พยายามปล่อยวาง... เพื่อให้ไปถึงความปล่อยวาง มันเท่ากับไม่ปล่อยวาง
ใจหรือผู้รู้ไม่เคยปรากฏอะไรเลย มีแต่สิ่งที่ถูกรู้ มีแต่สังขาร มีแต่ธรรมารมณ์ เท่านั้นที่ปรากฏ... เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป
สังขารในขันธ์ห้าธรรมดา ไม่ได้เป็นกิเลสและความทุกข์ใดๆ จะเป็นกิเลสและความทุกข์ในสังขารได้ต่อเมื่อมี "ตัวเรา" เข้าไปเป็นอวิชชา ตัณหา อุปาทานต่อสิ่งนั้น
"เหตุ" ที่จะเกิดอวิชชา ตัณหา อุปาทาน คือ หลงคิดปรุงแต่ง หลงปรุงแต่ง หลงไปกับจิตที่ปรุงแต่งได้ หลงไปยึดถือจิตปรุงแต่งว่าเป็นตัวเรา เป็นตัวตนของเรา หรือเป็นของของเรา
อย่าดิ้นรนแสวงหา "ความไม่ยึดถือ"
มันคือ... ความยึดถือ
คนโง่ชอบหลีกหนีปรากฏการณ์ในใจตน
การปล่อยวางความรู้สึกเป็น "ตัวเรา" คือ "เห็น" ความคิดความรู้สึกว่า "เป็นตัวเรา"... เป็นตัว "สังขาร" เป็น "ตัวปรุงแต่ง"
การที่โลกธาตุภายในและภายนอกจะเงียบ สงบ สงัด ว่างเปล่า เป็นหนึ่งเดียวกัน ไม่แบ่งแยกภายในภายนอก หาขอบเขตไม่ได้ มันก็เกิดจากที่ "ไม่หลงสังขาร"
เมื่อใจถึงความว่าง และความรู้ก็ออกมาจากใจที่ว่างเปล่า จึงเป็นความรู้ที่สิ้นผู้เสวย หรือสิ้นผู้หลงยึดมั่นถือมั่น
ตราบใดที่ยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ห้า ว่าเป็นเรา ตัวเรา หรือ ของเรา ไม่ดับไป อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ ชรา มรณะ และความทุกข์ทั้งมวลก็ไม่ดับ
เพจหลวงตาณรงค์ศักดิ์ ขีณาลโย