หลวงตาณรงศักดิ์ ขีณาลโย

  • หน้าหลัก
  • สื่อธรรมะ
    • หนังสือธรรมะ
    • เสียงธรรม
      • เสียงธรรมรายปี
      • ไฟล์เสียงจัดชุด
    • CD
    • e-Book ปุจฉา-วิสัชนา
  • ปุจฉา-วิสัชนา
  • ภาพธรรม
  • วิดีโอธรรม
  • ธรรมทัศน์
  • ธรรมถึงใจ
  • ธรรมโอวาท
    • โอวาทธรรม
      • โอวาทธรรม 60-61
      • โอวาทธรรม 62
        • โอวาทธรรม ม.ค. - มี.ค. 62
        • โอวาทธรรม เม.ย.- มิ.ย. 62
        • โอวาทธรรม ก.ค. - ก.ย. 62
        • โอวาทธรรม ต.ค. - ธ.ค. 62
      • โอวาทธรรม 63
        • โอวาทธรรม ม.ค. - มี.ค. 63
        • โอวาทธรรม เม.ย. - มิ.ย. 63
        • โอวาทธรรม ก.ค. - ก.ย. 63
        • โอวาทธรรม ต.ค. - ธ.ค. 63
      • โอวาทธรรม 64
        • โอวาทธรรม ม.ค. - มี.ค. 64
      • โอวาทธรรมถึงใจ
    • ปกิณกธรรม
    • ประชาสัมพันธ์สื่อธรรม
    • โอวาทธรรมชุด
  • Other Languages
    • English
    • Deutsch

เพราะความเข้าใจผิด

เพราะความเข้าใจผิด

ผู้ถาม : กราบนมัสการหลวงตาเจ้าค่ะ

ขอโอกาสกราบเรียนการปฏิบัติในชีวิตประจำวันเจ้าค่ะ
วันก่อนระหว่างเดินออกกำลังกาย ข้างในก็ปฏิบัติไปด้วย เจอรถขยะขับผ่าน จิตมันสั่งกายให้กลั้นหายใจอย่างรวดเร็ว เพราะรู้ว่าจะต้องมีกลิ่นเหม็นโชยมา ตามสัญญาเดิมที่เคยรู้ ว่าถ้ารถขยะผ่านต้องเหม็นแน่ๆ ตอนนั้นเกิดเร็วมาก พิจารณาตามหลังเห็นเลยว่า มี..ตัวเราไปเสวย และ ก็เห็นว่าจริงๆ กลิ่นที่ว่าเหม็น ก็เป็นแต่เพียงกลิ่นอีกกลิ่นหนึ่งที่มี..ตัวเรา..ไปให้ค่า.. ว่าชอบ หรือ ไม่ชอบ..ในใจ ก็เลยเกิดอาการทางกายตอบสนองโดยการกลั้นหายใจอย่างรวดเร็ว หลังจากนั้นรถขยะยังจอดเก็บขยะอยู่ จิตมันก็สั่งให้ไม่เดินเข้าใกล้รัศมีรถขยะ ตอนนั้นคิดว่ามีปัญญาที่ทำอย่างนั้น แต่พิจารณาดูอีกที ก็รู้ว่าโดนจิตมันหลอกอีกแล้ว เพราะการไม่เดินเข้าใกล้รถขยะ จริงๆแล้ว คือการให้ค่ากับกลิ่น ว่ากลิ่นนี้ชอบ กลิ่นนี้ไม่ชอบอยู่ดี ก็เลยเดินเลี่ยงไปไม่เข้าใกล้ ทำให้นึกถึงที่หลวงตาสอนเปรียบเทียบเรื่องกระโถน กับ แก้วน้ำเจ้าค่ะ
พิจารณาเสร็จก็วางผู้รู้ วางความเห็นความเข้าใจ วางตัวเราผู้ปล่อยวางไป

อีกเหตุการณ์ก็คือ เดินผ่านคนสูบบุหรี่ ก็จะมีอาการเหมือนรถขยะขับผ่าน แต่ที่เพิ่มเข้ามา คือบางครั้งก็ไปตำหนิเค้าในใจด้วย แต่ความเป็นตัวเรามันเข้าไปเสวยเร็วมากจนรู้ไม่ทัน ณ ช่วงเวลานั้นเจ้าค่ะ ต้องพิจารณาตามหลังตลอด
เวลาเกิดเหตุการณ์ที่สัญญาเดิมสังขารเค้าไม่ชอบ ก็จะเป็นอย่างนี้ตลอด ขอหลวงตาโปรดเมตตาชี้แนะด้วยเจ้าค่ะ ว่าควรจะฝึกอย่างไรให้รู้เท่าทันสังขารที่เกิดเร็วๆ อย่างนี้เจ้าค่ะ

กราบ กราบ กราบแทบเท้าหลวงตา พ่อแม่ครูอาจารย์ที่เมตตาสั่งสอนเจ้าค่ะ

 

หลวงตา : การพยายามหาวิธีแก้ไขอาการที่ชอบใจ ไม่ชอบใจ ถูกใจ ไม่ถูกใจ นั้น เพราะยังมีเป้าหมายเพื่อผลประโยชน์ของตัวเรา โดยคาดหมายหรือแอบมีความปรารถนาไว้ในใจว่า “ตัวเรา” เมื่อไปดับกริยาอาการทางจิตที่ถูกใจ ไม่ถูกใจ ได้นั้น จะมี “ตัวเรา” โล่ง โปร่ง เบา สบาย เราจะไ้ด้ว่างเปล่า หรือ ใจของเราจะว่าง หรือ เราจะพ้นทุกข์ นิพพาน หรือ เราจะไม่เกลียดทุกข์ รักสุข ดีรัก ชั่วชังอีกต่อไป

จริงๆ แล้วอาการทางใจที่เกิดขึ้นนั้นเป็นปฏิกิริยา ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติของขันธ์ห้า ที่ตอบสนองกับการรับรู้ของอายตนะทั้ง 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อาการเหล่านี้ไม่สามารถดับสนิทหรือดับขาดไปได้ ตราบใดที่ยังมีชีวิตอยู่ ดังนั้นการพยายามหาหนทาง วิธีการต่างๆ เพื่อไปดับ ปรับปรุง แก้ไข ก็คือการที่เรากระโดดติดขบวนรถไฟ เข้าไปเป็นสังขาร นั่นเอง

ที่ถูกต้องนั้น ให้เข้าใจว่าอาการที่รับรู้ได้ ทั้งทางกาย ทางจิต ล้วนเป็นแค่ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติเท่านั้น เหมือนฟ้าแลบ ฟ้าร้อง ฟ้าผ่าที่เกิดขึ้นตามเหตุปัจจัยของมันเอง อาการตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่างๆ เป็นอาการของขันธ์ห้าตามปกติธรรมชาติซึ่งเป็นนิสัย หรืออนุสัยที่ถูกสะสมมา

แม้กระทั่งถ้าสามารถหาวิธีการต่างๆ เพื่อแก้ไข ดัดแปลง ปรุงแต่งอาการที่ไม่ชอบ จนอาการทั้งหมด ซึ่งเรียกว่า “สังขาร” หมดไป หายไป แล้วพบกับสภาวะที่ดี ที่ถูกใจตามที่ต้องการ เช่นโล่ง โปร่ง เบา สบาย ว่างเปล่าก็ตาม ก็ยังไม่สามารถพ้นทุกข์ได้ เพราะการกระทำเช่นนั้นยิ่งทำให้ความ “อยากได้” “อยากเอา” “อยากเป็น” เพิ่มขึ้น หรือไปยึดความโล่ง โปร่ง เบา สบาย ความว่างแทน ก็ยังไม่พ้นหลงยึดถือสังขาร ให้เป็นทุกข์อยู่ดี

ความเข้าใจผิดว่าถ้าสามารถดับ สังขาร ได้หมดแล้วจะกลายเป็น
วิสังขาร แล้วจะพ้นทุกข์ ทำให้หลายคนมีความดิ้นรน พยายามดับสังขารให้หมด ทั้งๆ ที่จริงๆ แล้ว สังขารกับวิสังขารมันก็อยู่ร่วมกัน ที่เดียวกัน เพียงแต่ทำงานเป็นอิสระต่อกัน ไม่มีใครสามารถดับ “สังขาร” ของขันธ์ห้าได้ตราบใดที่ยังมีชีวิตอยู่ได้
แต่ต้อง “เข้าใจถึงใจ” ว่าสังขารและ
วิสังขารมันก็เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตที่เป็นธรรมชาติ โดยไม่มีตัวเราอยู่ในนั้น เพราะไม่เคยมีตัวเรามาตั้งแต่แรก จึงไม่มีใครต้องไปจัดการอะไรกับสังขาร หรือวิสังขาร แค่รู้ เห็น เข้าใจการทำงานของสังขาร กับวิสังขาร โดยไม่มีตัวตนของผู้ยึดถือ เท่านั้นก็เพียงพอที่พ้นทุกข์แล้ว

แค่นี้เอง แค่นี้เอง จริงๆๆๆ..นะ

 

ปุจฉาวิสัชนาธรรมเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2561

 

Tweet
  • Social sharing:
  • Add to Facebook
  • Add to Delicious
  • Digg this
  • Add to StumbleUpon
  • Add to Technorati
  • Add to Reddit
  • Add to MySpace
  • Like this? Tweet it to your followers!

Related items

  • 250307B-4 อวิชชาในผู้รู้
  • 250307B-3 เรียนรู้ในเหตุ เข้าใจในผล
  • 250307B-2 พุทธะ ธรรมะ สังฆะ อยู่ที่ใจ
  • 250307B-1 เมื่อไม่ยึดถือก็ไม่ต้องปล่อยวาง
  • 240914A-5 เงื่อนไขบังธรรมเพราะความเข้าใจผิด
More in this category: « เป็นธาตุรู้ ที่สิ้น “อวิชชา” ทุกชีวิตล้วนไม่เที่ยง »
back to top

Search

ปุจฉาวิสัชนา Archive

  • ปุจฉา-วิสัชนา 2560
    • พฤษภาคม 60
    • มิถุนายน 60
    • กรกฎาคม 60
    • สิงหาคม 60
    • กันยายน 60
    • ตุลาคม 60
    • พฤศจิกายน 60
    • ธันวาคม 60
  • ปุจฉา-วิสัชนา 2561
    • มกราคม 61
    • กุมภาพันธ์ 61
    • มีนาคม 61
    • เมษายน 61
    • พฤษภาคม 61
    • มิถุนายน 61
    • กรกฎาคม 61
    • สิงหาคม 61
    • กันยายน 61
    • ตุลาคม 61
    • พฤศจิกายน 61
    • ธันวาคม 61
  • ปุจฉา-วิสัชนา 2562
    • มกราคม 62
    • กุมภาพันธ์ 62
    • มีนาคม 62
    • เมษายน 62
    • พฤษภาคม 62
    • มิถุนายน 62
    • กรกฎาคม 62
    • สิงหาคม 62
    • กันยายน 62
    • ตุลาคม 62
    • พฤศจิกายน 62
    • ธันวาคม 62
  • ปุจฉา-วิสัชนา 2563
    • มกราคม 63
    • กุมภาพันธ์ 63
    • มีนาคม 63
    • เมษายน 63
    • พฤษภาคม 63
    • มิถุนายน 63
    • กรกฎาคม 63
    • สิงหาคม 63
    • กันยายน 63
    • ตุลาคม 63
    • พฤศจิกายน 63
    • ธันวาคม 63
  • ปุจฉา-วิสัชนา 2564
    • มกราคม 64
    • กุมภาพันธ์ 64
    • มีนาคม 64
    • เมษายน 64
    • พฤษภาคม 64
    • มิถุนายน 64
    • กรกฎาคม 64
    • สิงหาคม 64
    • กันยายน 64
    • ตุลาคม 64
    • พฤศจิกายน 64
    • ธันวาคม 64
  • ปุจฉา-วิสัชนา 2565
    • มกราคม 65
    • กุมภาพันธ์ 65
    • มีนาคม 65
    • เมษายน 65
    • พฤษภาคม 65
    • มิถุนายน 65
    • กรกฎาคม 65
    • สิงหาคม 65
    • กันยายน 65
    • ตุลาคม 65
    • พฤศจิกายน 65
    • ธันวาคม 65
  • ปุจฉา-วิสัชนา 2566
    • มกราคม 66
    • กุมภาพันธ์ 66
    • มีนาคม 66
    • เมษายน 66
    • พฤษภาคม 66
    • มิถุนายน 66
    • กรกฎาคม 66
    • สิงหาคม 66
    • กันยายน 66

5BA01AEA 57EC 462B B6FB 90B6B03148ED

719CBB23 865C 4DF5 A1C8 222F752DCCBB

« May 2025 »
Mon Tue Wed Thu Fri Sat Sun
      1 2 3 4
5 6 7 8 9 10 11
12 13 14 15 16 17 18
19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31  

Facebook

เพจหลวงตาณรงค์ศักดิ์ ขีณาลโย

บทถอนอธิษฐาน

  • บทถอนอธิษฐาน
Copyright © หลวงตาณรงค์ศักดิ์ ขีณาลโย 2025 All rights reserved.
พฤษภาคม 61