หลวงตาณรงศักดิ์ ขีณาลโย

  • หน้าหลัก
  • สื่อธรรมะ
    • หนังสือธรรมะ
    • เสียงธรรม
      • เสียงธรรมรายปี
      • ไฟล์เสียงจัดชุด
    • CD
    • e-Book ปุจฉา-วิสัชนา
  • ปุจฉา-วิสัชนา
  • ภาพธรรม
  • วิดีโอธรรม
  • ธรรมทัศน์
  • ธรรมถึงใจ
  • ธรรมโอวาท
    • โอวาทธรรม
      • โอวาทธรรม 60-61
      • โอวาทธรรม 62
        • โอวาทธรรม ม.ค. - มี.ค. 62
        • โอวาทธรรม เม.ย.- มิ.ย. 62
        • โอวาทธรรม ก.ค. - ก.ย. 62
        • โอวาทธรรม ต.ค. - ธ.ค. 62
      • โอวาทธรรม 63
        • โอวาทธรรม ม.ค. - มี.ค. 63
        • โอวาทธรรม เม.ย. - มิ.ย. 63
        • โอวาทธรรม ก.ค. - ก.ย. 63
        • โอวาทธรรม ต.ค. - ธ.ค. 63
      • โอวาทธรรม 64
        • โอวาทธรรม ม.ค. - มี.ค. 64
      • โอวาทธรรมถึงใจ
    • ปกิณกธรรม
    • ประชาสัมพันธ์สื่อธรรม
    • โอวาทธรรมชุด
  • Other Languages
    • English
    • Deutsch

อวิชชาเหมือนข้าวเปลือก

อวิชชาเหมือนข้าวเปลือก

ผู้ถาม : กราบขอโอกาสค่ะหลวงตา ข้าวเปลือกก็เปรียบเสมือนขันธ์ห้าใช่ไหมเจ้าคะ ถ้าสิ้นความยึดถือในขันธ์ห้าก็เหมือนกันข้าวที่ถูกสีเปลือกออกไปแล้ว

 

หลวงตา : เม็ดข้าวสารที่อยู่ในเปลือก เปรียบเหมือนขันธ์ห้าหรือกระบวนการทำงานของขันธ์ห้า ซึ่งเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปตลอดเวลา

 

หากมีอวิชชา ตัณหา อุปาทาน ในขันธ์ห้า คือ หลงยึดมั่นถือมั่นขันธ์ห้า หรืออาการต่าง ๆ ของขันธ์ห้า ว่าเป็นเรา ตัวเรา หรือ ของเรา ก็จะเกิดรูปปรมาณูวิญญาณ หรือ กายทิพย์ สร้างรูปทิพย์เป็นตัวตนของเราไว้ในความรู้สึก เป็นเสมือนสำนักงาน หรือ เปลือกหุ้มเม็ดข้าว ซึ่งเป็นกระบวนการทำงานของขันธ์ห้าได้อาศัยทำงานเกิดดับอยู่ภายใน และเป็นผู้พาไปเกิดตามกรรม

 

ตราบใดที่ยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ห้า ว่าเป็นเรา ตัวเรา หรือ ของเรา ไม่ดับไป อวิชชา ตัณหา อุปาทาน  ภพ ชาติ ชรา มรณะ และความทุกข์ทั้งมวลก็ไม่ดับ

 

ซึ่งการสร้างรูปกายทิพย์เป็นตัวตนของเราไว้ในความรู้สึก แล้วหลงยึดถือเป็นจริงเป็นจัง จะเหมือนกับเวลาไปในที่เปลี่ยวในเวลากลางคืน แล้วสร้างรูปผีในความรู้สึก แล้วหลงยึดถือว่าเป็นจริงเป็นจัง จึงเกิดการกลัวผีขึ้นมา ตราบใดหลงยึดถือว่ามีผีอยู่ในความรู้สึก ความกลัวผีก็ไม่หายไปหรือไม่ดับไป

 

ต่อเมื่อ สิ้นหลงยึดถือขันธ์ห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ หรือ กายสังขารและจิตตสังขาร ว่าเป็นตัวตน เป็นเรา ตัวเรา หรือ ของเรา ก็จะสิ้นอวิชชา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ ชรา มรณะ และความทุกข์ทั้งมวล

 

แต่เมื่อไม่ยึดถือกายสังขาร เพราะเห็นว่าไม่เที่ยง มีความแก่ เจ็บ ตาย เน่า เปื่อย ผุพังสลายกลับคืนสู่ธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ

 

แต่ถ้าหลงยึดถือจิตตสังขาร หรือ วิญญาณ ว่าเป็นตัวตน เป็นเรา ตัวเรา หรือ ของเรา ก็จะไม่สิ้นอวิชชา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ ชรา มรณะ และความทุกข์ทั้งมวล

เปรียบเหมือนเปลือกหุ้มเม็ดข้าวยังไม่ดับไป หรือ ยังเป็นข้าวเปลือกอยู่ ย่อมงอกขึ้นใหม่ได้อีก

 

ต่อเมื่อสิ้นหลงยึดมั่นถือมั่นขันธ์ห้า ทั้งกายสังขาร จิตตสังขาร หรือ วิญญาณ ว่าเป็นตัวตน เป็นเรา ตัวเรา หรือ ของเรา

เพราะรู้เห็นความจริงประจักษ์แก่ใจว่า เขาเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หรือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์  ไม่ใช่เป็นตัวตนคงที่หรือเที่ยงแท้ ไม่อยู่ในบังคับของเรา ที่จะไม่ให้เกิดดับ หรือ ไม่อาจบังคับให้ไม่แก่ เจ็บ ตาย เน่าเปื่อยผุพังกลับคืนสู่ธาตุดิน น้ำ ลม ไฟได้

เมื่อความรู้สัจธรรมความจริง หรือ เกิดสัมมาทิฏฐิประจักษ์แก่ใจ

ความหลงยึดมั่นถือมั่นผิด ๆ ซึ่งเป็นมิจฉาทิฏฐิ ก็จะดับไป

อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ ชรา มรณะ ความทุกข์ทั้งมวล จึงจะดับพร้อมไปหมด หรือ วงจรปฏิจจสมุปบาท หักสะบั้น

 

เปรียบเหมือนข้าวเปลือก ไม่มีเปลือกหุ้มแล้ว เพราะเป็นข้าวสารขาว หรือ เป็นข้าวสุกแล้ว ย่อมปลูกไม่ขึ้นอีกต่อไป

 

หรือ สิ้นหลงยึดถือว่ามีผีเป็นตัวตนอยู่ในความรู้สึก เช่น ไปดูให้รู้แน่ว่า ผีมาทำอะไรให้มีเสียงดังกุกกัก กุกกัก ... หรือ เสียงร้องถึดทือ ถึดทือ .... ครั้นพบความจริงว่า ที่แท้มีสัตว์มาร้องอยู่ในความมืด ความกลัวผีก็หายไป

 

ปุจฉาวิสัชนาเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2561

 

Tweet
  • Social sharing:
  • Add to Facebook
  • Add to Delicious
  • Digg this
  • Add to StumbleUpon
  • Add to Technorati
  • Add to Reddit
  • Add to MySpace
  • Like this? Tweet it to your followers!

Related items

  • 250307B-4 อวิชชาในผู้รู้
  • 250307B-3 เรียนรู้ในเหตุ เข้าใจในผล
  • 250307B-2 พุทธะ ธรรมะ สังฆะ อยู่ที่ใจ
  • 250307B-1 เมื่อไม่ยึดถือก็ไม่ต้องปล่อยวาง
  • 240914A-5 เงื่อนไขบังธรรมเพราะความเข้าใจผิด
More in this category: « “ปรากฏการณ์ของธรรมชาติ” เปลี่ยนไป แต่ “ใจ” ไม่เคยเกิดดับเปลี่ยนแปลง เพียรพิจารณาอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาของขันธ์ห้าอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย »
back to top

Search

ปุจฉาวิสัชนา Archive

  • ปุจฉา-วิสัชนา 2560
    • พฤษภาคม 60
    • มิถุนายน 60
    • กรกฎาคม 60
    • สิงหาคม 60
    • กันยายน 60
    • ตุลาคม 60
    • พฤศจิกายน 60
    • ธันวาคม 60
  • ปุจฉา-วิสัชนา 2561
    • มกราคม 61
    • กุมภาพันธ์ 61
    • มีนาคม 61
    • เมษายน 61
    • พฤษภาคม 61
    • มิถุนายน 61
    • กรกฎาคม 61
    • สิงหาคม 61
    • กันยายน 61
    • ตุลาคม 61
    • พฤศจิกายน 61
    • ธันวาคม 61
  • ปุจฉา-วิสัชนา 2562
    • มกราคม 62
    • กุมภาพันธ์ 62
    • มีนาคม 62
    • เมษายน 62
    • พฤษภาคม 62
    • มิถุนายน 62
    • กรกฎาคม 62
    • สิงหาคม 62
    • กันยายน 62
    • ตุลาคม 62
    • พฤศจิกายน 62
    • ธันวาคม 62
  • ปุจฉา-วิสัชนา 2563
    • มกราคม 63
    • กุมภาพันธ์ 63
    • มีนาคม 63
    • เมษายน 63
    • พฤษภาคม 63
    • มิถุนายน 63
    • กรกฎาคม 63
    • สิงหาคม 63
    • กันยายน 63
    • ตุลาคม 63
    • พฤศจิกายน 63
    • ธันวาคม 63
  • ปุจฉา-วิสัชนา 2564
    • มกราคม 64
    • กุมภาพันธ์ 64
    • มีนาคม 64
    • เมษายน 64
    • พฤษภาคม 64
    • มิถุนายน 64
    • กรกฎาคม 64
    • สิงหาคม 64
    • กันยายน 64
    • ตุลาคม 64
    • พฤศจิกายน 64
    • ธันวาคม 64
  • ปุจฉา-วิสัชนา 2565
    • มกราคม 65
    • กุมภาพันธ์ 65
    • มีนาคม 65
    • เมษายน 65
    • พฤษภาคม 65
    • มิถุนายน 65
    • กรกฎาคม 65
    • สิงหาคม 65
    • กันยายน 65
    • ตุลาคม 65
    • พฤศจิกายน 65
    • ธันวาคม 65
  • ปุจฉา-วิสัชนา 2566
    • มกราคม 66
    • กุมภาพันธ์ 66
    • มีนาคม 66
    • เมษายน 66
    • พฤษภาคม 66
    • มิถุนายน 66
    • กรกฎาคม 66
    • สิงหาคม 66
    • กันยายน 66

5BA01AEA 57EC 462B B6FB 90B6B03148ED

719CBB23 865C 4DF5 A1C8 222F752DCCBB

« May 2025 »
Mon Tue Wed Thu Fri Sat Sun
      1 2 3 4
5 6 7 8 9 10 11
12 13 14 15 16 17 18
19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31  

Facebook

เพจหลวงตาณรงค์ศักดิ์ ขีณาลโย

บทถอนอธิษฐาน

  • บทถอนอธิษฐาน
Copyright © หลวงตาณรงค์ศักดิ์ ขีณาลโย 2025 All rights reserved.
กันยายน 61