ผู้ถาม : กราบขอโอกาสเจ้าค่ะ หลวงตาเจ้าคะ “ใจ” ในที่นี้ องค์หลวงปู่หล้า ท่านหมายถึงจิตกับใจ รึเปล่าเจ้าคะ
“นอกจากใจ ไม่มีใครจะหลงใจ นอกจากใจ ก็ไม่มีอันใดจะรู้เท่าใจ
นอกจากใจ ก็ไม่มีอันใดจะปฏิบัติใจ
นอกจากใจ ก็ไม่มีอันใดจะเห็นคุณในใจ
นอกจากใจ ก็ไม่มีอะไรจะเห็นโทษในใจ ตกลงเป็นงานของใจอันดียว
งานของตา ของจมูก ของลิ้น ของกาย
เขาไม่ใช่ผู้บงการ จะทำผิด หรือทำถูก
ก็อยู่ที่เมีองใจ ใครจะเป็นผู้รู้ถูก รู้ผิด
ใจเป็นผู้รับรองตนเอง ไม่มีใครรับรองได้
ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจก็ไม่ได้มารับรอง ไม่รับประกันให้
ศีล สมาธิ ปัญญา
รวมลงแห่งเดียว ขณะเดียว
ตา หู จมูก ลิ้น หนังก็ดี เนื้อก็ดี เอ็นก็ดี
ก็เป็นพลังรวมอยู่ที่แห่งเดียวกัน
'ใจ' จึงเป็นผู้รับรองตนเอง”
โอวาทธรรมหลวงปู่หล้า เขมปัตโต
หลวงตา : ท่านหมายถึง........
ใจที่หลงปรุงแต่งขณะยึดถือ มีกิเลสเกิดดับต่อเนื่องกันทุกดวง ก็มีชื่อสมมติว่า “ใจ”
ใจที่รู้แจ้งว่า... สิ้นอวิชชา ตัณหา อุปาทาน หรือ สิ้นกิเลส
พ้นทุกข์ (นิพพาน) แล้ว ไม่เกิดดับ ก็มีชื่อสมมติว่า “ใจ”
ผู้ถาม : เข้าใจแล้วเจ้าค่ะ กราบขอบพระคุณหลวงตาที่เมตตาขยายความเจ้าค่ะ
ความไม่มีอะไรนั่นแหละเป็นต้นกำเนิดของความมีอะไร ๆ แล้วก็ดับคืนไปสู่ความไม่มีอะไรดังเดิม
ทุกสรรพสิ่งที่ปรุงแต่ง ล้วนเกิดและดับไปในใจ จึงไม่ต้องพยายามดับอะไร เพราะมันดับลงด้วยตัวมันเองทุกขณะ
ปุจฉาวิสัชชนาธรรมเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2564