หลวงตาณรงศักดิ์ ขีณาลโย

  • หน้าหลัก
  • สื่อธรรมะ
    • หนังสือธรรมะ
    • เสียงธรรม
      • เสียงธรรมรายปี
      • ไฟล์เสียงจัดชุด
    • CD
    • e-Book ปุจฉา-วิสัชนา
  • ปุจฉา-วิสัชนา
  • ภาพธรรม
  • วิดีโอธรรม
  • ธรรมทัศน์
  • ธรรมถึงใจ
  • ธรรมโอวาท
    • โอวาทธรรม
      • โอวาทธรรม 60-61
      • โอวาทธรรม 62
        • โอวาทธรรม ม.ค. - มี.ค. 62
        • โอวาทธรรม เม.ย.- มิ.ย. 62
        • โอวาทธรรม ก.ค. - ก.ย. 62
        • โอวาทธรรม ต.ค. - ธ.ค. 62
      • โอวาทธรรม 63
        • โอวาทธรรม ม.ค. - มี.ค. 63
        • โอวาทธรรม เม.ย. - มิ.ย. 63
        • โอวาทธรรม ก.ค. - ก.ย. 63
        • โอวาทธรรม ต.ค. - ธ.ค. 63
      • โอวาทธรรม 64
        • โอวาทธรรม ม.ค. - มี.ค. 64
      • โอวาทธรรมถึงใจ
    • ปกิณกธรรม
    • ประชาสัมพันธ์สื่อธรรม
    • โอวาทธรรมชุด
  • Other Languages
    • English
    • Deutsch

ฌานตกอยู่ใต้กฎไตรลักษณ์

ฌานตกอยู่ใต้กฎไตรลักษณ์

ผู้ถาม : กราบนมัสการหลวงตาครับ เมื่อวันที่ 4 ม.ค. 2562  เวลาประมาณ 02.00-04.00 น. ตื่นมาทำความเพียรตามปกติ เริ่มต้นด้วยสมถะสมาธิ (ดูลมหายใจเข้าออกพร้อมคำภาวนา) เมื่อจิตสงบเงียบสักระยะหนึ่ง เดินวิปัสสนา ผู้รู้และสติดูความสงบเงียบ เห็นจิตสังขารเคลื่อนไหวปรุงแต่งพิจารณากายสังขาร (ลมหายใจ) ละเอียดขึ้น / เข้าใจทันทีทั้งหมดนี้เกิดจากความว่าง / ดูการเกิดดับไม่หลีกหนีปรากฏการณ์ สมาธิปัญญาดูละเอียดขึ้น รู้เท่าทันความคิดปรุงแต่ง สักระยะหนึ่ง การคิดปรุงแต่งหายไป / ผู้รู้หายไป / สติไม่ขาด / หลังจากนั้นจึงออกจากสมาธิ 04.00 น. กราบเรียนถามหลวงตาครับ

 

  1.  การหายไปของความคิดปรุงแต่งและผู้รู้ มันคืออะไรครับ / แต่สติยังอยู่ไม่เผลอหลับแต่อย่างใด
  2.  ปรากฏการณ์นี้เป็นการหลุดไปอยู่ในความว่างอันไม่พึงประสงค์หรือไม่อย่างไรครับ
  3.  ความไม่มีอะไรเลยที่จิตรับรู้ขณะนั้น มันแปลก ๆ ครับอธิบายไม่ได้

 

ขอส่งการบ้านครับ  ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นไวมากครับ

 

 

หลวงตา : เข้าไปถึงความว่างในอรูปฌาน

เนื่องจากจากสังขาร คือความคิดปรุงแต่ง หรืออารมณ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกรู้  และผู้รู้ หายไป

แต่มันยังตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มันไม่เที่ยง เกิดขึ้นไวมาก แล้วก็กลับคืนสู่ภาวะความเป็นปกติ

 

แสดงว่า เอาตัวเราไปดูรู้เห็น ลมหายใจเข้าออก ซึ่งเป็นเครื่องปรุงแต่งกาย

จนเกิดปีติ สุข อุเบกขาเวทนาฌานบ่อย ๆ ซึ่งเป็นรูปฌาน

แล้วเข้ารูปฌานละเอียด ๆ ขึ้นเรื่อย ๆ ... จนเป็นอรูปฌาน

 

แต่เนื่องจากยังเอาตัวเราไปเป็นผู้ดู รู้เห็น หรือเพ่งอารมณ์ของฌานทุกขั้นตอน จึงตกอยู่ใต้อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เพราะหลงไปยึดถือเอาผู้รู้ ซึ่งเป็นจิตหรือวิญญาณขันธ์ ในขันธ์ที่ห้า เป็นตัวตน เป็นเรา ตัวเรา หรือ ของเรา

 

ยังไม่ได้รู้จิตหรือวิญญาณขันธ์ ซึ่งเกิดมารู้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจทุกปัจจุบันขณะ จะมีเจตสิก คือ เวทนา สัญญา สังขาร เข้าประกอบกับจิตหรือวิญญญาณขันธ์ทุกดวง แล้วดับไปเร็วมาก

 

ถ้ารู้จิต เจตสิก หรือวิญญาณขันธ์ หรือ ผู้รู้ ซึ่งเป็นจิตตสังขารปรุงแต่ง โดยรู้ออกมาจากใจ

ส่วนใจ หรือ จิตเดิมแท้ หรือ จิตดั้งเดิม หรือ ฐีติจิต ที่เป็นวิสังขาร

สุญญตา มหาสุญญตา นิพพานธาตุ พุทธะ ซึ่งเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ไม่มีตัวตนของผู้รู้  ไม่มีอาการของผู้รู้ ไม่ปรุงแต่ง ไม่เกิดดับ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ไม่เกิดไม่ตาย ไม่ตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นธรรมธาตุ อมตธาตุ อมตธรรม

 

ถ้าไม่เห็นว่าหลงเอาตัวเราไปเป็นผู้รู้

เมื่อจิตเริ่มถอนออกมาจากอารมณ์ฌาน

ให้น้อมพิจารณาร่างกาย อย่างต่อเนื่อง แยกร่างกายออกเหมือนเขาแยก

อะไหล่รถเซียงกงขายเป็นชิ้น ๆ

ทำอย่างนี้บ่อย ๆๆ .. อย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ จะสิ้นหลงยึดถือเป็นตัวตน เป็นเรา ตัวเรา หรือ ตัวตนของเรา

 

หลังจากนั้น เมื่อสิ้นตัวตนของผู้รู้ ผู้เห็นแล้ว ก็จะไม่หลงเอาตัวเราไปเป็นผู้ดูรู้เห็น หรือ ผู้เพ่งจิตอีกต่อไป แต่จะเห็นจิตเกิดดับอยู่ในความว่าง โดยไม่มีตัวตนของผู้เห็น ก็จะสิ้นตัวตนของผู้หลงยึดถือจิต

 

จะมีแต่ธรรมชาติ ที่เป็นจิตตสังขาร เกิดดับอยู่ในธาตุรู้ ซึ่งเป็นธรรมชาติที่ไม่เกิดดับ เป็นความว่างหนึ่งเดียวกับธรรมชาติหรือจักรวาล

ไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของ

ไม่มีผู้หลงยึดถือใจหรือจิตเดิมแท้ หรือฐีติจิต ซึ่งเป็นธาตุรู้ ซึ่งเป็นหนึ่งเดียวกับความว่าง มาเป็นของเรา เป็นเรา เป็นตัวตนของเรา

 

ถึงตรงนี้ จะไม่เรียกว่าใจ หรือจิตเดิมแท้ หรือ ฐีติจิต เพราะเป็นธาตุรู้ที่บริสุทธิ์แล้ว ท่านจึงเรียกว่าธรรมธาตุ มหาสุญญตาธาตุ นิพพานธาตุ

อสังขตธาตุ อสังขตธรรม หรือ ธาตุรู้ที่บริสุทธิ์ คือ มีความหมายว่าเป็นธรรมชาติที่บริสุทธ์ เป็นเหมือนกับความว่างของธรรมชาติหรือจักรวาล เป็นธรรมชาติที่มีแต่ความรู้แต่ไม่มีตัวตนของผู้รู้  ไม่คิดปรุงแต่งยึดถือให้เป็นทุกข์ได้



 

ปุจฉาวิสัชนาเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2562

 

Tweet
  • Social sharing:
  • Add to Facebook
  • Add to Delicious
  • Digg this
  • Add to StumbleUpon
  • Add to Technorati
  • Add to Reddit
  • Add to MySpace
  • Like this? Tweet it to your followers!

Related items

  • 250307B-4 อวิชชาในผู้รู้
  • 250307B-3 เรียนรู้ในเหตุ เข้าใจในผล
  • 250307B-2 พุทธะ ธรรมะ สังฆะ อยู่ที่ใจ
  • 250307B-1 เมื่อไม่ยึดถือก็ไม่ต้องปล่อยวาง
  • 240914A-5 เงื่อนไขบังธรรมเพราะความเข้าใจผิด
More in this category: « ความสงบในสมถะ ความสงบในวิปัสสนา เหตุของการปล่อยวาง »
back to top

Search

ปุจฉาวิสัชนา Archive

  • ปุจฉา-วิสัชนา 2560
    • พฤษภาคม 60
    • มิถุนายน 60
    • กรกฎาคม 60
    • สิงหาคม 60
    • กันยายน 60
    • ตุลาคม 60
    • พฤศจิกายน 60
    • ธันวาคม 60
  • ปุจฉา-วิสัชนา 2561
    • มกราคม 61
    • กุมภาพันธ์ 61
    • มีนาคม 61
    • เมษายน 61
    • พฤษภาคม 61
    • มิถุนายน 61
    • กรกฎาคม 61
    • สิงหาคม 61
    • กันยายน 61
    • ตุลาคม 61
    • พฤศจิกายน 61
    • ธันวาคม 61
  • ปุจฉา-วิสัชนา 2562
    • มกราคม 62
    • กุมภาพันธ์ 62
    • มีนาคม 62
    • เมษายน 62
    • พฤษภาคม 62
    • มิถุนายน 62
    • กรกฎาคม 62
    • สิงหาคม 62
    • กันยายน 62
    • ตุลาคม 62
    • พฤศจิกายน 62
    • ธันวาคม 62
  • ปุจฉา-วิสัชนา 2563
    • มกราคม 63
    • กุมภาพันธ์ 63
    • มีนาคม 63
    • เมษายน 63
    • พฤษภาคม 63
    • มิถุนายน 63
    • กรกฎาคม 63
    • สิงหาคม 63
    • กันยายน 63
    • ตุลาคม 63
    • พฤศจิกายน 63
    • ธันวาคม 63
  • ปุจฉา-วิสัชนา 2564
    • มกราคม 64
    • กุมภาพันธ์ 64
    • มีนาคม 64
    • เมษายน 64
    • พฤษภาคม 64
    • มิถุนายน 64
    • กรกฎาคม 64
    • สิงหาคม 64
    • กันยายน 64
    • ตุลาคม 64
    • พฤศจิกายน 64
    • ธันวาคม 64
  • ปุจฉา-วิสัชนา 2565
    • มกราคม 65
    • กุมภาพันธ์ 65
    • มีนาคม 65
    • เมษายน 65
    • พฤษภาคม 65
    • มิถุนายน 65
    • กรกฎาคม 65
    • สิงหาคม 65
    • กันยายน 65
    • ตุลาคม 65
    • พฤศจิกายน 65
    • ธันวาคม 65
  • ปุจฉา-วิสัชนา 2566
    • มกราคม 66
    • กุมภาพันธ์ 66
    • มีนาคม 66
    • เมษายน 66
    • พฤษภาคม 66
    • มิถุนายน 66
    • กรกฎาคม 66
    • สิงหาคม 66
    • กันยายน 66

5BA01AEA 57EC 462B B6FB 90B6B03148ED

719CBB23 865C 4DF5 A1C8 222F752DCCBB

« May 2025 »
Mon Tue Wed Thu Fri Sat Sun
      1 2 3 4
5 6 7 8 9 10 11
12 13 14 15 16 17 18
19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31  

Facebook

เพจหลวงตาณรงค์ศักดิ์ ขีณาลโย

บทถอนอธิษฐาน

  • บทถอนอธิษฐาน
Copyright © หลวงตาณรงค์ศักดิ์ ขีณาลโย 2025 All rights reserved.
มกราคม 62