หลวงตาณรงศักดิ์ ขีณาลโย

  • หน้าหลัก
  • สื่อธรรมะ
    • หนังสือธรรมะ
    • เสียงธรรม
      • เสียงธรรมรายปี
      • ไฟล์เสียงจัดชุด
    • CD
    • e-Book ปุจฉา-วิสัชนา
  • ปุจฉา-วิสัชนา
  • ภาพธรรม
  • วิดีโอธรรม
  • ธรรมทัศน์
  • ธรรมถึงใจ
  • ธรรมโอวาท
    • โอวาทธรรม
      • โอวาทธรรม 60-61
      • โอวาทธรรม 62
        • โอวาทธรรม ม.ค. - มี.ค. 62
        • โอวาทธรรม เม.ย.- มิ.ย. 62
        • โอวาทธรรม ก.ค. - ก.ย. 62
        • โอวาทธรรม ต.ค. - ธ.ค. 62
      • โอวาทธรรม 63
        • โอวาทธรรม ม.ค. - มี.ค. 63
        • โอวาทธรรม เม.ย. - มิ.ย. 63
        • โอวาทธรรม ก.ค. - ก.ย. 63
        • โอวาทธรรม ต.ค. - ธ.ค. 63
      • โอวาทธรรม 64
        • โอวาทธรรม ม.ค. - มี.ค. 64
      • โอวาทธรรมถึงใจ
    • ปกิณกธรรม
    • ประชาสัมพันธ์สื่อธรรม
    • โอวาทธรรมชุด
  • Other Languages
    • English
    • Deutsch

เพียรพิจารณาอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาของขันธ์ห้าอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย

เพียรพิจารณาอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาของขันธ์ห้าอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย

ผู้ถาม :  กราบขอโอกาสค่ะ เป็นเพราะที่ผ่านมาเวลาที่เกิดความรู้สึกว่าเป็นเรา ตัวเรา ของเรา สติมันไม่เคยทันว่าแท้จริงเป็นแค่ความปรุงแต่ง ตัวตนไม่ได้มีอยู่จริง แต่ไปหลงดิ้นรนหาทางปล่อยวางความรู้สึกเป็นตัวเป็นตน ก็เลยเหมือนยังคิดว่ามีผีอยู่ร่ำไป และคิดหาทางให้เลิกกลัวผี ต้องเพียรสังเกตให้สติมันทันเหรอคะหลวงตา แต่ถ้าเป็นแบบนั้นก็แสดงว่าเราคิดว่าเรามีตัวตนจริง ๆ เลยคิดว่าต้องให้สติไล่ให้ทัน จับให้อยู่หรือเปล่าคะ

เพราะจริง ๆ เราก็ไม่เคยมีอยู่แล้วตั้งแต่แรก เหมือนกับทำอะไรก็ผิด ถ้าไม่ทำก็หลงอีกค่ะ จะปล่อยวางมันยังไงหละคะหลวงตา ในเมื่อก็เข้าใจแล้ว แต่จิตมันไม่ยอมปล่อยวางสักที มันก็ยังหลงโน่น ยึดนี่อยู่ตลอดเวลาเลยค่ะ หนูก็เบื่อมันเต็มทีแล้วค่ะ จะตัดหางปล่อยวัดไปมันก็เวียนวนกลับมาอีกอยู่ดี

 

หลวงตา : นี่แหละ จึงว่าเวียนวน วนเวียน

 

ผู้ถาม : แล้วมันจะวนถึงเมื่อไรล่ะคะหลวงตา

 

หลวงตา : สิ้นหลง “สังขาร”

 

ผู้ถาม : หนูเพิ่งรู้สึกตัวว่าหลงไปเป็นสังขาร หาทางดิ้นรนอีกแล้วเจ้าค่ะหลวงตา สติมา ปัญญาเกิด แล้วเจ้าค่ะ

 

หลวงตา : สังขาร จึง วนเวียน สิ้นหลงสังขาร ความเวียนวนจึงดับ

 

ผู้ถาม : พอเลิกดิ้นรน ก็เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้นเลย เข้าใจแล้วค่ะว่าพอหมดความพยายามอยากได้ อยากเป็นอะไรสักอย่าง ความทุกข์ที่ดูทับถมก็หายไปอย่างทันตาเห็นเลย แถมยิ้มออกในความโง่เมื่อกี้ด้วยเจ้าค่ะ กราบขอบพระคุณหลวงตามาก ๆๆๆๆ เจ้าค่ะ

 

หลวงตา : ขันธ์ห้า เป็น สังขารทั้งหมด

ความดิ้นรนทะยานอยาก (อวิชชา ตัณหา อุปาทาน) ก็เป็น สังขาร

 

สิ้นหลงสังขาร ก็เท่ากับสิ้นหลงยึดถือขันธ์ห้า หรือ สิ้นอวิชชา ตัณหา อุปาทาน

ภพ ชาติ ชรา มรณะ และความทุกข์ทั้งมวล หรือ วงจรปฏิจจสมุปบาทหักหรือขาดสะบั้นทันที

 

ผู้ถาม : เจ้าค่ะ หนูรู้ว่าลึก ๆ มันยังมีตัวที่กลัวต้องเกิดอีก กลัวไม่พ้นทุกข์แอบซ่อนอยู่ตลอดเวลาเลย เพียงแต่มันจะแสดงพฤติกรรมออกมาแตกต่างกันในแต่ละครั้ง แต่รากลึกของมันคือ อยากพ้นทุกข์มาก ๆๆๆๆ เจ้าค่ะ ซึ่งทีแรก หนูก็มีคำถามว่า แล้วทำอย่างไรถึงจะสิ้นยึดสิ้นอยากได้  แต่หนูก็ทำอะไรกับความอยากมันไม่ได้ใช่ไหมคะ เพราะความอยาก ความยึดมันเป็นสังขารปรุงแต่ง นอกจาก let it be มันไม่ได้อยาก ไม่ได้ยึด ตลอดเวลาเจ้าค่ะ มันมีเป็นพัก ๆ อ๋อ เข้าใจแล้วค่ะ ว่าหนูไปตั้งเป้าหมาย ยึดเป้าหมายไว้ว่าต้องพ้นทุกข์ให้ได้ ต้องไม่เกิดอีกให้ได้ มันเลยเป็นความอยากขึ้นมา ก็เลยมีความพยายามทำโน่นทำนี่ตลอดเวลาเลย จริง ๆ แล้ว ไม่มีใครเกิดไม่มีใครตาย ไม่มีใครพ้นทุกข์ซะหน่อย มีแต่ขันธ์ห้าที่มันเกิด มันตาย  อวิชชาตัวใหญ่จริง ๆ เพราะมันไปยึดว่าขันธ์ห้านี่เป็นเรา เลยอยากให้ขันธ์ห้าพ้นทุกข์ ไม่อยากให้ขันธ์ห้าต้องมาเกิดอีก โดนหลอกเต็ม ๆ เลยเจ้าค่ะงานนี้

 

หลวงตา : พิจารณาดูให้ดี ๆ มันยังมี “อวิชชา” คือ มีตัวตนของเราอยู่ในความรู้สึก

เหมือนกับ มันยังหลงว่ามีผีเป็นตัวตนอยู่ในความรู้สึก

 

ความทุกข์ หรือ ความกลัวผีจึงยังไม่หายไปจริง เพียงแค่สงบไว้ได้ชั่วคราว

 

ต้องมี สติ สมาธิ ปัญญา ศรัทธา ความเพียร พิจารณาให้เห็นสัจธรรม ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาของขันธ์ห้าอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย จนใจรู้เห็นและยอมรับในสัจธรรมตามความเป็นจริงของขันธ์ห้า หรือ  รู้เท่าทัน “สังขาร” จนไม่หลงสังขารอีกเลย

 

เมื่อไม่หลงสังขาร ก็จะไม่หลงเอาสังขาร มาคิดปรุงแต่งยึดถือสังขาร หรือ ขันธ์ห้าเป็นตัวตน เป็นเรา ตัวเรา หรือ ของเรา ให้เป็นทุกข์ หรือ

เมื่อไม่หลงสังขาร คือ หลงคิดปรุงแต่งว่ามีผีเป็นตัวตนในความรู้สึก ความกลัวผีให้เป็นทุกข์ก็หมดไป หรือ พ้นทุกข์



ปุจฉาวิสัชนาเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2561

 

Tweet
  • Social sharing:
  • Add to Facebook
  • Add to Delicious
  • Digg this
  • Add to StumbleUpon
  • Add to Technorati
  • Add to Reddit
  • Add to MySpace
  • Like this? Tweet it to your followers!

Related items

  • 250307B-4 อวิชชาในผู้รู้
  • 250307B-3 เรียนรู้ในเหตุ เข้าใจในผล
  • 250307B-2 พุทธะ ธรรมะ สังฆะ อยู่ที่ใจ
  • 250307B-1 เมื่อไม่ยึดถือก็ไม่ต้องปล่อยวาง
  • 240914A-5 เงื่อนไขบังธรรมเพราะความเข้าใจผิด
More in this category: « อวิชชาเหมือนข้าวเปลือก เพียรรู้เห็นความจริงของขันธ์ห้า »
back to top

Search

ปุจฉาวิสัชนา Archive

  • ปุจฉา-วิสัชนา 2560
    • พฤษภาคม 60
    • มิถุนายน 60
    • กรกฎาคม 60
    • สิงหาคม 60
    • กันยายน 60
    • ตุลาคม 60
    • พฤศจิกายน 60
    • ธันวาคม 60
  • ปุจฉา-วิสัชนา 2561
    • มกราคม 61
    • กุมภาพันธ์ 61
    • มีนาคม 61
    • เมษายน 61
    • พฤษภาคม 61
    • มิถุนายน 61
    • กรกฎาคม 61
    • สิงหาคม 61
    • กันยายน 61
    • ตุลาคม 61
    • พฤศจิกายน 61
    • ธันวาคม 61
  • ปุจฉา-วิสัชนา 2562
    • มกราคม 62
    • กุมภาพันธ์ 62
    • มีนาคม 62
    • เมษายน 62
    • พฤษภาคม 62
    • มิถุนายน 62
    • กรกฎาคม 62
    • สิงหาคม 62
    • กันยายน 62
    • ตุลาคม 62
    • พฤศจิกายน 62
    • ธันวาคม 62
  • ปุจฉา-วิสัชนา 2563
    • มกราคม 63
    • กุมภาพันธ์ 63
    • มีนาคม 63
    • เมษายน 63
    • พฤษภาคม 63
    • มิถุนายน 63
    • กรกฎาคม 63
    • สิงหาคม 63
    • กันยายน 63
    • ตุลาคม 63
    • พฤศจิกายน 63
    • ธันวาคม 63
  • ปุจฉา-วิสัชนา 2564
    • มกราคม 64
    • กุมภาพันธ์ 64
    • มีนาคม 64
    • เมษายน 64
    • พฤษภาคม 64
    • มิถุนายน 64
    • กรกฎาคม 64
    • สิงหาคม 64
    • กันยายน 64
    • ตุลาคม 64
    • พฤศจิกายน 64
    • ธันวาคม 64
  • ปุจฉา-วิสัชนา 2565
    • มกราคม 65
    • กุมภาพันธ์ 65
    • มีนาคม 65
    • เมษายน 65
    • พฤษภาคม 65
    • มิถุนายน 65
    • กรกฎาคม 65
    • สิงหาคม 65
    • กันยายน 65
    • ตุลาคม 65
    • พฤศจิกายน 65
    • ธันวาคม 65
  • ปุจฉา-วิสัชนา 2566
    • มกราคม 66
    • กุมภาพันธ์ 66
    • มีนาคม 66
    • เมษายน 66
    • พฤษภาคม 66
    • มิถุนายน 66
    • กรกฎาคม 66
    • สิงหาคม 66
    • กันยายน 66

5BA01AEA 57EC 462B B6FB 90B6B03148ED

719CBB23 865C 4DF5 A1C8 222F752DCCBB

« May 2025 »
Mon Tue Wed Thu Fri Sat Sun
      1 2 3 4
5 6 7 8 9 10 11
12 13 14 15 16 17 18
19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31  

Facebook

เพจหลวงตาณรงค์ศักดิ์ ขีณาลโย

บทถอนอธิษฐาน

  • บทถอนอธิษฐาน
Copyright © หลวงตาณรงค์ศักดิ์ ขีณาลโย 2025 All rights reserved.
กันยายน 61