เป็นพระราชานั้น ส่วนรองเท้า เปรียบเหมือนจิตหรือฐีติภูตัง..ฯลฯ ที่มีอวิชชาปน
ต่อมาปุถุชนนั้น สิ้นกิเลส เพราะสิ้นอวิชชา
ปุถุชนนั้น ก็มีชื่อสมมติเรียกใหม่ว่า พระอรหันต์
ส่วนจิต หรือ ธาตุรู้ตามธรรมชาตินั้น ก็มีชื่อสมมติเรียกใหม่ว่า พุทธะ หรือ จิตเดิมแท้ หรือ ใจที่บริสุทธิ์ หรือ ธรรมธาตุ..ฯลฯ
ซึ่งพระราชา ก็มาจากสามัญชนคนนั้น
พระอรหันต์ ก็มาจากปุถุชนคนนั้น
ส่วนรองพระบาท ก็มาจากรองเท้าคู่เดิมของสามัญชน
จิตเดิมแท้ หรือ ธรรมธาตุ หรือ พุทธะ ..ฯลฯ ก็มาจากจิตหรือธาตุรู้ที่มีอวิชชานั้น

 

ผู้ถาม : ด้วยเหตุนี้ มันจึงมาพร้อมกับอวิชชานั่นเอง ใช่ไหมครับหลวงตา แต่ผมไม่ลงแก่ใจว่า
เขาคือพ่อแม่ของอวิชชา

 

หลวงตา : ฐีติภูตัง หรือ จิต ..ฯลฯ เป็นพ่อแม่ของอวิชชา
ก็เพราะถ้าไม่มีฐีติภูตัง หรือ ฐีติจิต หรือ จิต ..ฯลฯ ก็จะไม่มีอวิชชา
ดังนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ฐีติภูตัง เป็น พ่อแม่ของอวิชชา

เพราะมันเป็นธรรมชาติของปฏิจจสมุปบาท หรือ อิทัปปัจจยตา หรือปัจจยาการ คือ

เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี
หรือ เพราะสิ่งนี้เกิด สิ่งนี้จึงเกิด

เพราะสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี
หรือ เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ

ถ้าจิตไม่เกิด อวิชชาก็ไม่เกิด
หรือ อวิชชาไม่เกิด จิตก็ไม่เกิด

หรือจิตดับ อวิชชาก็ดับ
หรืออวิชชาดับ จิตก็ดับ

 

ปุจฉาวิสัชนาเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2561

 

Tweet
  • Social sharing:
  • Add to Facebook
  • Add to Delicious
  • Digg this
  • Add to StumbleUpon
  • Add to Technorati
  • Add to Reddit
  • Add to MySpace
  • Like this? Tweet it to your followers!

Related items

  • 250307B-4 อวิชชาในผู้รู้
  • 250307B-3 เรียนรู้ในเหตุ เข้าใจในผล
  • 250307B-2 พุทธะ ธรรมะ สังฆะ อยู่ที่ใจ
  • 250307B-1 เมื่อไม่ยึดถือก็ไม่ต้องปล่อยวาง
  • 240914A-5 เงื่อนไขบังธรรมเพราะความเข้าใจผิด
More in this category: « เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี จิตกับอวิชชา »
back to top

Search

ปุจฉาวิสัชนา Archive

  • ปุจฉา-วิสัชนา 2560
    • พฤษภาคม 60
    • มิถุนายน 60
    • กรกฎาคม 60
    • สิงหาคม 60
    • กันยายน 60
    • ตุลาคม 60
    • พฤศจิกายน 60
    • ธันวาคม 60
  • ปุจฉา-วิสัชนา 2561
    • มกราคม 61
    • กุมภาพันธ์ 61
    • มีนาคม 61
    • เมษายน 61
    • พฤษภาคม 61
    • มิถุนายน 61
    • กรกฎาคม 61
    • สิงหาคม 61
    • กันยายน 61
    • ตุลาคม 61
    • พฤศจิกายน 61
    • ธันวาคม 61
  • ปุจฉา-วิสัชนา 2562
    • มกราคม 62
    • กุมภาพันธ์ 62
    • มีนาคม 62
    • เมษายน 62
    • พฤษภาคม 62
    • มิถุนายน 62
    • กรกฎาคม 62
    • สิงหาคม 62
    • กันยายน 62
    • ตุลาคม 62
    • พฤศจิกายน 62
    • ธันวาคม 62
  • ปุจฉา-วิสัชนา 2563
    • มกราคม 63
    • กุมภาพันธ์ 63
    • มีนาคม 63
    • เมษายน 63
    • พฤษภาคม 63
    • มิถุนายน 63
    • กรกฎาคม 63
    • สิงหาคม 63
    • กันยายน 63
    • ตุลาคม 63
    • พฤศจิกายน 63
    • ธันวาคม 63
  • ปุจฉา-วิสัชนา 2564
    • มกราคม 64
    • กุมภาพันธ์ 64
    • มีนาคม 64
    • เมษายน 64
    • พฤษภาคม 64
    • มิถุนายน 64
    • กรกฎาคม 64
    • สิงหาคม 64
    • กันยายน 64
    • ตุลาคม 64
    • พฤศจิกายน 64
    • ธันวาคม 64
  • ปุจฉา-วิสัชนา 2565
    • มกราคม 65
    • กุมภาพันธ์ 65
    • มีนาคม 65
    • เมษายน 65
    • พฤษภาคม 65
    • มิถุนายน 65
    • กรกฎาคม 65
    • สิงหาคม 65
    • กันยายน 65
    • ตุลาคม 65
    • พฤศจิกายน 65
    • ธันวาคม 65
  • ปุจฉา-วิสัชนา 2566
    • มกราคม 66
    • กุมภาพันธ์ 66
    • มีนาคม 66
    • เมษายน 66
    • พฤษภาคม 66
    • มิถุนายน 66
    • กรกฎาคม 66
    • สิงหาคม 66
    • กันยายน 66

5BA01AEA 57EC 462B B6FB 90B6B03148ED

719CBB23 865C 4DF5 A1C8 222F752DCCBB

« May 2025 »
Mon Tue Wed Thu Fri Sat Sun
      1 2 3 4
5 6 7 8 9 10 11
12 13 14 15 16 17 18
19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31  

Facebook

เพจหลวงตาณรงค์ศักดิ์ ขีณาลโย

บทถอนอธิษฐาน

  • บทถอนอธิษฐาน
Copyright © หลวงตาณรงค์ศักดิ์ ขีณาลโย 2025 All rights reserved.
พฤษภาคม 61