หลวงตาณรงศักดิ์ ขีณาลโย

  • หน้าหลัก
  • สื่อธรรมะ
    • หนังสือธรรมะ
    • เสียงธรรม
      • เสียงธรรมรายปี
      • ไฟล์เสียงจัดชุด
    • CD
    • e-Book ปุจฉา-วิสัชนา
  • ปุจฉา-วิสัชนา
  • ภาพธรรม
  • วิดีโอธรรม
  • ธรรมทัศน์
  • ธรรมถึงใจ
  • ธรรมโอวาท
    • โอวาทธรรม
      • โอวาทธรรม 60-61
      • โอวาทธรรม 62
        • โอวาทธรรม ม.ค. - มี.ค. 62
        • โอวาทธรรม เม.ย.- มิ.ย. 62
        • โอวาทธรรม ก.ค. - ก.ย. 62
        • โอวาทธรรม ต.ค. - ธ.ค. 62
      • โอวาทธรรม 63
        • โอวาทธรรม ม.ค. - มี.ค. 63
        • โอวาทธรรม เม.ย. - มิ.ย. 63
        • โอวาทธรรม ก.ค. - ก.ย. 63
        • โอวาทธรรม ต.ค. - ธ.ค. 63
      • โอวาทธรรม 64
        • โอวาทธรรม ม.ค. - มี.ค. 64
      • โอวาทธรรมถึงใจ
    • ปกิณกธรรม
    • ประชาสัมพันธ์สื่อธรรม
    • โอวาทธรรมชุด
  • Other Languages
    • English
    • Deutsch

การประหารกิเลส คือการไม่ยึดถือ

การประหารกิเลส คือการไม่ยึดถือ

ผู้ถาม : กราบเรียนหลวงตา เจอบททดสอบเรื่องอาการปวดท้องอีกแล้วเจ้าค่ะ มันมาทุกครั้งที่ไปเป็นสังขารเลย ทำงานไม่ได้เลยเจ้าค่ะ พอเข้าไปเป็นปรุงแต่งเรื่องงานปุ๊บ มันปวดทันที   พอหายใจเฉย ๆ ไม่ทำอะไรมันก็หายไป แต่พอไปทำอะไรอีก มันก็ปวดเลยเดี๋ยวนั้น

 

ตอนแรกเข้าใจว่าแย่แล้ว แบบนี้จะใช้ชีวิตอย่างไรได้ เหมือนถูกบังคับจากอะไรก็ไม่รู้ ไม่ให้ไปเป็นโลกแล้ว  แล้วจะทำอย่างไรดี ถ้าฝืนใช้ชีวิตในทางโลกต่อ ก็ต้องทนทรมานไปแบบนี้

 

ตอนแรกจะมาไลน์ถามหลวงตาว่าจะทำอย่างไรให้ชะลอการออกจากโลกไปก่อนได้บ้างเจ้าค่ะ  

แต่ยิ่งคิดแบบนั้น มันก็ยิ่งทรมาน เพราะมันมีตัณหา อยากพ้นจากความทุกข์ ความปรุงแต่งจากสังขารอยู่

ทรมานอยู่สักพัก มันจึงเกิดปัญญาขึ้นมาเอง ว่าทุกข์เพราะ ไม่ยอมรับสังขาร ไม่ยอมรับความมี  ตามความเป็นจริง มีตัณหาที่จะไปเอาแต่ความไม่มีเจ้าค่ะ

 

หลังจากนั้น ใจมันยอมรับความปวด อย่างสนิทใจ ไม่มีการปรุงแต่งสิ่งใดเพื่อผลักไสความปวดอีก  ไม่มีการรังเกียจสังขาร ยอมให้ทุกสิ่งเป็นตามที่มันเป็น ใจยอมว่ามันเป็นธรรมดาแบบนี้เองเจ้าค่ะ

 

แปลกมากเจ้าค่ะ  

พอใจยอมรับ 100% มันกลับมีความสุขและโปร่งเบามาก

ความปวดที่มีมาก หายไปในเวลาไม่นานเลย เร็วกว่ากินยาแก้ปวดอีก  

 

ก่อนหน้านี้ทำอย่างไรก็ไม่หายเจ้าค่ะ

 

 

หลวงตา : ปล่อยวางทั้งเวทนา และ จิตที่ดิ้นรน

 

ตอบด้วยโอวาทธรรม หลวงปู่หลุยส์ จันทสาโร

“การประหารกิเลสที่ดีที่สุด คือการไม่ยึดถือสิ่งใดเลย”

 

 

ผู้ถาม : เข้าใจแล้วเจ้าค่ะ หลวงตา หมายถึง ยอมให้มีทั้งเวทนา และยอมให้มีตัวดิ้นรน ใช่ไหมเจ้าคะ

มันทุกข์เพราะมีตัณหา ไม่ยอมรับตัวดิ้นรน  มันกลัวความมี กลัวความเกิดเพราะตัวดิ้นรนนั้น  

 

แท้จริงเพราะลึก ๆ ถึงความเป็นตัวตนมันจะเบาบาง แต่มันยังมีความรู้สึกว่ามีตัวเราอยู่ มันยังไม่สิ้นไปจริง ๆ มันถึงทำให้ยังรู้สึกว่า ถ้าไปเป็นสังขาร จะมีตัวเราไปเกิดได้อีก ต้องยอมให้เรียนรู้เองจริง ๆ  ถ้าไม่ยอมสัมผัสความทุกข์ของสังขาร จนเห็นตัณหาที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังด้วยตนเองจริง ๆ ปัญญามันไม่อาจเกิดได้เจ้าค่ะ เข้าใจแล้วเจ้าค่ะ หลวงตา

 

มันทุกข์เพราะจิตมันยังมีตัณหา ไม่ยอมรับตัวดิ้นรน มันกลัวความมี กลัวความเกิดเพราะตัวดิ้นรนนั้น  

 

แท้จริงเพราะลึก ๆ ถึงแม้ว่าจะไม่รู้สึกว่า “ตัวจิตที่มีตัวเรา” นั้น มันเป็นตัวเราจริง ๆ อีกแล้ว   

 

แต่จิตยังสำคัญมั่นหมาย ด้วยตัวของจิตเอง มันจึงยังมีความรู้สึกว่ามีตัวเราอยู่ ยังไม่สิ้นไปจริง ๆ จากจิต

ปัญญาของจิตเอง ยังไม่ถึงจุดที่ชัดเจน ว่าตัวเราไม่มีแล้ว มันถึงทำให้ยังเกิดรู้สึกว่า ถ้าไปเป็นสังขาร จะมีตัวเราไปเกิดได้อีก   

 

ต้องยอมให้จิตเขาเรียนรู้เองจริง ๆ เรียนให้หมดในทุกหน้าของสังขาร จนเขาสิ้นยึดด้วยตัวเขาเอง เจ้าค่ะ

มันทำอะไรไม่ได้จริง ๆ นอกจากยอมปล่อยให้มันเป็นไปตามทางของมัน

 

เร่งเอาปัญญา ก็ไม่ได้ ชะลอให้ช้า ก็ไม่ได้ เพราะมันเป็นตามเหตุปัจจัยของมัน ไปหมดแล้ว ใช่ไหมเจ้าคะ

 

 

หลวงตา : “สติ สมาธิ ปัญญา” เปรียบเหมือนรวมกันเป็นเรือลำหนึ่ง ไม่ได้แยกออกจากกัน เพื่อใช้ข้ามฟาก ให้พ้นจากทะเลทุกข์เพียงครั้งเดียว

เมื่อไม่ทิ้งสติ สมาธิ ปัญญาเสียกลางคัน ย่อมพ้นจากทะเลทุกข์ แล้วไม่มีใครหรอกที่เขาจะแบกเรือไปอีก

และไม่มีใครที่จะแบกความพ้นทุกข์ (นิพพาน)

 

 

เมื่อพ้นทุกข์ (นิพพาน) แล้ว ก็เพียงแต่รู้ว่าพ้นทุกข์แล้ว เท่านั้น

เหมือนกับข้ามทะเลทุกข์ (ฟันฝ่าคลื่นลมของกิเลส ตัณหา อุปาทานด้วยความทุกย์ยากลำบาก) พ้นแล้ว ก็รู้ว่าพ้นจากทะเลทุกข์แล้ว เท่านั้น

 

 

เมื่อ ยังไม่พ้นจากทะเลทุกข์ ก็ต้องเพียรมีสติ สมาธิ ปัญญา

ด้วยการสังเกตพฤติกรรมของจิต ที่แสดงอาการออกมาในปัจจุบันขณะ เป็นความหลงยึดถือ ซึ่งเป็นกิเลส อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ในลักษณะต่าง ๆ จนครบทุกหน้า เรียกว่ารู้รอบในกิเลส อวิชชา ตัณหา อุปาทาน เช่น จิตที่แสดงอาการดิ้นรน กระเสือกกระสน ค้นหา สงสัย พยายามในลักษณะต่าง ๆ พยายามจะเอา จะจับ จะยึดให้ได้ ให้ถึง ให้เป็น ให้บรรลุ ให้สำเร็จ … เป็นต้น

 

 

เมื่อรู้เห็น หรือ รู้เท่าทันอากัปกิริยา หรือ อาการของจิต ที่แสดงหน้าตาให้เห็นกิเลส อวิชชา ตัณหา อุปาทานได้อย่างชัดเจนครบถ้วนทุกหน้าแล้ว ก็จะไม่ถูกกิเลสหลอกได้อีกต่อไป

เปรียบว่ามีสติ สมาธิ ปัญญา เพียรสังเกตอย่างต่อเนื่อง จนรู้เท่าทันเล่ห์เหลี่ยมมายาของ “จิต” ที่เป็นกิเลส อวิชชา ตัณหา อุปาทานทุกปัจจุบันขณะ เหมือนกับพวกสิบแปดมงกุฎ หรือ พวกต้มตุ๋นจนครบทุกหน้า ก็จะไม่ถูก

“จิต” พวกสิบแปดมงกุฎ หลอกลวงต้มตุ๋นให้เป็นทุกข์ได้อีกต่อไป

 

 

เมื่อเหตุปัจจัยยังไม่พร้อม คือ สติ สมาธิ ปัญญา ยังไม่รู้เห็นหรือรู้เท่าทัน “จิต” พวกสิบแปดมงกุฎ ซึ่งเป็นกิเลส อวิชชา ตัณหา อุปาทานได้ครบทุกหน้า หรือ เรียกว่ายังไม่รู้รอบได้ตราบใด ก็จะยังถูกกิเลส อวิชชา ตัณหา อุปาทาน หลอกได้อยู่

เมื่อรู้เท่าทันกิเลส .... หมดแล้ว ก็พ้นทุกข์เอง เหมือนกับผลไม้ที่ถึงเวลาสุกคาต้นเต็มที่แล้ว ย่อมร่วงหล่นจากขั้ว ซึ่งเคยยึดติด ยึดถือ เอง

แต่ต้องเฉลียวใจ หรือ รู้เท่าทัน นะ ว่า ความอยาก ความหวังความปรารถนา ที่อยากจะรู้เท่าทันกิเลสให้รอบ จะได้เป็นผลไม้ที่สุกและหลุดจากขั้วเสียที นั้น

มันเป็นกิเลส อวิชชา ตัณหา อุปาทาน เสียเอง ........

 

 

ผู้ถาม : ที่แท้ มันไม่ได้มีอะไรเลยเจ้าค่ะ มันอยู่เฉย ๆ ก็คือ เป็นธรรมชาติของมันอยู่

เมื่อมีสิ่งกระะทบ (ในแง่มุมที่ยังไม่รู้เท่าทัน) มันก็ไปเป็นอวิชชา ตัณหา อุปาทาน ให้มันกลายเป็น “ความมี” ขึ้นมา     

 

เรือข้ามฟาก คือสังเกตตรงนี้เอง กิริยาจิตจากเดิมที่ไม่มี กลายเป็นมีขึ้นมา แท้จริง คือของลวงตาทั้งหมด  

แต่ด้วยความที่ยังไม่รู้รอบ สิ่งไหนที่ยังไม่เท่าทัน ก็โดน 18 มงกุฎหลอกไป ว่าอันนี้ของจริง นี่เรื่องจริงนะ นี่ตัวเราจริง ๆ ตัวเราเป็นแบบนี้จริง ๆ ทั้ง ๆ ที่ที่แท้แล้วมันไม่มีอะไรจริงเลย      

 

การเดินความเพียร ไม่ใช่ไปพยายามทำอะไรให้เป็นอะไร

แค่อยู่ปกติ ไม่ไปเอา ไปปรารถนาอะไร ใจมันก็สงบของมันเอง เหมือนน้ำในขวดที่ปราศจากคนไปเขย่า มันก็สงบไปเอง  

 

ใจที่สงบ  เป็นเหตุ จึงสังเกตความเคลื่อนไหวได้ ตั้งแต่หยาบจนละเอียด และแจ้งในธรรมชาติของความเคลื่อนไหว ที่เข้ามาในขณะปัจจุบัน เมื่อเห็นความจริงแล้ว ก็ไม่โดนหลอกไปยึดถือสังขารว่าเป็นจริงเป็นจัง มันก็ค่อยร่อนออกไปเรื่อย ๆ จากหยาบ ปานกลาง ถึงละเอียด ของมันเอง ทางเดินของการปฏิบัติชัดแจ้งเป็นแบบนี้เองเจ้าค่ะ

 

 

หลวงตา : สาธุ

 

 

ปุจฉาวิสัชนาเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2562

 

Tweet
  • Social sharing:
  • Add to Facebook
  • Add to Delicious
  • Digg this
  • Add to StumbleUpon
  • Add to Technorati
  • Add to Reddit
  • Add to MySpace
  • Like this? Tweet it to your followers!

Related items

  • 240909A-4 หยุดคิดและดิ้นรนค้นหา จะพบความจริง
  • 240909A-3 จุดเริ่มกับจุดจบคือจุดเดียวกัน
  • 240909A-2 ยอมรับธรรมชาติตามความเป็นจริง
  • 240909A-1 ปัจจุบันขณะยึดอะไรไม่ได้
  • 250307B-4 อวิชชาในผู้รู้
More in this category: « ธรรมเข้าถึงใจเพราะปล่อยวาง เมื่อไม่มีผู้ไป ก็ไม่มีผู้มา »
back to top

Search

ปุจฉาวิสัชนา Archive

  • ปุจฉา-วิสัชนา 2560
    • พฤษภาคม 60
    • มิถุนายน 60
    • กรกฎาคม 60
    • สิงหาคม 60
    • กันยายน 60
    • ตุลาคม 60
    • พฤศจิกายน 60
    • ธันวาคม 60
  • ปุจฉา-วิสัชนา 2561
    • มกราคม 61
    • กุมภาพันธ์ 61
    • มีนาคม 61
    • เมษายน 61
    • พฤษภาคม 61
    • มิถุนายน 61
    • กรกฎาคม 61
    • สิงหาคม 61
    • กันยายน 61
    • ตุลาคม 61
    • พฤศจิกายน 61
    • ธันวาคม 61
  • ปุจฉา-วิสัชนา 2562
    • มกราคม 62
    • กุมภาพันธ์ 62
    • มีนาคม 62
    • เมษายน 62
    • พฤษภาคม 62
    • มิถุนายน 62
    • กรกฎาคม 62
    • สิงหาคม 62
    • กันยายน 62
    • ตุลาคม 62
    • พฤศจิกายน 62
    • ธันวาคม 62
  • ปุจฉา-วิสัชนา 2563
    • มกราคม 63
    • กุมภาพันธ์ 63
    • มีนาคม 63
    • เมษายน 63
    • พฤษภาคม 63
    • มิถุนายน 63
    • กรกฎาคม 63
    • สิงหาคม 63
    • กันยายน 63
    • ตุลาคม 63
    • พฤศจิกายน 63
    • ธันวาคม 63
  • ปุจฉา-วิสัชนา 2564
    • มกราคม 64
    • กุมภาพันธ์ 64
    • มีนาคม 64
    • เมษายน 64
    • พฤษภาคม 64
    • มิถุนายน 64
    • กรกฎาคม 64
    • สิงหาคม 64
    • กันยายน 64
    • ตุลาคม 64
    • พฤศจิกายน 64
    • ธันวาคม 64
  • ปุจฉา-วิสัชนา 2565
    • มกราคม 65
    • กุมภาพันธ์ 65
    • มีนาคม 65
    • เมษายน 65
    • พฤษภาคม 65
    • มิถุนายน 65
    • กรกฎาคม 65
    • สิงหาคม 65
    • กันยายน 65
    • ตุลาคม 65
    • พฤศจิกายน 65
    • ธันวาคม 65
  • ปุจฉา-วิสัชนา 2566
    • มกราคม 66
    • กุมภาพันธ์ 66
    • มีนาคม 66
    • เมษายน 66
    • พฤษภาคม 66
    • มิถุนายน 66
    • กรกฎาคม 66
    • สิงหาคม 66
    • กันยายน 66

5BA01AEA 57EC 462B B6FB 90B6B03148ED

719CBB23 865C 4DF5 A1C8 222F752DCCBB

« May 2025 »
Mon Tue Wed Thu Fri Sat Sun
      1 2 3 4
5 6 7 8 9 10 11
12 13 14 15 16 17 18
19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31  

Facebook

เพจหลวงตาณรงค์ศักดิ์ ขีณาลโย

บทถอนอธิษฐาน

  • บทถอนอธิษฐาน
Copyright © หลวงตาณรงค์ศักดิ์ ขีณาลโย 2025 All rights reserved.
มีนาคม 62