หลวงตาณรงศักดิ์ ขีณาลโย

  • หน้าหลัก
  • สื่อธรรมะ
    • หนังสือธรรมะ
    • เสียงธรรม
      • เสียงธรรมรายปี
      • ไฟล์เสียงจัดชุด
    • CD
    • e-Book ปุจฉา-วิสัชนา
  • ปุจฉา-วิสัชนา
  • ภาพธรรม
  • วิดีโอธรรม
  • ธรรมทัศน์
  • ธรรมถึงใจ
  • ธรรมโอวาท
    • โอวาทธรรม
      • โอวาทธรรม 60-61
      • โอวาทธรรม 62
        • โอวาทธรรม ม.ค. - มี.ค. 62
        • โอวาทธรรม เม.ย.- มิ.ย. 62
        • โอวาทธรรม ก.ค. - ก.ย. 62
        • โอวาทธรรม ต.ค. - ธ.ค. 62
      • โอวาทธรรม 63
        • โอวาทธรรม ม.ค. - มี.ค. 63
        • โอวาทธรรม เม.ย. - มิ.ย. 63
        • โอวาทธรรม ก.ค. - ก.ย. 63
        • โอวาทธรรม ต.ค. - ธ.ค. 63
      • โอวาทธรรม 64
        • โอวาทธรรม ม.ค. - มี.ค. 64
      • โอวาทธรรมถึงใจ
    • ปกิณกธรรม
    • ประชาสัมพันธ์สื่อธรรม
    • โอวาทธรรมชุด
  • Other Languages
    • English
    • Deutsch

พ้นความเห็นผิด สิ้นหลง ... "พ้นเหตุเกิด"

 64 dm teaching Q1 10

 

โยม : กราบ ค่ะ ด้วยความซาบซึ้งในข้อธรรมทั้ง 2 อย่างมาก ๆ เลยค่ะ ถึง “ใจ” ตรง ๆ แรง ๆ เลยค่ะหลวงตา

 

“อริยสัจ 4”

 

สมุทัย (เหตุ) = เห็นผิด (มิจฉาทิฏฐิ) คิดว่า "กาย" (รูป) + ((จิต+เจตสิก)นาม) เป็นเรา... เป็นของเรา

 

ทุกข์ (ผล) = เพราะเห็นผิด (อวิชชา/ความหลง/ความไม่รู้) จึงยึด "ความไม่มี" เป็น "ความมี"

 

มรรค (เหตุ) = เห็นถูก (สัมมาทิฏฐิ) เพียรมีสติถอดถอนความเห็นผิดที่ติดมาทั้งหมดทั้งสิ้นใน "รูป และ นาม" เพื่อให้เห็น "สัจธรรม" (ความจริง) เดียวกับพระพุทธองค์ และสาวกของท่าน

 

นิโรธ (ผล) = เพราะเห็นถูก จึงเป็น "สัจธรรม" เดียวกันกับพระพุทธองค์ และสาวกของพระพุทธองค์

 

 

อ่านข้อธรรม "อริยสัจ 4" ที่โยมกล่าวถึง
https://www.facebook.com/2193017997383618/posts/4162826493736082/

~~~~~~~~~~~~~~~

โยม (ต่อ) : ส่วนธรรมหลวงตามหาบัว "มิจฉาสมาธิ" และ "สัมมาสมาธิ"

 

จุดสังเกตง่าย ๆ ของทั้ง 2 ข้อนี้คือ

 

"มิจฉาสมาธิ"

 

จะมีแต่เพิ่มความเป็นตัวเป็นตน (อัตตา) มากขึ้นเพราะคิดว่าการรู้เห็นได้ "ฌาน" นั้นเหนือผู้อื่น เหนือมนุษย์ เป็นพลังอำนาจพิเศษที่มากกว่าใคร ๆ มาครบหมดทั้ง 3 (โทสะ โลภะ โมหะ) แต่ไม่รู้ตัวเพราะเข้าใจว่าเป็นทางที่ถูกต้อง รวมถึงความสงบนิ่งว่างในอำนาจของ
"ฌาน" ใน "สมถะ"

 

จริง ๆ ทาง "วิปัสสนา" ถ้ายึดความรู้... ความเห็น... ความรู้แจ้ง... เป็นเรา เป็นของ ๆ เรา ก็ไม่ต่างกับทางสมถะที่ยึดอำนาจของ "ฌาน" ค่ะ เท่ากับเพิ่ม "อัตตา" ทั้ง 2 กรณี และก็เป็นทาง "โลกียธรรม"

 

***ทุกข์จะมากขึ้นเพราะทุกขั้นตอนที่กระทำ... เพื่อตัวเรา เพื่อสนองความอยากให้เราได้

 

"สัมมาสมาธิ"

 

จุดสังเกต คือ เป็นไปเพื่อถอดถอน... ลดละ... สลัดคืน... ลดละความยึดถือในความมี... ความเป็นตัวตน (รูป/นาม (จิต+เจตสิก)) เป็นไปในทาง "โลกุตรธรรม" ค่ะ

 

***ทุกข์จะน้อยลง เพราะถอดถอนแล้วใน "อสังขตธาตุ" และ "สังขตธาตุ"

 

กราบใน ธรรมของพระพุทธองค์ ครูบาอาจารย์ และ หลวงตาอย่างเป็นที่สุดเลยค่ะ ซาบซึ้งมากที่สุดเลยค่ะ

 

อ่านข้อธรรมองค์หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน ที่โยมกล่าวถึง
https://www.facebook.com/446281542200581/posts/1702043139957742/

 

~~~~~~~~~~~~~~~~

 

หลวงตา : "มิจฉาทิฎฐิ" ความเห็นผิด หรือ วิปลาส 3 คือ

 

สำคัญผิด (สัญญาวิปลาส)
คิดผิด (จิตวิปลาส)
มีความเห็นผิด (ทิฏฐิวิปลาส)

 

ทั้งนี้ เพราะไม่รู้ตามความเป็นจริง (อวิชชา) ว่า.......

 

"สัพเพ สังขารา อนิจจา"
สังขารทั้งปวงรวมขันธ์ห้า... ไม่เที่ยง
"สัพเพ สังขารา ทุกขา"
สังขารทั้งปวงรวมขันธ์ห้า... เป็นทุกข์
"สัพเพ ธัมมา อนัตตา"
ธรรมทั้งปวง ทั้ง "สังขาร" และ "วิสังขาร" เป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวตนคงที่... ไม่ใช่เรา... ไม่ใช่ตัวเรา... ไม่ใช่ของเรา

 

เมื่อเป็น "อวิชชา" จึงหลงยึดมั่นถือมั่น "สังขาร" และ "วิสังขาร" เป็นเรา เป็นตัวเรา เป็นของเรา จึงมีความดิ้นรนทะยานอยาก (ตัณหา) ไปตามความยึดถือ (อุปาทาน) ด้วยรัก "ความพอใจ" เป็นความอยากได้ อยากเอา อยากเป็นนั่น อยากเป็นนี่ หรือ ด้วยความเกลียดชัง "ความไม่พอใจ" เป็นความอยากไม่ให้เป็นอย่างนั้น อยากไม่ให้เป็นอย่างนี้

 

เช่น อยากไม่ให้มีอาการทางกาย หรือ อาการทางใจที่ไม่ถูกใจ หรือ อยากให้มีแต่อาการที่ถูกใจ เช่น อาการโปร่ง โล่ง เบา สบาย ว่างเปล่า

 

อยากไม่ให้มีความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความพลัดพรากจากคนที่รัก สิ่งที่รัก ซึ่งเป็น "สมุทัย" คือ เป็นเหตุให้เกิดทุกข์

 

ถ้ารู้แจ้งในสัจธรรมความจริงว่า... ทั้ง "สังขาร" และ "วิสังขาร" ไม่มีอะไรแม้เพียงสักน้อยหนึ่ง นิดหนึ่ง หรือ ปรมาณูหนึ่งที่เป็นตัวตนคงที่... เป็นเรา... เป็นตัวเรา... เป็นของเรา... จึงไม่อยู่ในบังคับของเรา ก็จะสิ้นหลงยึดมั่นถือมั่น (สิ้นอุปาทาน) สิ้น "ตัณหา" ความดิ้นรนทะยานอยาก ก็จะเป็นมรรค เป็นนิโรธ

 

ดังนั้นความพ้นทุกข์ (นิพพาน) ก็เพราะสิ้นอวิชชา... ตัณหา... อุปาทาน... หรือ

 

"สัพเพ ธัมมา นาลัง อภินิเวสายะ"

 

ธรรมทั้งปวงทั้ง "สังขาร" และ "วิสังขาร" ไม่ควรหลงยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นตัวตนคงที่ เป็นเรา เป็นตัวเรา เป็นของเรา

 

จึงสิ้นเหตุเกิดให้เป็นทุกข์ในชาตินี้ และ ชาติต่อ ๆ ไป

 

หลวงตาณรงค์ศักดิ์ ขีณาลโย
โอวาทธรรมจากปุจฉาวิสัชนา
31 มีนาคม 2564

 

แนะนำสื่อธรรมที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

 

ประชาสัมพันธ์สื่อธรรม : ไฟล์เสียงและสื่อธรรม ชุด ปฏิจจสมุปบาท อริยสัจ ๔ วิญญาณธาตุ วิญญาณขันธ์
http://www.luangtanarongsak.org/home/index.php/2017-10-14-13-20-39/2020-02-06-08-06-17/item/6230-12-dec12-63-dama-info-52

~~~~~~~~~~~~~~~

Tweet
  • Social sharing:
  • Add to Facebook
  • Add to Delicious
  • Digg this
  • Add to StumbleUpon
  • Add to Technorati
  • Add to Reddit
  • Add to MySpace
  • Like this? Tweet it to your followers!

Related items

  • 250307B-4 อวิชชาในผู้รู้
  • 250307B-3 เรียนรู้ในเหตุ เข้าใจในผล
  • 250307B-2 พุทธะ ธรรมะ สังฆะ อยู่ที่ใจ
  • 250307B-1 เมื่อไม่ยึดถือก็ไม่ต้องปล่อยวาง
  • 240914A-5 เงื่อนไขบังธรรมเพราะความเข้าใจผิด
More in this category: « ความแตกต่างระหว่าง "ความว่าง" และ "ธาตุรู้" "ปล่อยวางผู้รู้" ทำอย่างไร »
back to top

Search

5BA01AEA 57EC 462B B6FB 90B6B03148ED

719CBB23 865C 4DF5 A1C8 222F752DCCBB

« May 2025 »
Mon Tue Wed Thu Fri Sat Sun
      1 2 3 4
5 6 7 8 9 10 11
12 13 14 15 16 17 18
19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31  

Facebook

เพจหลวงตาณรงค์ศักดิ์ ขีณาลโย

บทถอนอธิษฐาน

  • บทถอนอธิษฐาน
Copyright © หลวงตาณรงค์ศักดิ์ ขีณาลโย 2025 All rights reserved.
โอวาทธรรม ม.ค. - มี.ค. 64