หลวงตาณรงศักดิ์ ขีณาลโย

  • หน้าหลัก
  • สื่อธรรมะ
    • หนังสือธรรมะ
    • เสียงธรรม
      • เสียงธรรมรายปี
      • ไฟล์เสียงจัดชุด
    • CD
    • e-Book ปุจฉา-วิสัชนา
  • ปุจฉา-วิสัชนา
  • ภาพธรรม
  • วิดีโอธรรม
  • ธรรมทัศน์
  • ธรรมถึงใจ
  • ธรรมโอวาท
    • โอวาทธรรม
      • โอวาทธรรม 60-61
      • โอวาทธรรม 62
        • โอวาทธรรม ม.ค. - มี.ค. 62
        • โอวาทธรรม เม.ย.- มิ.ย. 62
        • โอวาทธรรม ก.ค. - ก.ย. 62
        • โอวาทธรรม ต.ค. - ธ.ค. 62
      • โอวาทธรรม 63
        • โอวาทธรรม ม.ค. - มี.ค. 63
        • โอวาทธรรม เม.ย. - มิ.ย. 63
        • โอวาทธรรม ก.ค. - ก.ย. 63
        • โอวาทธรรม ต.ค. - ธ.ค. 63
      • โอวาทธรรม 64
        • โอวาทธรรม ม.ค. - มี.ค. 64
      • โอวาทธรรมถึงใจ
    • ปกิณกธรรม
    • ประชาสัมพันธ์สื่อธรรม
    • โอวาทธรรมชุด
  • Other Languages
    • English
    • Deutsch

คุกแห่งสังสารวัฏฏ์

คุกแห่งสังสารวัฏฏ์

ผู้ถาม : ขอความเมตตาหลวงตาชี้แนะ บทของเรื่อง “คุกแห่งสังสารวัฏฏ์” ค่ะ

 

ประกาศ : คุกแห่งนี้เราจะไม่มีกำหนดเวลาว่าใครจะอยู่ยาวนาน หรือ สั้นเพียงใด นักโทษสามารถเลือกได้ด้วยตนเอง เพียงแต่มีเงื่อนไขสั้น ๆ ว่า ...

 

 

ทุกคนสามารถอยู่ได้นานตราบเท่าที่ต้องการ แต่หากวันใดไม่ต้องการจะอยู่ในคุกนี้ ขอความเป็นอิสระ ประตูคุกจะเปิดออกได้มีเพียงกรณีเดียว คือ คน ๆ นั้นจะต้องสอบผ่านคำถาม ซึ่งมีทั้งหมด 4 ข้อ โดยไม่มีผิดแม้แต่ข้อเดียว ทุกคนสามารถใช้ความรู้ ความเข้าใจ ความเพียรทั้งหมดที่มี เหมือนกับการไต่เขาที่ขึ้นให้สูงที่สุด ทุ่มเทจนสุดกำลังเพื่อให้ประตูคุกเปิดออก

 

 

และทุกคนที่นี่ไม่สามารถพูดโกหกได้  เพราะ “จิต” ไม่เคยกล่าวเท็จ เรียกว่า “ปากกับใจตรงกัน”  ในที่นี้จึงไม่มีการกล่าวมุสา และประตูนี้ไม่มีผู้ควบคุมเปิดปิด แต่นักโทษคนใดที่ยังมีความทุกข์ในใจ ยังรู้สึกมีความกังวลและหลงวุ่นวายไปกับโลก ประตูก็จะยังคงปิดสนิท และเค้าคนนั้นก็จะไม่สามารถสอบผ่านข้อสอบทั้ง 4 ข้อนี้ได้ จึงจำเป็นต้องอยู่ในคุกต่อไป ทุกคนไม่มีสิทธิอยู่เหนือกฎเกณฑ์นี้ แม้ตัวข้าเองก็อยู่ภายใต้กฎเกณฑ์นี้เช่นกัน

นักโทษชายเบอร์หนึ่ง : กระผมอยู่ในนี้มายาวนานมาก เท่าที่จำได้ไม่น่าต่ำกว่าแสนปี ตอนนี้เบื่อหน่ายที่นี่เหลือเกิน ขอทำการทดสอบเพื่อเปิดประตู

 

ผู้คุม : ถ้าเจ้าเบื่อหน่ายจริงอย่างที่ปากว่า ข้าก็หวังว่าเจ้าจะเปิดประตูได้สำเร็จ

 

คำถามข้อแรก :

สิ่งภายนอกทั้งหมด ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส เขาก็เป็นธรรมชาติธรรมดาของเขาอย่างนั้น

ย่อมแตกต่างกัน เปลี่ยนแปลง ไม่แน่นอน แต่ก็ไม่ได้ทำให้ทุกข์ใจ

 

ซึ่งพระพุทธเจ้า ก็มีพระราชบิดา ภรรยา บุตร ญาติ ข้าทาสบริวาร ทรัพย์สมบัติมากมาย

หลังจากตรัสรู้แล้ว กลับไปหาคนและสิ่งเหล่านั้นในพระราชวัง แต่ทำไมคนและสิ่งเหล่านั้น ไม่ทำให้พระองค์เป็นทุกข์

 

แสดงว่า สิ่งใด ๆ ภายนอกทั้งหมด ไม่ได้เป็นเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์

 

นักโทษชายเบอร์หนึ่ง: ทำไมกระผมไม่รู้สึกเช่นนั้น ทุกครั้งที่คนในครอบครัวพูดจาปราศรัยดีต่อกัน มันทำให้กระผมมีความสุขยิ่งนัก แต่มันไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป บางคราวมีเสียงทะเลาะเบาะแว้ง มันบีบคั้นใจเกล้ากระผมให้แทบแทรกแผ่นดินหนี เหมือนดั่งไฟไหม้ไปทั้งเรือน จะบอกว่า … สิ่งใด ๆ ภายนอกทั้งหมด ไม่ได้เป็นเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ได้เช่นไร

 

ผู้คุม : เจ้าไม่ผ่านคำถามข้อแรก  กลับเข้าไปยังโลกของเจ้า

 

นักโทษชายเบอร์สอง : กระผมพร้อมที่จะเปิดประตู กระผมเข้าใจจริง ๆ ว่า … สิ่งภายนอกเหล่านั้น ไม่ได้เป็นเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ คนอื่นเค้าจะเป็นยังไงเราจะไปทำอะไรเค้าได้ แม้ทรัพย์สินเล่ามันก็หมุนเวียนเปลี่ยนมือไปมา กระผมก็เห็นอยู่ กระผมจึงไม่เคยทุกข์ว่ามันจะอยู่หรือมันจะไป  กระผมขอคำถามข้อต่อไป

 

 

คำถามข้อที่สอง

ร่างกาย ;

พระพุทธเจ้าก็มีร่างกายเหมือนพวกเราทุกคน แม้ร่างกายของพระองค์จะเจ็บป่วย จะสิ้นพระชนม์ ก็ไม่ได้ทำให้พระองค์เป็นทุกข์ แสดงว่าร่างกายไม่ได้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์

 

นักโทษชายเบอร์สอง : พระพุทธองค์ทรงพระปัญญาอย่างถึงที่สุด เกล้ากระผมเห็นจริงอย่างที่พระองค์กล่าว ด้วยว่า ตั้งแต่เด็กมากระผมป่วยกระเสาะกระแสะมาโดยตลอด ไม่ได้อยากป่วย ถึงคราวธาตุมันจะกำเริบ ถึงคราวธาตุมันจะพิการไม่สมดุล มันไม่อยู่ในบังคับบัญชา

กระผมเห็นจริงว่า … ร่างกายนี้จะดูแลดีเท่าไหร่ก็ตามก็คงเสื่อมถอยลง พอกระผมเข้าใจและยอมรับ  กระผมก็ไม่ได้ทุกข์ จึงเห็นจริงว่า … ร่างกายไม่ได้เป็นเหตุให้ใจเกิดทุกข์

กระผมขอคำถามข้อถัดไป

 

คำถามข้อที่สาม

จิตตสังขาร ;

ซึ่งเป็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

พระพุทธเจ้าก็มีสิ่งนี้เหมือนกับพวกเราทุกคน แต่ก็ไม่ทำให้พระองค์เป็นทุกข์

แสดงว่า จิตตสังขาร ไม่ได้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์

 

 

นักโทษชายเบอร์สอง : คำถามข้อนี้ กระผมสงสัยยิ่งนัก ความคิด อารมณ์ ความรู้สึกต่าง ๆ ทำให้กระผมทุกข์มาโดยตลอด จะหนีอย่างไรก็หนีไม่พ้น เพราะมันอยู่ในตัวกระผมเอง  บางทีมีเรื่องที่ทำให้กระผมคิดมากจนนอนไม่หลับ กระผมเป็นทุกข์เหลือเกิน กระผมจึงไม่เข้าใจจริง ๆ ว่า … จิตตสังขารเหล่านี้ทำไมถึงไม่ได้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์

 

ผู้คุม : เจ้ามาได้ถึงเพียงแค่นี้ หมดสิทธิ์ไปต่อ ต้องเปิดโอกาสให้คนต่อไป

 

นักโทษหญิง : ข้อนี้ใจอิฉันไม่เคยสงสัยเลย ไม่ว่าความคิด อารมณ์ ความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อมีการกระทบนั้น  สิ่งเหล่านี้เค้าเกิดของเค้าเอง เค้าดับของเค้าเอง ตามเหตุตามปัจจัย อิฉันไม่เคยทำอะไร ได้แต่รับรู้อยู่ แต่ไม่เคยนำมาใส่ใจ

จึงไม่เคยสงสัยในข้อนี้และเห็นจริงตามนั้นว่า … จิตตสังขารเหล่านี้ไม่ได้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์  อิฉันขอคำถามข้อสุดท้าย

 

คำถามสุดท้าย

ใจ หรือ ธาตุรู้ ซึ่งเป็น “วิสังขาร” ;

พระพุทธเจ้าก็มีเหมือนกับพวกเราทุกคน แต่ก็ไม่ได้ทำให้พระองค์เป็นทุกข์

แสดงว่า ใจ หรือ ธาตุรู้ หรือ วิสังขาร ไม่ได้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์

 

นักโทษหญิง : ?????????? อิฉันไม่เหลือความทุกข์ในใจ ใจอิฉันก็สว่างไสว เบา สบาย ว่างเปล่า อิฉันก็มีความสุข แม้อยู่ในนี้ อิฉันก็ไม่ได้ทุกข์ เพราะอิฉันไม่ได้นำเรื่องโลก ๆ มาใส่ใจ  อิฉันสนใจแต่ใจอิฉันเท่านั้น ที่มาทดสอบเพียงแต่อยากออกประตูไปดูภายนอกบ้างเท่านั้น

 

ผู้คุม : เจ้ายังไปต่อไม่ได้ เพราะเมื่อเจ้ายังไม่รู้แจ้งอย่างถึงใจ แม้ความทุกข์ในใจจะเหลือน้อยเพียงไร  แต่ใจที่มีแต่ความสุขนั่นแหละ ยังทำให้มีความทุกข์ละเอียด ๆ แฝงอยู่

ทำไม !!! ทั้งสังขารภายนอก สังขารภายใน และ วิสังขาร

จึงไม่ได้ทำให้พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และ

พระอรหันต์ทั้งหมดเป็นทุกข์ เล่า ??? .......

 

ทำไม !!! เราก็มีสิ่งนั้น เหมือนกับพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันต์

แต่เหตุใดเล่า แม้จะหนีทุกอย่างขึ้นเขาสูงที่สุดในโลก แล้ว ก็ยังเป็นทุกข์อยู่ ???..........

พิจารณาให้ถึงใจ ซิ !!!

 

***** ถ้าไม่รู้เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ย่อมดับเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ไม่ได้*****

 

 

สรุป

ชื่อเรื่องคุกแห่งสังสารวัฏฏ์

ผู้คุม ชื่อ ตัณหา

นักโทษทุกคน ชื่อ นักโทษ (ผู้อื่น)

 

 

หลวงตา :

 

ผู้คุม : เจ้ายังออกไปไม่ได้ เพราะ เจ้ายังมีอวิชชา ตัณหา อุปาทาน ซึ่งเป็นกิเลสละเอียดที่สุด คือ เจ้าไม่ยึดถืออย่างอื่นแล้ว แต่เจ้ายังหลงยึดถือตัวเอง หรือ หลงยึดถืออาการของใจที่ว่างเปล่า เบาสบาย  

ส่วนจิตหรือใจที่บริสุทธิ์แท้จะไม่ปรากฏอาการ

แม้พยายามเป็นใจที่ว่างเปล่า หรือ

มีความรู้สึกอยู่ในใจว่า ......

ใจของเราว่าง หรือ

ไม่มีสิ่งใด ๆ มีค่าต่อใจของเรา หรือ

หลงยึดถือว่า เราบรรลุธรรม ใจของเราว่าง ใจของเราบริสุทธิ์ เรานิพพานแล้ว ก็ยังหลงยึดถือว่ามีตัวเรา และ หลงยึดถือเอาจิตหรือใจที่บริสุทธิ์หรือนิพพานมาเป็นของเรา

จึงเป็นเหตุทำให้ไม่บริสุทธิ์แท้

ทำให้มีความทุกข์ละเอียด ๆ แฝงอยู่

ความอยากออกจากคุก แสดงว่า ยังหลงมีตัวตน

มีตัวเราติดอยู่ในทุกข์ หรือ ในสังสารวัฏฏ์ ทำให้โหยหาความเป็นอิสระ อยากพ้นทุกข์ (นิพพาน)

 

ต้องรู้เท่าทันความอยาก ความปรารถนา ความโหยหา .... นั้น

 

 

ปุจฉาวิสัชนาเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2562

 

Tweet
  • Social sharing:
  • Add to Facebook
  • Add to Delicious
  • Digg this
  • Add to StumbleUpon
  • Add to Technorati
  • Add to Reddit
  • Add to MySpace
  • Like this? Tweet it to your followers!

Related items

  • 240909A-4 หยุดคิดและดิ้นรนค้นหา จะพบความจริง
  • 240909A-3 จุดเริ่มกับจุดจบคือจุดเดียวกัน
  • 240909A-2 ยอมรับธรรมชาติตามความเป็นจริง
  • 240909A-1 ปัจจุบันขณะยึดอะไรไม่ได้
  • 250307B-4 อวิชชาในผู้รู้
More in this category: « อยู่กับอมตธาตุ อมตธรรม จิตเดิมแท้เป็นพ่อแม่ของอวิชชา »
back to top

Search

ปุจฉาวิสัชนา Archive

  • ปุจฉา-วิสัชนา 2560
    • พฤษภาคม 60
    • มิถุนายน 60
    • กรกฎาคม 60
    • สิงหาคม 60
    • กันยายน 60
    • ตุลาคม 60
    • พฤศจิกายน 60
    • ธันวาคม 60
  • ปุจฉา-วิสัชนา 2561
    • มกราคม 61
    • กุมภาพันธ์ 61
    • มีนาคม 61
    • เมษายน 61
    • พฤษภาคม 61
    • มิถุนายน 61
    • กรกฎาคม 61
    • สิงหาคม 61
    • กันยายน 61
    • ตุลาคม 61
    • พฤศจิกายน 61
    • ธันวาคม 61
  • ปุจฉา-วิสัชนา 2562
    • มกราคม 62
    • กุมภาพันธ์ 62
    • มีนาคม 62
    • เมษายน 62
    • พฤษภาคม 62
    • มิถุนายน 62
    • กรกฎาคม 62
    • สิงหาคม 62
    • กันยายน 62
    • ตุลาคม 62
    • พฤศจิกายน 62
    • ธันวาคม 62
  • ปุจฉา-วิสัชนา 2563
    • มกราคม 63
    • กุมภาพันธ์ 63
    • มีนาคม 63
    • เมษายน 63
    • พฤษภาคม 63
    • มิถุนายน 63
    • กรกฎาคม 63
    • สิงหาคม 63
    • กันยายน 63
    • ตุลาคม 63
    • พฤศจิกายน 63
    • ธันวาคม 63
  • ปุจฉา-วิสัชนา 2564
    • มกราคม 64
    • กุมภาพันธ์ 64
    • มีนาคม 64
    • เมษายน 64
    • พฤษภาคม 64
    • มิถุนายน 64
    • กรกฎาคม 64
    • สิงหาคม 64
    • กันยายน 64
    • ตุลาคม 64
    • พฤศจิกายน 64
    • ธันวาคม 64
  • ปุจฉา-วิสัชนา 2565
    • มกราคม 65
    • กุมภาพันธ์ 65
    • มีนาคม 65
    • เมษายน 65
    • พฤษภาคม 65
    • มิถุนายน 65
    • กรกฎาคม 65
    • สิงหาคม 65
    • กันยายน 65
    • ตุลาคม 65
    • พฤศจิกายน 65
    • ธันวาคม 65
  • ปุจฉา-วิสัชนา 2566
    • มกราคม 66
    • กุมภาพันธ์ 66
    • มีนาคม 66
    • เมษายน 66
    • พฤษภาคม 66
    • มิถุนายน 66
    • กรกฎาคม 66
    • สิงหาคม 66
    • กันยายน 66

5BA01AEA 57EC 462B B6FB 90B6B03148ED

719CBB23 865C 4DF5 A1C8 222F752DCCBB

« May 2025 »
Mon Tue Wed Thu Fri Sat Sun
      1 2 3 4
5 6 7 8 9 10 11
12 13 14 15 16 17 18
19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31  

Facebook

เพจหลวงตาณรงค์ศักดิ์ ขีณาลโย

บทถอนอธิษฐาน

  • บทถอนอธิษฐาน
Copyright © หลวงตาณรงค์ศักดิ์ ขีณาลโย 2025 All rights reserved.
มิถุนายน 62