หลวงตาณรงศักดิ์ ขีณาลโย

  • หน้าหลัก
  • สื่อธรรมะ
    • หนังสือธรรมะ
    • เสียงธรรม
      • เสียงธรรมรายปี
      • ไฟล์เสียงจัดชุด
    • CD
    • e-Book ปุจฉา-วิสัชนา
  • ปุจฉา-วิสัชนา
  • ภาพธรรม
  • วิดีโอธรรม
  • ธรรมทัศน์
  • ธรรมถึงใจ
  • ธรรมโอวาท
    • โอวาทธรรม
      • โอวาทธรรม 60-61
      • โอวาทธรรม 62
        • โอวาทธรรม ม.ค. - มี.ค. 62
        • โอวาทธรรม เม.ย.- มิ.ย. 62
        • โอวาทธรรม ก.ค. - ก.ย. 62
        • โอวาทธรรม ต.ค. - ธ.ค. 62
      • โอวาทธรรม 63
        • โอวาทธรรม ม.ค. - มี.ค. 63
        • โอวาทธรรม เม.ย. - มิ.ย. 63
        • โอวาทธรรม ก.ค. - ก.ย. 63
        • โอวาทธรรม ต.ค. - ธ.ค. 63
      • โอวาทธรรม 64
        • โอวาทธรรม ม.ค. - มี.ค. 64
      • โอวาทธรรมถึงใจ
    • ปกิณกธรรม
    • ประชาสัมพันธ์สื่อธรรม
    • โอวาทธรรมชุด
  • Other Languages
    • English
    • Deutsch

อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร

อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร

 

ผู้ถาม : ขอหลวงตาโปรดเมตตาตรวจสอบเจ้าค่ะ เพราะมีตัวเราเข้าไปยึด ไปขับเคลื่อน จึงเกิดอวิชชา เพราะมีอวิชชาไปรวมกับธาตุรู้    จึงเกิดปฏิสนธิวิญญาณ ทำให้เกิดภพชาติไม่จบสิ้น

อวิชชาเปรียบเหมือนหัวรถจักรที่ขับเคลื่อนสังสารวัฏ วงจรปฎิจจสมุปบาท 3 ข้อความนี้ถูกต้องไหมเจ้าค่ะ

 

หลวงตา : “เพราะมีตัวเราเข้าไปยึด ไปขับเคลื่อน จึงเกิดอวิชชา”

ข้อความนี้ผิด

เพราะมีความหลงยึดถืออยู่ในใจข้ามภพชาติมาอยู่แล้ว คือ เป็นอวิชชา หลงยึดถือว่ามีเรา ตัวเรา หรือตัวตนของเราของเรา มาทุกภพชาติ มาในชาตินี้ ก็เป็นอวิชชาอีก คือ หลงยึดขันธ์ห้า ว่าเป็นเรา เป็นตัวเรา ของเรา หรือ มีตัวเราอยู่ในขันธ์

 

เพราะมีตัวเราเข้าไปยึด หรือยึดว่าเป็นเรา ตัวเรา หรือของเรา จึงเป็นอวิชชาอยู่ในใจลึกๆ เหมือนอยู่ในจิตใต้สำนึก หลังจากนั้น มีตัวเราไปขับเคลื่อน (สังขาร) หรือ ขับเคลื่อน (สังขาร) ไปด้วยอวิชชา

 

***ไม่ใช่เกิดอวิชชา ตอนมีตัวเราไปขับเคลื่อน

 

แต่เพราะมีอวิชชาอยู่ในใจแต่แรกแล้ว จึงสังขาร หรือขับเคลื่อนไปด้วยอวิชชา

 

สมดังพุทธพจน์ว่า “อวิชชา เป็นปัจจัยให้เกิด สังขาร สังขารเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ (ปฏิสนธิวิญญาณ) .....ฯลฯ”

 

“เพราะมีอวิชชาไปรวมกับธาตุรู้    จึงเกิดปฏิสนธิวิญญาณ ทำให้เกิดภพชาติไม่จบสิ้น”

ข้อความนี้ ก็ไม่ถูกต้อง

ต้องบอกว่า “เพราะ “อวิชชา” เป็นปัจจัยเกิดสังขาร

“สังขาร” เป็นปัจจัยให้เกิดวิญาณ (ปฏิสนธิวิญญาณ) ......ฯลฯ

 

หรือ

“เพราะหลงมีตัวเรา (อวิชชา) ไปขับเคลื่อน (ปรุงแต่ง) หรือ หลงปรุงแต่งไปตามกิเลส ตัณหา ตามความเพลินใจ (นันทิ) ของตัวเรา จึงเกิดอุปาทาน ภพ ชาติ คือ เกิดวิญญาณกายโปร่งแสงกับสิ่งที่

ยึดถือในปัจจุบันขณะ

แล้วขณะที่เปลี่ยนการยึดถือในขณะถัดไป วิญญาณที่เป็นกายโปร่งแสงก็ดับ แล้วเกิดตัวใหม่กับสิ่งที่ยึดถือใหม่ ๆ เรื่อย ๆ ไป

ครั้นตายลง วิญญาณซึ่งเป็นกายโปร่งแสงก็ไปเกิด (ปฏิสนธิวิญญาณ) ตามอำนาจของกรรม เพราะขณะดับจิตสุดท้าย ยังไม่สิ้น “อวิชชา”



“อวิชชาเปรียบเหมือนหัวรถจักรที่ขับเคลื่อนสังสารวัฏ วงจรปฏิจจสมุปบาท”

ข้อความนี้ถูกตามพุทธพจน์ คือ

อวิชชา เป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร .. สังขารเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ .....ฯลฯ

(วงจรปฏิจจสมุปบาท)

 

** เพราะหลงยึดถือว่า ขันธ์ห้าที่เป็นรูปร่าง เป็นก้อน เป็นแท่ง ให้รับรู้และจับต้องได้นั้น เป็นเรา เป็นตัวเรา หรือเป็นตัวตนของเรา ซึ่งเป็น “อวิชชา” **

 

แต่เมื่อได้ฟังธรรม และเห็นความจริงว่า คน สัตว์ แม้แต่พืช ทยอยตาย เน่าเปื่อยผุพัง ตาม ๆ กันไปทั้งหมด ไม่มีใครไม่อาจไม่ตายได้  เมื่อเห็นและนำมาน้อมพิจารณาบ่อย ๆๆๆ .......

ใจอาจจะยอมรับตามความจริง แล้วปล่อยวางความหลงยึดถือร่างกายได้

 

แม้ไม่ยึดถือร่างกายแล้ว แต่ก็ยังหลงยึดถือ “จิต” ว่า เป็นเรา ตัวเรา หรือ ตัวตนของเรา จึงเป็น “อวิชชา”

ดังนั้น เมื่อจิตมีอาการหรือสภาวะหรืออารมณ์อย่างใด ก็จะหลงยึดถือว่า เราเป็น หรือ เป็นเรา เช่น จิตมีอารมณ์โปร่ง โล่ง เบา สบาย ก็หลงยึดถือว่า เรามีความโปร่ง โล่ง เบา สบาย และเมื่อจิตไม่

สบาย เช่น มีอาการแน่น อึดอัด คับข้อง แช่ หรือมีอาการรู้สึกแย่ ๆ ก็หลงยึดถือว่า เราไม่สบายอย่างนั้นอย่างนี้

 

เมื่อ มีความรู้ ความเห็น ความเข้าใจ ก็หลงยึดถือว่า เราเป็นผู้รู้ ผู้เห็น ผู้เข้าใจ

 

เมื่อดู รู้ ละ ปล่อยวาง ก็หลงยึดถือว่า เราเป็นผู้ดู ผู้รู้ โดยเฉพาะ “ปล่อยวาง” ** แต่กลับหลงยึดถือว่า “เราเป็นผู้ปล่อยวาง” ** ดังนี้ เท่ากับไม่ได้ปล่อยวาง

 

ที่เป็น “อวิชชา” ก็เพราะความไม่รู้เห็นตามความเป็นจริง(ยถาภูตญาณทัสสนะ) ว่าขันธ์ห้าเป็นเพียงสิ่งผสมปรุงแต่งขึ้นมาจาก ธาตุดิน คือ สเปิร์มของพ่อ ผสมกับไข่ คือ ธาตุน้ำของแม่ ธาตุลม ธาตุไฟ

ซึ่งเป็นของใช้สิ้นเปลือง จึงต้อง กินซากพืช ซากสัตว์ ธาตน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ เติมเข้าไปทดแทนส่วนที่ใช้สิ้นเปลืองไป

ส่วน “ธาตุรู้” ซึ่งเป็น “ใจ” ความไม่มีอะไร จึงไม่สิ้นเปลือง และไม่มีการเกิดดับ

 

ธาตุดิน - เป็น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก อวัยวะภายใน

ธาตุน้ำ - เป็นน้ำเลือด น้ำปัสสาวะ ฯลฯ

ธาตุลม - เช่น ลมหายใจเข้าออก ฯลฯ

ธาตุไฟ - ความอบอุ่น

ธาตุรู้*** เป็น “ใจ” ที่รู้ แต่ไม่มีอะไรเลย ไม่มีตัวตน ไม่มีรูปพรรณสัณฐานใด เป็นวิสังขาร ไม่อาจคิด หรือปรุงแต่งได้ ไม่เกิด ไม่ดับ ไม่อาจถูกทำลายได้ ไม่มีการไป การมา การตั้งอยู่ หรือหยุดอยู่

ไม่อาจถูกรับรู้หรือสัมผัสได้ทางอายตนะภายใน มันเป็นเหมือนกับความว่างของธรรมชาติหรือจักรวาล มันไม่ใช่ทั้งเป็นผู้ดู ผู้รู้ ผู้เห็น ผู้เข้าใจ ผู้รู้แจ้ง

 

“จิต” เป็นเพียงปรากฏการณ์ตามธรรมชาติเป็นปัจจุบันขณะ ๆ แล้วดับไป

**แต่ขณะจิตใดมีผู้หลงยึดถือว่า เป็นเรา หรือเราเป็นอย่างนั้น เราเป็นอย่างนี้ ก็จะเป็น “อวิชชา”

ถ้าไม่มีผู้หลงยึดถือ ไม่ว่าจิตจะเป็นอย่างไร ก็เป็นเพียง ปรากฏการณ์ธรรมชาติ เท่านั้น

 

ขันธ์ห้าเป็นสิ่งผสมปรุงแต่ง จึงไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ต้องแตกดับ กลับคืนสู่ธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ

 

ส่วนธาตุรู้ ถ้ายังมี “อวิชชา” อยู่  ก็ไม่อาจกลืนหายไปเป็นหนึ่งเดียวกับความว่างของธรรมธาตุหรือจักรวาลได้

เพราะหลงผิดยึดถือว่าขันธ์ห้าเป็นเรา ตัวเรา ตัวตนของเรา หรือมีตัวเราอยู่ในขันธ์ห้า จึงมีตัวตนของเราเป็นกายโปร่งแสง เตรียมไปเกิดตายในร่างอื่น ๆ ต่อไปอีก

 

ดังนั้น ต้องสิ้นหลงยึดขันธ์ห้า หรือ สิ้นหลงยึดทั้งกายและจิต ว่าเป็นเรา เป็นตัวเรา หรือ เป็นตัวตนของเรา

หรือ ไม่มีตัวเราอยู่ในขันธ์ห้า

 

ธาตุรู้ หรือ “ใจ” จึงเป็นความว่างเป็นหนึ่งเดียวกับความว่างของธรรมชาติหรือจักรวาล

 

ดังนั้น “อวิชชา”ที่ติดอยู่ในจิตเดิมมาทุกภพชาติ จะดับได้กรณีเดียวเท่านั้น คือ สิ้นยีดถือขันธ์ห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ว่าเป็นเรา เป็นตัวเรา หรือเป็นของเรา หรือ มีเรา ตัวเรา ของเราอยู่ในขันธ์ห้านี้

 

สิ้นยึดถือ คือ วาง

วาง คือ สิ้นยึดถือ

 

พระพุทธเจ้าและพระอริยสงฆ์ทั้งหมดตั้งแต่อดีต ปัจจุบัน และอนาคต ล้วนแต่ ปล่อยวางขันธ์ห้า หรือ สิ้นยึดขันธ์ห้า  “อวิชชา” จึงดับ

 

อวิชชาดับ กิเลส ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ และทุกข์ จึงดับพร้อม

 

ปุจฉาวิสัชนาเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2561

Tweet
  • Social sharing:
  • Add to Facebook
  • Add to Delicious
  • Digg this
  • Add to StumbleUpon
  • Add to Technorati
  • Add to Reddit
  • Add to MySpace
  • Like this? Tweet it to your followers!

Related items

  • 250307B-4 อวิชชาในผู้รู้
  • 250307B-3 เรียนรู้ในเหตุ เข้าใจในผล
  • 250307B-2 พุทธะ ธรรมะ สังฆะ อยู่ที่ใจ
  • 250307B-1 เมื่อไม่ยึดถือก็ไม่ต้องปล่อยวาง
  • 240914A-5 เงื่อนไขบังธรรมเพราะความเข้าใจผิด
More in this category: « ทั้งสังขารและวิสังขารล้วนทำหน้าที่ของเขา … เราไม่มี แค่รู้ คือ วาง »
back to top

Search

ปุจฉาวิสัชนา Archive

  • ปุจฉา-วิสัชนา 2560
    • พฤษภาคม 60
    • มิถุนายน 60
    • กรกฎาคม 60
    • สิงหาคม 60
    • กันยายน 60
    • ตุลาคม 60
    • พฤศจิกายน 60
    • ธันวาคม 60
  • ปุจฉา-วิสัชนา 2561
    • มกราคม 61
    • กุมภาพันธ์ 61
    • มีนาคม 61
    • เมษายน 61
    • พฤษภาคม 61
    • มิถุนายน 61
    • กรกฎาคม 61
    • สิงหาคม 61
    • กันยายน 61
    • ตุลาคม 61
    • พฤศจิกายน 61
    • ธันวาคม 61
  • ปุจฉา-วิสัชนา 2562
    • มกราคม 62
    • กุมภาพันธ์ 62
    • มีนาคม 62
    • เมษายน 62
    • พฤษภาคม 62
    • มิถุนายน 62
    • กรกฎาคม 62
    • สิงหาคม 62
    • กันยายน 62
    • ตุลาคม 62
    • พฤศจิกายน 62
    • ธันวาคม 62
  • ปุจฉา-วิสัชนา 2563
    • มกราคม 63
    • กุมภาพันธ์ 63
    • มีนาคม 63
    • เมษายน 63
    • พฤษภาคม 63
    • มิถุนายน 63
    • กรกฎาคม 63
    • สิงหาคม 63
    • กันยายน 63
    • ตุลาคม 63
    • พฤศจิกายน 63
    • ธันวาคม 63
  • ปุจฉา-วิสัชนา 2564
    • มกราคม 64
    • กุมภาพันธ์ 64
    • มีนาคม 64
    • เมษายน 64
    • พฤษภาคม 64
    • มิถุนายน 64
    • กรกฎาคม 64
    • สิงหาคม 64
    • กันยายน 64
    • ตุลาคม 64
    • พฤศจิกายน 64
    • ธันวาคม 64
  • ปุจฉา-วิสัชนา 2565
    • มกราคม 65
    • กุมภาพันธ์ 65
    • มีนาคม 65
    • เมษายน 65
    • พฤษภาคม 65
    • มิถุนายน 65
    • กรกฎาคม 65
    • สิงหาคม 65
    • กันยายน 65
    • ตุลาคม 65
    • พฤศจิกายน 65
    • ธันวาคม 65
  • ปุจฉา-วิสัชนา 2566
    • มกราคม 66
    • กุมภาพันธ์ 66
    • มีนาคม 66
    • เมษายน 66
    • พฤษภาคม 66
    • มิถุนายน 66
    • กรกฎาคม 66
    • สิงหาคม 66
    • กันยายน 66

5BA01AEA 57EC 462B B6FB 90B6B03148ED

719CBB23 865C 4DF5 A1C8 222F752DCCBB

« May 2025 »
Mon Tue Wed Thu Fri Sat Sun
      1 2 3 4
5 6 7 8 9 10 11
12 13 14 15 16 17 18
19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31  

Facebook

เพจหลวงตาณรงค์ศักดิ์ ขีณาลโย

บทถอนอธิษฐาน

  • บทถอนอธิษฐาน
Copyright © หลวงตาณรงค์ศักดิ์ ขีณาลโย 2025 All rights reserved.
กุมภาพันธ์ 61