หลวงตาณรงศักดิ์ ขีณาลโย

  • หน้าหลัก
  • สื่อธรรมะ
    • หนังสือธรรมะ
    • เสียงธรรม
      • เสียงธรรมรายปี
      • ไฟล์เสียงจัดชุด
    • CD
    • e-Book ปุจฉา-วิสัชนา
  • ปุจฉา-วิสัชนา
  • ภาพธรรม
  • วิดีโอธรรม
  • ธรรมทัศน์
  • ธรรมถึงใจ
  • ธรรมโอวาท
    • โอวาทธรรม
      • โอวาทธรรม 60-61
      • โอวาทธรรม 62
        • โอวาทธรรม ม.ค. - มี.ค. 62
        • โอวาทธรรม เม.ย.- มิ.ย. 62
        • โอวาทธรรม ก.ค. - ก.ย. 62
        • โอวาทธรรม ต.ค. - ธ.ค. 62
      • โอวาทธรรม 63
        • โอวาทธรรม ม.ค. - มี.ค. 63
        • โอวาทธรรม เม.ย. - มิ.ย. 63
        • โอวาทธรรม ก.ค. - ก.ย. 63
        • โอวาทธรรม ต.ค. - ธ.ค. 63
      • โอวาทธรรม 64
        • โอวาทธรรม ม.ค. - มี.ค. 64
      • โอวาทธรรมถึงใจ
    • ปกิณกธรรม
    • ประชาสัมพันธ์สื่อธรรม
    • โอวาทธรรมชุด
  • Other Languages
    • English
    • Deutsch

“ธรรมะ” ก็คือธรรมชาติ

“ธรรมะ” ก็คือธรรมชาติ

ผู้ถาม : การหลงยึดถือความสงบและยึดถือใจที่สงบที่ว่านี้ เพราะเป็นความเคยตัวเคยใจที่มีเป้าหมายละเอียดที่แอบซ่อนไว้ลึก ๆในใจ

เมื่อไม่ปล่อยวางจิตตสังขารและผู้รู้ทุกปัจจุบันขณะ และไม่เท่าทันการขยับการไหวนั้น ๆโดยไหลไปเป็น ไปรองรับสังขารปรุงแต่งที่เคยหมายไว้ในใจลึก ๆ จึงไม่เท่าทันอวิชชา

ผู้ที่ภาวนาที่หลงแบบดังกล่าวนี้  หากไม่มีครูบาอาจารย์ชี้ทางให้เห็นจะสามารถรู้ได้ด้วยตนเองอย่างไรบ้างครับ กราบขอบพระคุณหลวงตาครับ

 

หลวงตา :  “ธรรมะ” ก็คือธรรมชาติ มีสองประเภท

 

ประเภทหนึ่ง ; เคลื่อนไหว เกิดดับได้ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เรียกว่า “สังขาร” ถ้าเป็นสิ่งนี้ ต้องตกอยู่ใต้กฎไตรลักษณ์ ให้เป็นทุกข์

 

อีกประเภทหนึ่ง ; เป็นธรรมชาติที่มีรู้ได้ในตัวเอง เหมือนกับสัตว์หรือสิ่งใดที่มีแสงสว่างในตัวเอง เช่น หิ่งห้อย หรือ ดาวฤกษ์  แต่ไม่มีตัวตน ไม่มีรูปร่าง ไม่มีอะไรปรากฏการเคลื่อนไหวเลย ไม่อาจคิดหรือปรุงแต่งได้ จึงไม่มีการเกิดดับ ไม่ตกอยู่ใต้กฎไตรลักษณ์  เรียกว่า “วิสังขาร”

เป็นธรรมชาติประเภทนี้ จะพ้นกฎไตรลักษณ์ และพ้นทุกข์

 

ธรรมชาติของวิสังขารเหมือนกับความว่างเปล่าของธรรมชาติหรือจักรวาล อันไม่มีขอบเขต ต่างกันแต่เพียง ความว่างของจักรวาลไม่มีรู้ในตัวมันเอง แต่ธรรมชาติของ

“วิสังขาร” มีรู้ในธรรมชาติของมันเอง คือ รู้จักมันเองว่า มันเป็นธรรมชาติที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของ ไม่มีตัวตน ไม่สังขาร ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่ของเรา มันจึงไม่หลงผิดตัวเอาสังขารมาเป็นวิสังขาร หรือ เอาวิสังขารมาเป็นสังขาร

และ ไม่หลงผิดยึดถือเอาสังขารและวิสังขาร ซึ่งเป็นของธรรมชาติเช่นนั้นเอง มาเป็นเรา ตัวเรา หรือ ของเรา

 

ธรรมชาติของ “สังขาร” จะเกิดดับใน “วิสังขาร”

เหมือนดั่งแสงหิ่งห้อย หรือ ฟ้าแลบ ฟ้าผ่า  เกิดดับใน ความว่างเปล่าของธรรมชาติ

 

ถ้าหากหลงเป็น “สังขาร” ก็ตกอยู่ใต้กฎอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ให้เป็นทุกข์

ถ้าหากเป็น “วิสังขาร”  ก็ไม่ตกอยู่ใต้กฎไตรลักษณ์ ให้เป็นทุกข์

 

***** ถ้าหลงพยายามไล่รู้เท่าทันความคิด ปรุงแต่ง ซึ่งเป็น “สังขาร” โดยเข้าใจผิดว่า ถ้าไล่ดับสังขาร ซึ่งเป็นความคิด ปรุงแต่งได้จนหมดสิ้นแล้ว จะกลายเป็น ความว่างเปล่า จึงปรากฏอาการไล่รู้เท่าทัน หรือความอยากจะพ้นทุกข์ อยากสงบ อยากจะถึงซึ่งความว่างเปล่า จึงตกอยู่ใต้กฎไตรลักษณ์ ให้เป็นทุกข์

*****หรือ หลงยึดถือสังขาร หรือหลงยึดถือวิสังขาร

ย่อมมีตัวตนของผู้ยึดถือ และมีอาการของการยึดถือ คือความอยากได้ อยากเอา อยากเป็น อยากรู้ อยากเห็น อยากรู้แจ้ง อยากบรรลุพระนิพพาน จึงหลงเป็นสังขาร ตกอยู่ใต้กฎไตรลักษณ์ ให้เป็นทุกข์

 

เมื่อทราบดั่งนี้แล้ว ก็ต้องมีสติ สมาธิ ปัญญา สังเกตจิตปัจจุบันขณะ อยู่เงียบ ๆ จริง ๆ  แล้วจะรู้เห็นความจริงตามธรรมชาติของสังขารและวิสังขารด้วยใจหรือด้วยปัญญาญาณอย่างที่เขาบอกนั้นจริง ๆ ซึ่งถ้าเป็น “สังขาร” ก็ตกอยู่ใต้กฎไตรลักษณ์ ให้เป็นทุกข์

*****ถ้าเป็น ”วิสังขาร” ก็ไม่ตกอยู่ใต้กฎไตรลักษณ์ จึงพ้นทุกข์ (นิพพาน)

 

ปุจฉาวิสัชนาเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2561

 

Tweet
  • Social sharing:
  • Add to Facebook
  • Add to Delicious
  • Digg this
  • Add to StumbleUpon
  • Add to Technorati
  • Add to Reddit
  • Add to MySpace
  • Like this? Tweet it to your followers!

Related items

  • 250307B-4 อวิชชาในผู้รู้
  • 250307B-3 เรียนรู้ในเหตุ เข้าใจในผล
  • 250307B-2 พุทธะ ธรรมะ สังฆะ อยู่ที่ใจ
  • 250307B-1 เมื่อไม่ยึดถือก็ไม่ต้องปล่อยวาง
  • 240914A-5 เงื่อนไขบังธรรมเพราะความเข้าใจผิด
More in this category: « หลงยึดถือใจนิ่ง ปล่อยวางแม้ผู้รู้ ผู้เห็น ผู้เข้าใจ ผู้รู้แจ้ง »
back to top

Search

ปุจฉาวิสัชนา Archive

  • ปุจฉา-วิสัชนา 2560
    • พฤษภาคม 60
    • มิถุนายน 60
    • กรกฎาคม 60
    • สิงหาคม 60
    • กันยายน 60
    • ตุลาคม 60
    • พฤศจิกายน 60
    • ธันวาคม 60
  • ปุจฉา-วิสัชนา 2561
    • มกราคม 61
    • กุมภาพันธ์ 61
    • มีนาคม 61
    • เมษายน 61
    • พฤษภาคม 61
    • มิถุนายน 61
    • กรกฎาคม 61
    • สิงหาคม 61
    • กันยายน 61
    • ตุลาคม 61
    • พฤศจิกายน 61
    • ธันวาคม 61
  • ปุจฉา-วิสัชนา 2562
    • มกราคม 62
    • กุมภาพันธ์ 62
    • มีนาคม 62
    • เมษายน 62
    • พฤษภาคม 62
    • มิถุนายน 62
    • กรกฎาคม 62
    • สิงหาคม 62
    • กันยายน 62
    • ตุลาคม 62
    • พฤศจิกายน 62
    • ธันวาคม 62
  • ปุจฉา-วิสัชนา 2563
    • มกราคม 63
    • กุมภาพันธ์ 63
    • มีนาคม 63
    • เมษายน 63
    • พฤษภาคม 63
    • มิถุนายน 63
    • กรกฎาคม 63
    • สิงหาคม 63
    • กันยายน 63
    • ตุลาคม 63
    • พฤศจิกายน 63
    • ธันวาคม 63
  • ปุจฉา-วิสัชนา 2564
    • มกราคม 64
    • กุมภาพันธ์ 64
    • มีนาคม 64
    • เมษายน 64
    • พฤษภาคม 64
    • มิถุนายน 64
    • กรกฎาคม 64
    • สิงหาคม 64
    • กันยายน 64
    • ตุลาคม 64
    • พฤศจิกายน 64
    • ธันวาคม 64
  • ปุจฉา-วิสัชนา 2565
    • มกราคม 65
    • กุมภาพันธ์ 65
    • มีนาคม 65
    • เมษายน 65
    • พฤษภาคม 65
    • มิถุนายน 65
    • กรกฎาคม 65
    • สิงหาคม 65
    • กันยายน 65
    • ตุลาคม 65
    • พฤศจิกายน 65
    • ธันวาคม 65
  • ปุจฉา-วิสัชนา 2566
    • มกราคม 66
    • กุมภาพันธ์ 66
    • มีนาคม 66
    • เมษายน 66
    • พฤษภาคม 66
    • มิถุนายน 66
    • กรกฎาคม 66
    • สิงหาคม 66
    • กันยายน 66

5BA01AEA 57EC 462B B6FB 90B6B03148ED

719CBB23 865C 4DF5 A1C8 222F752DCCBB

« May 2025 »
Mon Tue Wed Thu Fri Sat Sun
      1 2 3 4
5 6 7 8 9 10 11
12 13 14 15 16 17 18
19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31  

Facebook

เพจหลวงตาณรงค์ศักดิ์ ขีณาลโย

บทถอนอธิษฐาน

  • บทถอนอธิษฐาน
Copyright © หลวงตาณรงค์ศักดิ์ ขีณาลโย 2025 All rights reserved.
พฤษภาคม 61