เท่าที่หลวงตาประมวลสรุปได้ มีกิริยาอยู่ 4 ตัวนี้ แทบจะไม่หลุดไปจากกิริยาอาการแบบนี้ คือ มีเจตนา, มีความจงใจ, มีความตั้งใจ, มีความพยายาม ที่จะเข้าไปดู รู้ ละ ปล่อย วาง เพื่ออะไร...ให้เป็นอะไร ตัวนี้จะเป็นความปรุงแต่ง เป็นอวิชชา มีความหลงปรุงแต่ง
แต่ถ้าไม่มีเจตนา, ไม่มีความจงใจ, ไม่มีความตั้งใจ, ไม่มีความพยายาม 4 ตัวนี้ และมัน “เป็นรู้” ที่รู้ขึ้นมาเอง อันนั้นแหละคือ “ธรรมแท้” คือ ธรรมแท้ ๆ คือ ใจแท้ ๆ
ผู้ใด “พบใจ” ที่เป็นธรรมแท้ ๆ นั่นแหละเรียกว่า “พบธรรม” ถ้า “ถึงใจ” ที่เป็นรู้แท้ ๆ ที่ไม่ใช่ “รู้ที่เกิดจากเจตนา - จงใจ - ตั้งใจ - พยายาม” ก็จะ “ถึงธรรม... ถึงพระนิพพาน”
เพียรสังเกต ไม่ใช่เพียรไปทำ
ถ้าเพียรไป “ทำ” มันจะเป็นเจตนา จงใจ ตั้งใจ พยายาม เพียรสังเกตเห็น จนกระทั่ง “พบรู้” ที่มันรู้ขึ้นมาเอง มันไม่มีเจตนารู้ จงใจรู้ พยายามรู้ ตั้งใจที่จะรู้
ถ้า “รู้” ขึ้นมาเอง โดยที่ไม่มีกิริยาอาการ 4 อย่างนี้ เจตนา จงใจ ตั้งใจ พยายามที่จะไปดู ไปรู้ ไปเห็น ไปละ ไปปล่อย ไปวางเพื่ออะไร มันจะเป็นความรู้ที่เป็นธรรมชาติแท้ ๆ ที่ “มันรู้ขึ้นมาเอง”
นั่นแหละคือ “ธรรมแท้” คือ “ใจแท้” คือ “ธาตรู้แท้ ๆ” คือ ธรรมที่สิ้นความปรุงแต่ง สิ้นการเวียนว่ายตายเกิด พ้นทุกข์แท้ ๆ ก็ตรงนั้นแหละ
หลวงตาณรงค์ศักดิ์ ขีณาลโย
โอวาทธรรมจากไฟล์เสียง
190119A-4 อยู่กับธรรม กินกับธรรม ตายกับธรรม
19 มกราคม 2562
ฟังจากยูทูป :
https://youtu.be/N87jvFoEfpI
ฟังจากระบบซาวด์คลาวด์ :
https://soundcloud.com/luangtanarongsak/190119a-4
ดาวน์โหลด (คอมพิวเตอร์) :
http://bit.ly/2B7mclp