หลวงตาณรงศักดิ์ ขีณาลโย

  • หน้าหลัก
  • สื่อธรรมะ
    • หนังสือธรรมะ
    • เสียงธรรม
      • เสียงธรรมรายปี
      • ไฟล์เสียงจัดชุด
    • CD
    • e-Book ปุจฉา-วิสัชนา
  • ปุจฉา-วิสัชนา
  • ภาพธรรม
  • วิดีโอธรรม
  • ธรรมทัศน์
  • ธรรมถึงใจ
  • ธรรมโอวาท
    • โอวาทธรรม
      • โอวาทธรรม 60-61
      • โอวาทธรรม 62
        • โอวาทธรรม ม.ค. - มี.ค. 62
        • โอวาทธรรม เม.ย.- มิ.ย. 62
        • โอวาทธรรม ก.ค. - ก.ย. 62
        • โอวาทธรรม ต.ค. - ธ.ค. 62
      • โอวาทธรรม 63
        • โอวาทธรรม ม.ค. - มี.ค. 63
        • โอวาทธรรม เม.ย. - มิ.ย. 63
        • โอวาทธรรม ก.ค. - ก.ย. 63
        • โอวาทธรรม ต.ค. - ธ.ค. 63
      • โอวาทธรรม 64
        • โอวาทธรรม ม.ค. - มี.ค. 64
      • โอวาทธรรมถึงใจ
    • ปกิณกธรรม
    • ประชาสัมพันธ์สื่อธรรม
    • โอวาทธรรมชุด
  • Other Languages
    • English
    • Deutsch

จิตเห็นจิตคือมรรค

จิตเห็นจิตคือมรรค

ผู้ถาม : เมื่อจิตตั้งมั่นขึ้นมาเป็นผู้รู้ผู้ดูอย่างแท้จริง ขณะนั้นจิตจะไม่ไหลไปตามอารมณ์ที่ถูกรู้ นั่นคือ เมื่อมีการกระทบ (ผัสสะ) เกิดขึ้นทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และทางใจ จิตจะรู้อารมณ์ที่เกิดขึ้นแล้วไม่ไปเสวยอารมณ์นั้น ขณะนั้นไม่ว่าอารมณ์จะเกิดมาทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น หรือทางกาย ทั้งหมดจะต้องส่งตรงมาถึงใจ อันนี้เป็นธรรมชาติการทำงานของขันธ์ห้า ฉะนั้นเมื่อเราตั้งสติไว้ที่ประตูใจโดยไม่ต้องไปตามรักษาที่ทางประตูอื่นอีก 5 ประตู (ประตูตา ประตูหู ประตูจมูก ประตูลิ้น ประตูกาย) เพียงแค่ตั้งสติรักษาจิตไว้ที่ใจก็ ถือว่ารักษาได้ครบทุกประตู เมื่อสติตั้งอยู่ที่ใจ รู้อยู่ที่ใจ ก็จะสังเกตเห็นได้ว่า จิตที่เข้าไปรับรู้อารมณ์ต่าง ๆ แล้วปรุงแต่งโดยทำงานร่วมกับเวทนา สัญญา สังขารนั้น แสดงออกมาเป็นการคิด นึก ตรึก ตรอง ปรุงแต่ง มีกริยาอาการใดเกิดขึ้นตลอดเวลา เมื่อจิตและเจตสิกทำงานแล้วก็ดับไปเกิดเป็นจิตดวงใหม่ และเจตสิกตัวใหม่สืบต่อเนื่องกันอย่างเร็วมาก เป็นเพียงปรากฏการณ์ตามธรรมชาติของขันธ์ห้า ไม่มีสิ่งใดที่น่าหลงเข้าไปยึดถือ ถึงแม้ดูเหมือนว่าจิตจะรู้แล้วพูดกับตัวเองอยู่ข้างในตลอดเวลาก็ให้ปล่อยวาง หลายคนสงสัยว่า จิตเห็นจิตคือจิตมันเห็นตัวเองหรือ จริง ๆ จิตเห็นจิตคือมรรคนั้น จิตเห็นจิตก็คือ จิตที่เป็นผู้รู้หรือใจนั่นแหละ (บางทีเรียกธาตุรู้) เป็นผู้เห็นว่าจิต (วิญญาณขันธ์) เมื่อรู้แล้วปรุงแต่งว่าอย่างไร พูดง่าย ๆ ก็คือ ใจที่ไม่ปรุงแต่งซึ่งไม่เกิดดับ มาเห็นจิตที่ปรุงแต่งที่เกิด ๆ ดับ ๆ นี้ โดยต่างคนต่างอยู่ไม่ยุ่งเกี่ยวกัน เป็นเพียงธรรมชาติทั้งคู่ คือ จิตที่ปรุงแต่งได้เมื่อรับรู้ก็ทำงานร่วมกับเวทนา สัญญา สังขาร เกิดความคิด นึก ตรึก ตรอง ปรุงแต่ง ส่วนใจที่เป็นผู้รู้ที่ไม่ปรุงแต่งก็จะรู้เห็นว่ามีจิต (รวมเจตสิก) ปรุงแต่งเกิด ๆ ดับ ๆ อยู่ เมื่อเกิดปัญญาอย่างแท้จริงจะเห็นว่าทุกสิ่งเป็นเพียงธรรมชาติไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา อยู่ในนั้น คือธรรมชาติที่ปรุงแต่งได้ก็แสดงอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อยู่ต่อหน้าต่อตา ส่วนธรรมชาติที่ไม่ปรุงแต่งนั้นไม่ปรากฏให้เห็นได้ แต่รับรู้ได้ว่ามีอยู่ เพราะมี “รู้" เหมือนเวลาที่เราแอบไปทำอะไรในที่ลับไม่มีใครเห็น แต่ถ้าถามว่าคนอื่นไม่มีใครรู้ แล้วใครหละที่รู้ว่าแอบทำอะไร เราก็จะตอบว่าก็ตัวเราเองนั่นแหละที่รู้ได้ว่าตัวเราแอบทำอะไร "รู้" ตัวนั้นนั่นแหละ “รู้" ที่มาเห็นขันธ์ห้าทำงานนั่นแหละ และเมื่อสติ สมาธิ ปัญญาแก่กล้าขึ้นก็จะพบความจริงของ “รู้" ตัวนี้ ตัวที่ทำให้มีความรู้สึกว่าไม่เกิดไม่ดับนั่นแหละ แต่ในขั้นนี้เราจะสามารถจิตเห็นจิตอยู่ตลอดเวลาได้ ก็ด้วยวิธีที่ว่าต้องตั้งสติไว้ที่ใจ พ่อแม่ครูอาจารย์จึงเพียรบอกให้ทุกคนมีสติตั้งที่ใจ ดังเช่นคำสอนของหลวงปู่ทา จารุธัมโม ที่ว่า
สติตั้งที่ใจ ดูอยู่ที่ใจ มองอยู่ที่ใจ
เห็นอยู่ที่ใจ เพ่งอยู่ที่ใจ กำหนดอยู่ที่ใจ
สติตั้งที่ใจ ดูอยู่ที่ใจ กำหนดอยู่ที่ใจ พิจารณาอยู่ที่ใจ
อิริยาบท 4 ยืน เดิน นั่ง นอน สติอันเดียวก็ไม่หลาย.........
ตอนนี้หนูสังเกตเห็นว่า “ใจ" นั่นแหละคือตัวอวิชชา เพราะมันเป็นจุดศูนย์รวมของทุกอย่าง ทุกสิ่งกระจายออกมาจากจุดนี้ และที่สังเกตได้อีกอย่าง คือ มัน "ยึด" ความรู้เจ้าค่ะ ไม่ได้ยึดว่างหรือไม่ว่าง ตอนนี้ไม่ว่าจะมีเสียงปรุงแต่งยุกยิกข้างในก็ไม่ไปสนใจ บางครั้งยังหลงเชื่อตามไป แต่บางครั้งรู้โดยไม่รู้ความหมายของเสียง เป็นเพียงรู้ที่กลืน ๆ แต่มียุกยิกที่ไม่มีความหมาย และมีธรรมขึ้นมาว่า "ทำไมต้องรู้อะไรมากมายเพื่อเข้าถึงความไม่ต้องรู้อะไร " ขณะนั้นทุกสิ่งที่ปรากฏไม่มีความหมายเจ้าค่ะ


หลวงตา : สาธุ

 

ปุจฉาวิสัชนาธรรมเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2560

Tweet
  • Social sharing:
  • Add to Facebook
  • Add to Delicious
  • Digg this
  • Add to StumbleUpon
  • Add to Technorati
  • Add to Reddit
  • Add to MySpace
  • Like this? Tweet it to your followers!

Related items

  • 250307B-4 อวิชชาในผู้รู้
  • 250307B-3 เรียนรู้ในเหตุ เข้าใจในผล
  • 250307B-2 พุทธะ ธรรมะ สังฆะ อยู่ที่ใจ
  • 250307B-1 เมื่อไม่ยึดถือก็ไม่ต้องปล่อยวาง
  • 240914A-5 เงื่อนไขบังธรรมเพราะความเข้าใจผิด
More in this category: « พิจารณาร่างกายอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย เพื่อให้สิ้นหลงยึดมั่นถือมั่น อย่าปล่อยให้การรู้เห็นขาดวรรคขาดตอน »
back to top

Search

ปุจฉาวิสัชนา Archive

  • ปุจฉา-วิสัชนา 2560
    • พฤษภาคม 60
    • มิถุนายน 60
    • กรกฎาคม 60
    • สิงหาคม 60
    • กันยายน 60
    • ตุลาคม 60
    • พฤศจิกายน 60
    • ธันวาคม 60
  • ปุจฉา-วิสัชนา 2561
    • มกราคม 61
    • กุมภาพันธ์ 61
    • มีนาคม 61
    • เมษายน 61
    • พฤษภาคม 61
    • มิถุนายน 61
    • กรกฎาคม 61
    • สิงหาคม 61
    • กันยายน 61
    • ตุลาคม 61
    • พฤศจิกายน 61
    • ธันวาคม 61
  • ปุจฉา-วิสัชนา 2562
    • มกราคม 62
    • กุมภาพันธ์ 62
    • มีนาคม 62
    • เมษายน 62
    • พฤษภาคม 62
    • มิถุนายน 62
    • กรกฎาคม 62
    • สิงหาคม 62
    • กันยายน 62
    • ตุลาคม 62
    • พฤศจิกายน 62
    • ธันวาคม 62
  • ปุจฉา-วิสัชนา 2563
    • มกราคม 63
    • กุมภาพันธ์ 63
    • มีนาคม 63
    • เมษายน 63
    • พฤษภาคม 63
    • มิถุนายน 63
    • กรกฎาคม 63
    • สิงหาคม 63
    • กันยายน 63
    • ตุลาคม 63
    • พฤศจิกายน 63
    • ธันวาคม 63
  • ปุจฉา-วิสัชนา 2564
    • มกราคม 64
    • กุมภาพันธ์ 64
    • มีนาคม 64
    • เมษายน 64
    • พฤษภาคม 64
    • มิถุนายน 64
    • กรกฎาคม 64
    • สิงหาคม 64
    • กันยายน 64
    • ตุลาคม 64
    • พฤศจิกายน 64
    • ธันวาคม 64
  • ปุจฉา-วิสัชนา 2565
    • มกราคม 65
    • กุมภาพันธ์ 65
    • มีนาคม 65
    • เมษายน 65
    • พฤษภาคม 65
    • มิถุนายน 65
    • กรกฎาคม 65
    • สิงหาคม 65
    • กันยายน 65
    • ตุลาคม 65
    • พฤศจิกายน 65
    • ธันวาคม 65
  • ปุจฉา-วิสัชนา 2566
    • มกราคม 66
    • กุมภาพันธ์ 66
    • มีนาคม 66
    • เมษายน 66
    • พฤษภาคม 66
    • มิถุนายน 66
    • กรกฎาคม 66
    • สิงหาคม 66
    • กันยายน 66

5BA01AEA 57EC 462B B6FB 90B6B03148ED

719CBB23 865C 4DF5 A1C8 222F752DCCBB

« May 2025 »
Mon Tue Wed Thu Fri Sat Sun
      1 2 3 4
5 6 7 8 9 10 11
12 13 14 15 16 17 18
19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31  

Facebook

เพจหลวงตาณรงค์ศักดิ์ ขีณาลโย

บทถอนอธิษฐาน

  • บทถอนอธิษฐาน
Copyright © หลวงตาณรงค์ศักดิ์ ขีณาลโย 2025 All rights reserved.
มิถุนายน 60