หลวงตาณรงศักดิ์ ขีณาลโย

  • หน้าหลัก
  • สื่อธรรมะ
    • หนังสือธรรมะ
    • เสียงธรรม
      • เสียงธรรมรายปี
      • ไฟล์เสียงจัดชุด
    • CD
    • e-Book ปุจฉา-วิสัชนา
  • ปุจฉา-วิสัชนา
  • ภาพธรรม
  • วิดีโอธรรม
  • ธรรมทัศน์
  • ธรรมถึงใจ
  • ธรรมโอวาท
    • โอวาทธรรม
      • โอวาทธรรม 60-61
      • โอวาทธรรม 62
        • โอวาทธรรม ม.ค. - มี.ค. 62
        • โอวาทธรรม เม.ย.- มิ.ย. 62
        • โอวาทธรรม ก.ค. - ก.ย. 62
        • โอวาทธรรม ต.ค. - ธ.ค. 62
      • โอวาทธรรม 63
        • โอวาทธรรม ม.ค. - มี.ค. 63
        • โอวาทธรรม เม.ย. - มิ.ย. 63
        • โอวาทธรรม ก.ค. - ก.ย. 63
        • โอวาทธรรม ต.ค. - ธ.ค. 63
      • โอวาทธรรม 64
        • โอวาทธรรม ม.ค. - มี.ค. 64
      • โอวาทธรรมถึงใจ
    • ปกิณกธรรม
    • ประชาสัมพันธ์สื่อธรรม
    • โอวาทธรรมชุด
  • Other Languages
    • English
    • Deutsch

วิญญาณธาตุ กับ วิญญาณขันธ์ ตอนที่ 3 ใจย่อมรู้แจ้งแก่ใจ

 โอวาทธรรม 63 Q1 46

 

โยม 2 : หลวงตาคะ... ธาตุรู้ นอกจากรู้ว่าสังขารไม่ใช่มัน ตัวมันไม่ใช่สังขาร มันรู้อย่างอื่นอีกมั้ยคะ?

 

หลวงตา : มันไม่ไปรู้ตามทวารก็แล้วกัน ไม่ไปรู้รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์

 

แต่มันรู้เบ็ดเสร็จสรุปไปในขณะจิตเดียวเลยว่า... นี่สังขาร... นี่ใจที่ไม่สังขาร... สังขารไม่ใช่ใจที่ไม่สังขาร แล้วก็มันไม่มีคนยึดทั้งสังขาร ไม่มีคนยึดทั้งวิสังขาร แต่ความรู้ เวลามันรู้เบ็ดเสร็จก็คือว่า... มันไม่ยึดอะไร มันสรุปจบไปเลย คือ ทุกปัจจุบันขณะไม่ยึดอะไร

 

แล้วมันก็รู้แจ้งแก่ใจว่าความไม่ยึดอะไรเนี่ย อันเนี้ยภพชาติใหม่ไม่มี เพราะว่าที่จะไปเกิดได้ มันต้องเป็นสังขารเท่านั้น... ต้องมีผู้ยึดเท่านั้น ถ้าไม่มีผู้ยึด การเกิดใหม่การเวียนว่ายตายเกิดอีกไม่มี มันก็จบลงแค่นี้

 

แล้วก็ขันธ์ห้าที่สังขารได้ ขันธ์ห้าแม้แต่สังขารรู้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มันก็จะดับลง อย่าว่าแต่สังขารที่กระดุกกระดิกนะ "สังขารที่ไปรู้" ทุกปัจจุบันขณะทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็ต้องดับลงหมด และการรับรู้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็จะดับลง

 

เพราะว่าอะไร? ตาก็เน่า หูก็เน่า จมูกก็เน่า ลิ้นก็เน่า กายก็เน่า แล้วก็ประตูใจก็เน่าหมด เพราะฉะนั้นการรับรู้ไม่มีประตูผ่านแล้ว เน่าหมด ดับหมด เพราะการรับรู้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็ดับหมด

 

แต่สิ่งที่รู้แจ้งแก่ใจว่า... ไม่มีผู้ยึดถืออะไรเลย ไม่มีผู้ยึดถืออะไรสักอย่างเดียว ไม่มีตัวตนของผู้ไปเอาอะไร ไม่มีตัวตนของผู้ที่จะไปเป็นอะไร แล้วก็ไม่มีความรู้สึกว่าเราเนี่ยได้อะไร เราถึงอะไร หรือเราสูญเสียอะไร เราไม่ได้อะไร เราไม่เป็นอะไร

 

มันรู้แก่ใจว่าไม่ยึดอะไรสักอย่างหนึ่ง... ไม่เป็นอะไรสักอย่างหนึ่ง... ไม่ได้อะไรสักอย่าง... แล้วก็ไม่ได้สูญเสียอะไรสักอย่าง คือมันรู้แก่ใจว่าไม่ยึดอะไรเลย

 

โยม 2 : ถ้างั้นก็แสดงว่าความรู้มันก็ไม่ใช่ความรู้เดียวสิคะ คือหนูกำลังงงว่า... เมื่อกี๊หลวงตาบอกว่า "วิสังขาร" เนี่ยตัวมันน่ะรู้ว่ามันยึดหรือไม่ยึดสังขาร แล้วพี่เค้าก็บอกว่าตัวมันน่ะรู้ว่า สังขารไม่ใช่มัน มันไม่ใช่เรา

 

มันก็เหมือนเป็นอีกอันหนึ่ง คือมันเหมือนกับมันไม่ใช่ความรู้แค่ว่ายึด หรือไม่ยึด

 

หลวงตา : มันจะยึดหรือไม่ยึด มันก็ต้องรู้ว่าอะไรเป็นสังขาร อะไรไม่สังขาร มันถึงไม่ยึดไง

 

มันไม่ใช่ว่า... ไม่ยึด รู้เอ๋อ!... รู้เอ๋อเฉย ๆ ไว้อย่างเนี้ย ไม่ยึด เพราะมันเข้าใจเบ็ดเสร็จ เหมือนกับโยมนี่รู้จักหลวงตา คือขันธ์ห้าทำงานรู้จักหลวงตา แต่โยมไม่ยึดหลวงตา โยมก็รู้แก่ใจว่าไม่ยึดหลวงตา แต่มันไม่ต้องคิดเป็นสเต็ป (step) ยาวแบบนี้ คือมันรู้เบ็ดเสร็จไปจากใจเลย รู้อะไรก็ไม่ยึดเลยในทุกปัจจุบันขณะ

 

โยม 2 : แล้วอย่างนี้ความรู้ที่มันงอกมาทีหลังว่าตอนนี้มันไม่ยึดอะไรอีกแล้วเนี่ยค่ะ คือหนูรู้ว่ามันเป็นความรู้เดียวกัน แต่ว่าเหมือนคอนเทนต์ (content) ที่อยู่ในธาตุรู้เนี่ย มันแตกอะไรออกไปได้บ้าง?

 

หลวงตา : มันแตกได้ยังไง “มันไม่เกิดไม่ดับ” มันไม่สังขาร มันไม่มีอะไรเลย

 

โยม 2 : หมายถึงว่า คือมันเหมือนไม่ใช่แค่รู้ว่ายึดหรือไม่ยึด แต่ว่าในขณะที่มันรู้ว่ายึดหรือไม่ยึดเนี่ย มันก็รู้ว่ามันไม่ยึดเพราะอะไร แล้วก็ขณะเดียวกันมันก็รู้ว่า พอมันไม่ยึดแล้ว ก็รู้ว่าชาตินี้สิ้นยึดแล้ว

 

คือหนูอยากรู้ว่ามันคือสิ่งเดียวกัน?

 

หลวงตา : มันคือสิ่งเดียวกัน คือเหตุและผลมันจบอยู่ในขณะจิตเดียวกัน

 

~~~~~~~~~~~~~~~

 

โยม 3 : อย่างนี้มันก็ไม่เป็น "แค่รู้" สิคะหลวงตา ถ้าหลวงตาบอกว่ามันจะรู้ว่ามันไม่ยึดอยู่แล้วอย่างนี้ มันก็ไม่ใช่แค่รู้ซื่อ ๆ สิคะ คือหลวงตาบอกว่าโยมเค้ารู้ว่านี่คือหลวงตา แล้วก็รู้อยู่ในตัวเลยว่าไม่ยึดหลวงตา อันนี้มันไม่ซื่อแล้ว มันไม่แค่รู้เฉย ๆ แล้ว

 

หลวงตา : รู้เฉย ๆ ของโยมคือยังไง? เดี๋ยว ๆ ๆ ตรงนี้สำคัญมากเลย!!... ถ้ารู้เฉย ๆ?

 

โยม 3 : ค่ะ ก็คือรู้ว่าหลวงตา ก็แค่นั้นเอง

 

หลวงตา : อ้าว… ก็รู้ว่าหลวงตา มันก็ต้องรู้ด้วยว่าไม่ยึดหลวงตา

 

โยม 3 : อันนี้มันไม่ได้ปรุงไปแล้วเหรอคะหลวงตา อันนี้มันไม่มีการปรุงไปแล้วเหรอคะ?

 

หลวงตา : มันก็รู้ตัวที่มันไม่ยึดอะไรมันก็ "รู้แก่ใจ " จะปรุงยังไง?

 

มันก็รู้แก่ใจไปเลยว่าไม่ยึดอะไร ไม่ใช่ว่าเราไม่ยึดอะไร แต่มัน "ได้แต่รู้" ได้แต่รู้ ๆ

 

โยม 3 : อย่างนี้เปรียบเทียบอันอื่น สมมุติว่าเค้านึกถึงลูกแต่เค้าก็รู้ว่าลูก

 

หลวงตา : ที่รู้ว่านี่ลูกคือ "ขันธ์ห้า"

 

โยม 3 : เค้าก็ต้องนึกแล้วว่าลูกคนนี้ฉันห่วง ลูกคนนี้ฉันไม่ห่วง

 

หลวงตา : อ่อ อันนี้ คือขันธ์ห้ามันปรุง

 

โยม 3 : แต่มันก็รู้ไปในตัว ว่ามันรู้ว่าขันธ์ห้าปรุง

 

หลวงตา : อ้าว... มันก็รู้สิ ขันธ์ห้ามันก็รู้ตัวมันเอง ปรุงอะไรมันก็รู้ตัวมันเอง สติ สมาธิ ปัญญา มันก็รู้จักตัวมันเอง แต่ใจมันรู้แต่เพียงว่าไม่ได้ยึด... ไม่ได้ยึดสิ่งที่ปรุง หรือยึดผู้ที่ปรุง

 

แต่เวลาปรุงอะไรรู้เรื่องว่าอะไรเนี่ย มันคือธรรมชาติของขันธ์ห้า มันต้องรู้เรื่องที่คิดที่ปรุง ที่รู้ที่เห็น มันเป็นเรื่องธรรมชาติของขันธ์ห้า ก็คือว่าเจตสิกมันประกอบรู้

 

เพราะฉะนั้นมันจะรู้เอ๋อ! ไม่ได้หรอก มันเลยต้องรู้ว่าอะไรเป็นอะไร นี่คือเจตสิกมันประกอบ นี่คือกระบวนการทำงานของขันธ์ห้า คือขันธ์ทั้งหมดเลย แต่ใจมันรู้ได้อย่างเดียว... ว่ายึดหรือไม่ยึด

 

โยม 3 : หลวงตาพูดว่าใจมันรู้อย่างเดียวว่ามันยึดหรือไม่ยึด แต่ใจมัน "แค่รู้" ไม่ใช่เหรอคะ?



หลวงตา : ก็แค่รู้ ก็มันรู้ว่าไม่ยึดไง "ถ้ายึด" ใจมันก็บวกอวิชชา คือ "ยึด" มันก็มีตัวสังขารก็คือขันธ์ห้า หรือว่าอายตนะภายนอก "บวกเรา"

 

ทีนี้ถ้ารู้ขันธ์ห้าหรืออายตนะภายนอก... ไม่บวกเรา ใจมันก็รู้ว่าอายตนะภายนอก อายตนะภายในไม่บวกเรา แล้วอะไรจะรู้ล่ะก็ต้อง "ใจ" น่ะรู้

 

โยม 3 : แล้วมันจะรู้แค่ยึดกับไม่ยึดเหรอคะ ใจน่ะค่ะ?

 

หลวงตา : ก็ไม่บวกเราก็คือไม่ยึด

 

โยม 3 : อันนี้คือเราตั้งค่าของเราเอง ว่ายึดหรือไม่ยึด?

 

หลวงตา : เดี๋ยว ๆ ๆ เราจะตั้งค่าได้ยังไงล่ะ?

 

โยม 3 : อย่างหนูเห็นน้ำเนี่ย ก็เห็นน้ำ ไม่ยึดก็รู้อยู่แล้วว่าไม่ยึดน้ำ แต่ทีนี้กลับกลายเป็นว่าสมมุติว่าเห็นลูกก็รู้ทันทีเลยว่าเห็นลูกแล้วต้องยึดลูก... อย่างนี้เหรอคะ?

 

หลวงตา : เธอยึดลูกมั้ยล่ะ? เธอเห็นลูกปุ๊บเธอยึดลูกหรือไม่ยึดลูก ถ้ายึด... เธอก็ต้องทุกข์เองแหละไม่ยึดมันก็ไม่ทุกข์

 

โยม 3 : ก็คือยึดก็รู้ว่ายึด

 

หลวงตา : ยึดมันก็รู้ว่าทุกข์เองไง พอเรายึดมันก็รู้เองว่ายึด ไม่ยึดก็รู้ว่าไม่ยึด งั้นเวลายึดเนี่ยมันก็รู้อยู่ว่า ลูกแล้วก็ "บวกเรา ของเรา... บวกทุกข์" อย่างเนี้ย มันก็มีอาการไปเรื่อย ๆ ๆ

 

แล้วไอ้ตัววิญญาณขันธ์มันก็ไปรู้ต่อไป... ลูกบวกเรา เราทุกข์ เราอะไรก็ต่อไปเรื่อยยาวไป ก็ทุกข์ไปก็ทุกข์เลย อันนี้ก็คือทุกข์จมไปกับสิ่งนั้น...ไม่รู้แล้ว

 

แต่ถ้ามันบริสุทธิ์แล้ว มันไม่มีอวิชชา มันก็คือลูก ก็ลูกน่ะ คุยกับลูกแต่ใจไม่ทุกข์ไม่ไปยึดลูก แค่นั้นแหละ มันรู้อย่างเดียวว่า "สิ้นยึด"

 

~~~~~~~~~~~~~~~

 

โยม 1 : มันเหมือนอย่างนี้มั้ยครับหลวงตา มันเหมือนละไว้ในฐานที่เข้าใจว่ามันยึดไม่ได้ อย่างนั้นหรือเปล่า?

 

หลวงตา : มันไม่ยึดก็เพราะว่ามันยึดไม่ได้ มันก็คือละไว้ในฐานที่เข้าใจ ก็คือว่ามันเหตุผลเดียว "อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา" ไม่ใช่เป็นเราเป็นตัวเรา เป็นตัวตนของเราจริง ๆ

 

คือต้องอันนี้อันเดียวที่จะสิ้นยึด "อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา" คือมันละไว้ในใจ มันละไว้ในฐานที่เข้าใจ แต่พอใจมันสิ้นยึด มันไม่พูดถึงอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เพราะว่าอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา... มันยังไม่ใช่ใจที่สิ้นยึด

 

เพราะว่า "อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา" พ่อแม่ครูอาจารย์หลวงตามหาบัว ว่ามันเป็นบันไดสามขั้น แต่สิ้นยึดเนี่ยมันคือชานเรือน พอถึงชานเรือนแล้ว มันไม่พูดถึงบันไดสามขั้น แต่มันจะถึงชานเรือนได้มันต้องผ่านบันไดสามขั้นที่ใจ

 

แต่คล้าย ๆ ว่ามันรวดเดียว คือไม่ต้องช้า ๆ ทีละสเต็ป (step) บันไดขั้นที่หนึ่ง... "อนิจจัง" บันไดขั้นที่สอง... "ทุกขัง" บันไดขั้นที่สาม... "อนัตตา"

 

มันก็พรวด... มันก็ถึงชานเรือนเลย แต่มันจะถึงชานเรือนได้มันต้องผ่านบันไดสามขั้น แต่มันไม่ใช่มันช้า ๆ ทีละขั้น

 

พ่อแม่ครูอาจารย์หลวงปู่ชา ท่านก็บอกว่าเหมือนทุกข์เนี่ย มันก็ไม่ได้ว่าตกมาทีละขั้นว่ายึดต้องเป็นทุกข์อะไรอย่างนี้ ไม่ได้ตกทีละขั้น

 

"ปฏิจจสมุปบาท" ไม่ใช่ทีละตัวสิบสองตัว ท่านบอกว่าเราตกต้นไม้ก็ถึงโคนเลย

 

หลวงตาณรงค์ศักดิ์ ขีณาลโย
โอวาทธรรมจากไฟล์เสียง
200309A-1 วิญญาณธาตุกับวิญญาณขันธ์ ตอนที่ 1
9 มีนาคม 2563

 

ฟังจากยูทูป :
https://youtu.be/C9Mgt6755dM

 

~~~~~~~~~~~~~~~

 

Tweet
  • Social sharing:
  • Add to Facebook
  • Add to Delicious
  • Digg this
  • Add to StumbleUpon
  • Add to Technorati
  • Add to Reddit
  • Add to MySpace
  • Like this? Tweet it to your followers!

Related items

  • 250307B-4 อวิชชาในผู้รู้
  • 250307B-3 เรียนรู้ในเหตุ เข้าใจในผล
  • 250307B-2 พุทธะ ธรรมะ สังฆะ อยู่ที่ใจ
  • 250307B-1 เมื่อไม่ยึดถือก็ไม่ต้องปล่อยวาง
  • 240914A-5 เงื่อนไขบังธรรมเพราะความเข้าใจผิด
More in this category: « วิญญาณธาตุ กับ วิญญาณขันธ์ ตอนที่ 2 "ใจ" รู้อะไร วิญญาณธาตุ กับ วิญญาณขันธ์ ตอนที่ 4 กายบังจิตขันธ์บังธรรม »
back to top

Search

โอวาทธรรม Archive

  • โอวาทธรรม 60-61
  • โอวาทธรรม 62
    • ม.ค. - มี.ค. 62
    • เม.ย. - มิ.ย. 62
    • ก.ค. - ก.ย. 62
    • ต.ค. - ธ.ค. 62
  • โอวาทธรรม 63
    • ม.ค. - มี.ค. 63
    • เม.ย - มิ.ย. 63
    • ก.ค. - ก.ย. 63
    • ต.ค. - ธ.ค. 63
  • โอวาทธรรม 64
    • ม.ค. - มิ.ย. 64
  • โอวาทธรรมถึงใจ
  • ประชาสัมพันธ์สื่อธรรม
  • โอวาทธรรมชุด

5BA01AEA 57EC 462B B6FB 90B6B03148ED

719CBB23 865C 4DF5 A1C8 222F752DCCBB

« May 2025 »
Mon Tue Wed Thu Fri Sat Sun
      1 2 3 4
5 6 7 8 9 10 11
12 13 14 15 16 17 18
19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31  

Facebook

เพจหลวงตาณรงค์ศักดิ์ ขีณาลโย

บทถอนอธิษฐาน

  • บทถอนอธิษฐาน
Copyright © หลวงตาณรงค์ศักดิ์ ขีณาลโย 2025 All rights reserved.
โอวาทธรรม ม.ค. - มี.ค. 63