หลวงตาณรงศักดิ์ ขีณาลโย

  • หน้าหลัก
  • สื่อธรรมะ
    • หนังสือธรรมะ
    • เสียงธรรม
      • เสียงธรรมรายปี
      • ไฟล์เสียงจัดชุด
    • CD
    • e-Book ปุจฉา-วิสัชนา
  • ปุจฉา-วิสัชนา
  • ภาพธรรม
  • วิดีโอธรรม
  • ธรรมทัศน์
  • ธรรมถึงใจ
  • ธรรมโอวาท
    • โอวาทธรรม
      • โอวาทธรรม 60-61
      • โอวาทธรรม 62
        • โอวาทธรรม ม.ค. - มี.ค. 62
        • โอวาทธรรม เม.ย.- มิ.ย. 62
        • โอวาทธรรม ก.ค. - ก.ย. 62
        • โอวาทธรรม ต.ค. - ธ.ค. 62
      • โอวาทธรรม 63
        • โอวาทธรรม ม.ค. - มี.ค. 63
        • โอวาทธรรม เม.ย. - มิ.ย. 63
        • โอวาทธรรม ก.ค. - ก.ย. 63
        • โอวาทธรรม ต.ค. - ธ.ค. 63
      • โอวาทธรรม 64
        • โอวาทธรรม ม.ค. - มี.ค. 64
      • โอวาทธรรมถึงใจ
    • ปกิณกธรรม
    • ประชาสัมพันธ์สื่อธรรม
    • โอวาทธรรมชุด
  • Other Languages
    • English
    • Deutsch

ต้องสิ้นอุปาทานขันธ์ห้าเท่านั้น

ต้องสิ้นอุปาทานขันธ์ห้าเท่านั้น

 

ผู้ถาม : กราบนมัสการท่านพระอาจารย์เจ้าค่ะ

 

ที่ท่านหลวงพ่อชาสอนว่า ตราบใดที่ยังมีตัวตน ก็ยังมีการปรุงแต่ง แสดงว่าการรู้ สักแต่ว่ารู้นั้น (เพราะไม่หลงใหลไปยึดถือการปรุงแต่งของจิต) แต่เมื่อใดที่หยุดปรุงแต่งในจิตจริงๆ นั้น ถึงจะสิ้นตัวตนจริงๆ และจะรู้ได้เองเลยใช่ไหมเจ้าคะ

 

หรือ ในทางกลับกันคือ สิ้นตัวตน ก็สิ้นปรุงแต่ง ใช่ไหมเจ้าคะ

 

สภาวะธรรมในจิตโยมตอนนี้ มันได้แต่สักแต่ว่ารู้ไปเรื่อยๆ แม้น้อยนิดก็สามารถสังเกตได้ ก็ได้แต่รู้เท่าทันไปเรื่อยๆ

 

รู้สึกว่า สติปัฏฐานสี่ ทั้งหมวด กาย เวทนา จิต ธรรม มันถูกพิจารณาไปตามเหตุปัจจัย และได้แต่สักแต่ว่ารู้เจ้าค่ะ

 

ขอท่านพระอาจารย์เมตตาชี้แนะเพิ่มเติมด้วยนะเจ้าคะ กราบนมัสการมาด้วยความเคารพอย่างสูงเจ้าค่ะ

 

 

หลวงตา : ธรรมนี้ลึกซึ้งยิ่งนัก 

 

กราบขอโอกาสอธิบายขยายความตามธรรมข้างต้นของพ่อแม่ครูอาจารย์หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต และ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล พอเป็นแนวทางศึกษาและนำมาประพฤติปฏิบัติต่อไป 

 

คำว่า เมื่อพิจารณาธรรมว่า

 

“สพฺพสงฺขารา สพฺพสญฺญา อนตฺตา” (สังขารและสัญญาทั้งมวลในขันธ์ห้าล้วนเป็นอนัตตา)

 

ก็บังเกิดความสว่างไสวรู้แจ้งตลอดว่า

 

เมื่อสังขารขันธ์ดับไปแล้ว ความเป็นตัวตนจักไม่มี เพราะมิได้เข้าไปเพื่อปรุงแต่ง (น่าจะหมายถึง “อนุปาทิเสสนิพพาน”) คือ

 

ขณะที่ขันธ์ห้าดับ (ตาย) ถ้าความปรุงแต่งยึดถือไม่มี ความเป็นตัวตน (ที่จะไปเวียนว่ายตายเกิด) ก็จะไม่มี (วิญญาณดับไปเหมือนเปลวไฟสิ้นเชื้อ) หรือ ความเป็นตัวตนจักไม่มี เพราะมิได้เข้าไปปรุงแต่ง (เพื่อความยึดถือ) แล้วความทุกข์จะเกิดขึ้นแก่ใครได้อย่างไร 

 

ส่วนธรรมที่ว่า ครั้นเมื่อความปรุงแต่งขาดไป และสภาพแห่งความเป็นตัวตนไม่มี (น่าจะหมายถึง “สอุปาทิเสสนิพพาน”) คือนิพพานในขณะที่ยังไม่ตาย เพราะเกิดความรู้แจ้งแก่ใจ

 

ในขั้นตอนของอนุปาทิเสสนิพพานดังกล่าว จึงรู้แจ้งแก่ใจว่า แม้สัญญา สังขารในขันธ์ห้ายังไม่ดับ ถ้าความปรุงแต่งยึดถือไม่มี สภาพแห่งความเป็นตัวตนก็จักไม่มี แล้วความทุกข์จะเกิดขึ้นแก่ใครได้อย่างไร 

 

ดังนั้น แม้สังขารของขันธ์ห้ายังมีอยู่ ถ้าความปรุงแต่งยึดถือไม่มี ตัวตนก็จักไม่มี 

 

ซึ่งจะสิ้นความหลงยึดถือได้ ก็ต่อเมื่อสิ้น “อุปาทานขันธ์ห้า” มีเพียงกรณีนี้เท่านั้น อย่างอื่นนอกจากนี้ไม่มี 

 

จะสิ้นอุปาทานขันธ์ห้าได้ ก็ต้องมีสติ สมาธิ ปัญญา รวมเป็นหนึ่ง หรือ อริยมรรคมีองค์ 8 รวมเป็นหนึ่งที่ใจ เรียกว่า มรรคสามัคคี หรือ มรรคสมังคี รู้แจ้งด้วยใจ (วิมุตติญาณทัสสนะ) ในปัจจุบันขณะ ว่า

“สพฺเพสงฺขาราอนิจจา สพฺเพสงฺขาราทุกขา สพฺเพธมฺมาอนตฺตา”

 

หรือตามธรรมที่ปรากฏแก่หลวงปู่มั่นที่ให้แก่หลวงปู่ดูลย์ว่า 

“สพฺพสงฺขารา สพฺพสญฺญา อนตฺตา”

 

จึงเกิด “นิพพิทา” (เกิดความเบื่อหน่ายจากความหลงยึดถือขันธ์ห้าให้เป็นทุกข์)   

“วิราคะ” (ใจหมดยางเหนียว สิ้นอวิชชา ตัณหา อุปาทาน) 

“วิมุตติ” (หลุดพ้น) หรือ รู้แล้วติด เป็น สมมติ รู้แล้วไม่ติด เป็น วิมุตติ

“สันติ” (ความสงบ) 

นตฺถิ สนฺติ ปรงฺ สุขงฺ (สุขใดเล่า จะเหนือกว่าความสงบเป็นไม่มี)

“นิพพาน” พ้นทุกข์ ดับ เย็น

 

 

 

ปุจฉาวิสัชชนาเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2563

Tweet
  • Social sharing:
  • Add to Facebook
  • Add to Delicious
  • Digg this
  • Add to StumbleUpon
  • Add to Technorati
  • Add to Reddit
  • Add to MySpace
  • Like this? Tweet it to your followers!

Related items

  • 250307B-4 อวิชชาในผู้รู้
  • 250307B-3 เรียนรู้ในเหตุ เข้าใจในผล
  • 250307B-2 พุทธะ ธรรมะ สังฆะ อยู่ที่ใจ
  • 250307B-1 เมื่อไม่ยึดถือก็ไม่ต้องปล่อยวาง
  • 240914A-5 เงื่อนไขบังธรรมเพราะความเข้าใจผิด
More in this category: « นิพพานอยู่ฟากตาย จิตอวิชชาเป็นสังขาร »
back to top

Search

ปุจฉาวิสัชนา Archive

  • ปุจฉา-วิสัชนา 2560
    • พฤษภาคม 60
    • มิถุนายน 60
    • กรกฎาคม 60
    • สิงหาคม 60
    • กันยายน 60
    • ตุลาคม 60
    • พฤศจิกายน 60
    • ธันวาคม 60
  • ปุจฉา-วิสัชนา 2561
    • มกราคม 61
    • กุมภาพันธ์ 61
    • มีนาคม 61
    • เมษายน 61
    • พฤษภาคม 61
    • มิถุนายน 61
    • กรกฎาคม 61
    • สิงหาคม 61
    • กันยายน 61
    • ตุลาคม 61
    • พฤศจิกายน 61
    • ธันวาคม 61
  • ปุจฉา-วิสัชนา 2562
    • มกราคม 62
    • กุมภาพันธ์ 62
    • มีนาคม 62
    • เมษายน 62
    • พฤษภาคม 62
    • มิถุนายน 62
    • กรกฎาคม 62
    • สิงหาคม 62
    • กันยายน 62
    • ตุลาคม 62
    • พฤศจิกายน 62
    • ธันวาคม 62
  • ปุจฉา-วิสัชนา 2563
    • มกราคม 63
    • กุมภาพันธ์ 63
    • มีนาคม 63
    • เมษายน 63
    • พฤษภาคม 63
    • มิถุนายน 63
    • กรกฎาคม 63
    • สิงหาคม 63
    • กันยายน 63
    • ตุลาคม 63
    • พฤศจิกายน 63
    • ธันวาคม 63
  • ปุจฉา-วิสัชนา 2564
    • มกราคม 64
    • กุมภาพันธ์ 64
    • มีนาคม 64
    • เมษายน 64
    • พฤษภาคม 64
    • มิถุนายน 64
    • กรกฎาคม 64
    • สิงหาคม 64
    • กันยายน 64
    • ตุลาคม 64
    • พฤศจิกายน 64
    • ธันวาคม 64
  • ปุจฉา-วิสัชนา 2565
    • มกราคม 65
    • กุมภาพันธ์ 65
    • มีนาคม 65
    • เมษายน 65
    • พฤษภาคม 65
    • มิถุนายน 65
    • กรกฎาคม 65
    • สิงหาคม 65
    • กันยายน 65
    • ตุลาคม 65
    • พฤศจิกายน 65
    • ธันวาคม 65
  • ปุจฉา-วิสัชนา 2566
    • มกราคม 66
    • กุมภาพันธ์ 66
    • มีนาคม 66
    • เมษายน 66
    • พฤษภาคม 66
    • มิถุนายน 66
    • กรกฎาคม 66
    • สิงหาคม 66
    • กันยายน 66

5BA01AEA 57EC 462B B6FB 90B6B03148ED

719CBB23 865C 4DF5 A1C8 222F752DCCBB

« May 2025 »
Mon Tue Wed Thu Fri Sat Sun
      1 2 3 4
5 6 7 8 9 10 11
12 13 14 15 16 17 18
19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31  

Facebook

เพจหลวงตาณรงค์ศักดิ์ ขีณาลโย

บทถอนอธิษฐาน

  • บทถอนอธิษฐาน
Copyright © หลวงตาณรงค์ศักดิ์ ขีณาลโย 2025 All rights reserved.
พฤศจิกายน 63