หลวงตาณรงศักดิ์ ขีณาลโย

  • หน้าหลัก
  • สื่อธรรมะ
    • หนังสือธรรมะ
    • เสียงธรรม
      • เสียงธรรมรายปี
      • ไฟล์เสียงจัดชุด
    • CD
    • e-Book ปุจฉา-วิสัชนา
  • ปุจฉา-วิสัชนา
  • ภาพธรรม
  • วิดีโอธรรม
  • ธรรมทัศน์
  • ธรรมถึงใจ
  • ธรรมโอวาท
    • โอวาทธรรม
      • โอวาทธรรม 60-61
      • โอวาทธรรม 62
        • โอวาทธรรม ม.ค. - มี.ค. 62
        • โอวาทธรรม เม.ย.- มิ.ย. 62
        • โอวาทธรรม ก.ค. - ก.ย. 62
        • โอวาทธรรม ต.ค. - ธ.ค. 62
      • โอวาทธรรม 63
        • โอวาทธรรม ม.ค. - มี.ค. 63
        • โอวาทธรรม เม.ย. - มิ.ย. 63
        • โอวาทธรรม ก.ค. - ก.ย. 63
        • โอวาทธรรม ต.ค. - ธ.ค. 63
      • โอวาทธรรม 64
        • โอวาทธรรม ม.ค. - มี.ค. 64
      • โอวาทธรรมถึงใจ
    • ปกิณกธรรม
    • ประชาสัมพันธ์สื่อธรรม
    • โอวาทธรรมชุด
  • Other Languages
    • English
    • Deutsch

ถ้าไม่ยึดถือ.....ก็ไม่ต้องปล่อยวาง

ถ้าไม่ยึดถือ.....ก็ไม่ต้องปล่อยวาง

ผู้ถาม : "รูป" ก็คือร่างกาย "จิต" ก็คือวิญญาณขันธ์ "เจตสิก" ก็คือ เวทนา สัญญา สังขาร แล้ว "นิพพาน" ก็คือ ความสิ้นหลงยึดถือใน รูป จิต เจตสิก  ว่าเป็นตัวเรา ว่าเป็นตัวตนของเรา คือ สิ้นยึดถือในขันธ์ห้า และสิ้นยึดถือใจหรือจิตดั้งเดิมแท้ๆ หรือธาตุรู้อีกทีหนึ่ง จึงจะเป็นนิพพาน ขอกราบนมัสการถามหลวงตาครับ คือ เมื่อเราไม่หลงยึดถือในขันธ์ห้าแล้ว ไม่เป็นสังขารในฝ่ายปรุงแต่งแล้ว คือ ไม่ยึดถือขันธ์ห้าแล้ว ก็จะเห็นจิตเดิมแท้ไม่มีตัวเราแล้ว ทำไมไม่เป็นนิพพานโดยอัตโนมัติครับ (ที่หลวงตาบอกว่าต้องปล่อยวางความไม่ปรุงแต่งอีกทีหนึ่ง เป็นเหมือน 2 ขั้นตอน) ที่สงสัยคือ ในเมื่อถึงตอนนี้แล้ว (เราไม่ยึดขันธ์ห้าหมดแล้ว)  เรายังเหลือความปรุงแต่งไปยึดตัวไม่ปรุงแต่งได้อีกหรือครับ เราถึงต้องมาปล่อยวางตัวไม่ปรุงแต่งอีกทีหนึ่ง ? หรือว่าจริงๆ แล้ว "ความยึดถือ" ตัวนี้ (ที่พ้นจากขันธ์ห้าแล้ว) สูงกว่าความปรุงแต่งธรรมดา แต่เป็น "อวิชชา" ที่เอาไปยึดความไม่ปรุงแต่งเอาไว้อีกที คือ แม้ไม่เป็นขันธ์ห้าแล้ว แต่ยังเป็นจิตเดิมแท้อยู่ เลยต้องปล่อยจิตเดิมแท้อีกครั้ง จึงไม่เป็นอะไรเลย ด้วยความเบาปัญญา ผมกราบเท้าหลวงตาด้วยความเคารพอย่างสูงครับ

 

หลวงตา : หากไม่ให้ค่า ให้ความสำคัญสิ่งใด ก็ไม่มีสิ่งนั้นอยู่ในใจ ใจก็ว่างเปล่า แต่ถ้าให้ค่า ให้ความสำคัญสิ่งใด สิ่งนั้นก็มาอยู่ในใจ ทำให้ใจไม่ว่าง เป็นทุกข์ ถ้าเห็นว่าขันธ์ห้าก็เป็นธรรมชาติ ใจหรือจิตเดิมแท้ก็เป็นธรรมชาติ ไม่มีคุณค่าที่แตกต่างกันในใจ ก็ไม่มีอะไรที่ยึดถือหรือปล่อยวาง  ใจก็คงเป็นความว่างเปล่า ปราศจากทุกข์ แต่หากจิตเดิมแท้หรือใจมีคุณค่าหรือมีความหมายต่อใจ ก็จะทำให้ใจไม่ว่างเปล่าจากทุกข์  ดังนั้น ถ้าไม่ยึดถือก็ไม่ต้องปล่อยวาง เพราะไม่มีอะไรอยู่ในใจ  แม้แต่นิพพาน ถ้ามีค่าต่อใจ ใจก็ไม่ว่างเปล่าจากทุกข์ หากไม่เอาอะไรมามีค่าในใจ ใจก็จะว่างเปล่า

 

ผู้ถาม : ดีมากๆ ครับหลวงตา อย่างนี้ก็ไม่ต้องพูดว่าจะต้องปล่อยวางหรือไม่ปล่อยวาง ใช่ไหมครับ เพราะไม่ยึดถือ เลยไม่ต้องวาง เมื่อเราไม่ถือขันธ์ห้าแล้ว มันจะเป็นอะไรก็ไม่ต้องไปถือมัน จะจิตเดิมแท้ ไม่แท้ ก็ช่างมันหรือเปล่าครับ

 

หลวงตา : สุขกับทุกข์ก็เป็นเวทนาเหมือนกัน  แต่ถ้าเห็นว่าสุขกับทุกข์มีค่าที่แตกต่างกัน แล้วรักสุข เกลียดทุกข์  ใจก็จะไม่ว่างเปล่า ดังนั้นอยู่ที่ใจที่ให้ค่า จึงทำให้ธรรมชาติของใจที่ว่างเปล่าหายไป เช่น ทองคำหรือเพชร  ไม่มีค่าสำหรับผู้ที่ไม่ยึดถือ เขาจึงไม่ทุกข์ เช่น ทองคำหรือเพชรไม่มีค่าแก่หมาแมว มันจึงไม่ทุกข์กับสิ่งนี้ และมันไม่มีค่าต่อคนบางคนที่ไม่ยึดถือมัน ทองคำและเพชรจึงไม่เข้ามาอยู่ในใจให้เขาเป็นทุกข์

 

ผู้ถาม : มันเหมือนเข้าใจครับ แต่ไม่รู้ว่าจริงๆ จะวางจิตเดิมแท้ได้จริงหรือเปล่าครับ แต่ผมจะจดจำคำสอนของหลวงตาไว้ก่อนครับ

 

หลวงตา : จิตเดิมแท้กับขันธ์ห้า ก็เหมือนกัน ไม่มีค่าที่แตกต่างกัน เพราะมันต่างก็เป็นธรรมชาติ มันจึงไม่ทำให้ใจเป็นทุกข์ หากเกลียดขันธ์ห้า รักใจหรืออยากได้จิตเดิมแท้ ใจย่อมไม่ว่างเปล่าจากทุกข์

 

ผู้ถาม : โอ้โห เปรียบเทียบแบบนี้ ตรงนี้ผมขนลุกเลยครับ

 

ปุจฉาวิสัชนาธรรมเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2560

Tweet
  • Social sharing:
  • Add to Facebook
  • Add to Delicious
  • Digg this
  • Add to StumbleUpon
  • Add to Technorati
  • Add to Reddit
  • Add to MySpace
  • Like this? Tweet it to your followers!

Related items

  • 250307B-4 อวิชชาในผู้รู้
  • 250307B-3 เรียนรู้ในเหตุ เข้าใจในผล
  • 250307B-2 พุทธะ ธรรมะ สังฆะ อยู่ที่ใจ
  • 250307B-1 เมื่อไม่ยึดถือก็ไม่ต้องปล่อยวาง
  • 240914A-5 เงื่อนไขบังธรรมเพราะความเข้าใจผิด
More in this category: « สังขารปรุงแต่ง ดับหมด หลงยึดความว่าง »
back to top

Search

ปุจฉาวิสัชนา Archive

  • ปุจฉา-วิสัชนา 2560
    • พฤษภาคม 60
    • มิถุนายน 60
    • กรกฎาคม 60
    • สิงหาคม 60
    • กันยายน 60
    • ตุลาคม 60
    • พฤศจิกายน 60
    • ธันวาคม 60
  • ปุจฉา-วิสัชนา 2561
    • มกราคม 61
    • กุมภาพันธ์ 61
    • มีนาคม 61
    • เมษายน 61
    • พฤษภาคม 61
    • มิถุนายน 61
    • กรกฎาคม 61
    • สิงหาคม 61
    • กันยายน 61
    • ตุลาคม 61
    • พฤศจิกายน 61
    • ธันวาคม 61
  • ปุจฉา-วิสัชนา 2562
    • มกราคม 62
    • กุมภาพันธ์ 62
    • มีนาคม 62
    • เมษายน 62
    • พฤษภาคม 62
    • มิถุนายน 62
    • กรกฎาคม 62
    • สิงหาคม 62
    • กันยายน 62
    • ตุลาคม 62
    • พฤศจิกายน 62
    • ธันวาคม 62
  • ปุจฉา-วิสัชนา 2563
    • มกราคม 63
    • กุมภาพันธ์ 63
    • มีนาคม 63
    • เมษายน 63
    • พฤษภาคม 63
    • มิถุนายน 63
    • กรกฎาคม 63
    • สิงหาคม 63
    • กันยายน 63
    • ตุลาคม 63
    • พฤศจิกายน 63
    • ธันวาคม 63
  • ปุจฉา-วิสัชนา 2564
    • มกราคม 64
    • กุมภาพันธ์ 64
    • มีนาคม 64
    • เมษายน 64
    • พฤษภาคม 64
    • มิถุนายน 64
    • กรกฎาคม 64
    • สิงหาคม 64
    • กันยายน 64
    • ตุลาคม 64
    • พฤศจิกายน 64
    • ธันวาคม 64
  • ปุจฉา-วิสัชนา 2565
    • มกราคม 65
    • กุมภาพันธ์ 65
    • มีนาคม 65
    • เมษายน 65
    • พฤษภาคม 65
    • มิถุนายน 65
    • กรกฎาคม 65
    • สิงหาคม 65
    • กันยายน 65
    • ตุลาคม 65
    • พฤศจิกายน 65
    • ธันวาคม 65
  • ปุจฉา-วิสัชนา 2566
    • มกราคม 66
    • กุมภาพันธ์ 66
    • มีนาคม 66
    • เมษายน 66
    • พฤษภาคม 66
    • มิถุนายน 66
    • กรกฎาคม 66
    • สิงหาคม 66
    • กันยายน 66

5BA01AEA 57EC 462B B6FB 90B6B03148ED

719CBB23 865C 4DF5 A1C8 222F752DCCBB

« May 2025 »
Mon Tue Wed Thu Fri Sat Sun
      1 2 3 4
5 6 7 8 9 10 11
12 13 14 15 16 17 18
19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31  

Facebook

เพจหลวงตาณรงค์ศักดิ์ ขีณาลโย

บทถอนอธิษฐาน

  • บทถอนอธิษฐาน
Copyright © หลวงตาณรงค์ศักดิ์ ขีณาลโย 2025 All rights reserved.
ปุจฉา-วิสัชนา 2560