หลวงตาณรงศักดิ์ ขีณาลโย

  • หน้าหลัก
  • สื่อธรรมะ
    • หนังสือธรรมะ
    • เสียงธรรม
      • เสียงธรรมรายปี
      • ไฟล์เสียงจัดชุด
    • CD
    • e-Book ปุจฉา-วิสัชนา
  • ปุจฉา-วิสัชนา
  • ภาพธรรม
  • วิดีโอธรรม
  • ธรรมทัศน์
  • ธรรมถึงใจ
  • ธรรมโอวาท
    • โอวาทธรรม
      • โอวาทธรรม 60-61
      • โอวาทธรรม 62
        • โอวาทธรรม ม.ค. - มี.ค. 62
        • โอวาทธรรม เม.ย.- มิ.ย. 62
        • โอวาทธรรม ก.ค. - ก.ย. 62
        • โอวาทธรรม ต.ค. - ธ.ค. 62
      • โอวาทธรรม 63
        • โอวาทธรรม ม.ค. - มี.ค. 63
        • โอวาทธรรม เม.ย. - มิ.ย. 63
        • โอวาทธรรม ก.ค. - ก.ย. 63
        • โอวาทธรรม ต.ค. - ธ.ค. 63
      • โอวาทธรรม 64
        • โอวาทธรรม ม.ค. - มี.ค. 64
      • โอวาทธรรมถึงใจ
    • ปกิณกธรรม
    • ประชาสัมพันธ์สื่อธรรม
    • โอวาทธรรมชุด
  • Other Languages
    • English
    • Deutsch

ธาตุรู้คือปัญญาวิมุตติ

 โอวาทธรรม Q4 2562 66 1

 

โอวาทธรรม Q4 2562 66 2

 

ต้องตั้งสมมุติฐานไว้เลยว่า... ผู้รู้ปัจจุบันขณะบ่นทุกตัว!!!

 

รู้ทางตา รู้ทางหู รู้ทางจมูก รู้ทางลิ้น รู้ทางกาย รู้ทางใจ

 

ผู้รู้ปัจจุบันขณะทุกตัว... บ่นทุกตัว แต่ “รู้แก่ใจ” ว่าจะบ่นยังไงก็ไม่มีใครไปยึดถือมันก็แล้วกัน

 

แต่ไม่ใช่ว่าผู้รู้ปัจจุบันขณะทุกตัว บ่นทุกตัว แล้วเมื่อไหร่เราจะเป็น “ผู้รู้ตัวจริง” ที่ไม่บ่นซะที เนี่ย... มันก็จะเป็นแบบเนี้ย สอนไปสอนมาก็วนอยู่ตรงนี้แหละ

 

เมื่อไหร่เราจะเป็นผู้รู้ตัวจริงที่ไม่บ่นซะทีล่ะ บอกว่า... ไม่มี!!!

 

ผู้รู้ทุกตัวบ่นทุกตัว แต่มันมี “ความรู้แก่ใจ” ว่า ผู้รู้ปัจจุบันมันบ่นทุกตัว แต่ไม่มีใครยึดถือมันก็แล้วกัน

 

แต่เขาเข้าใจผิดว่าผู้รู้ตัวจริงไปทำหน้าที่เหมือนผู้รู้ตัวปลอม ตรงนี้สำคัญมากนะ ที่เราสังเกตเห็นคนที่เข้าใจผิด

 

ความเข้าใจผิดกับความเข้าใจถูกนี่มันต่างกันราวฟ้ากับดิน คือเขาคิดว่าหน้าที่ของผู้รู้ตัวปลอมกับผู้รู้ตัวจริงน่ะทำหน้าที่เหมือนกัน เช่น ไปรู้รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ จิตที่ไปรู้ทุกปัจจุบันขณะบ่นทุกตัว พูดทุกตัว พากษ์ทุกตัว

 

มันใช้ชื่อคำว่า “ผู้รู้” เหมือนกัน แต่มันเป็นผู้รู้ตัวจริง กับ ผู้รู้ตัวปลอม ทีนี้เขาก็พยายามไปหาผู้รู้ตัวจริงที่มันไปทำหน้าที่เหมือนรู้อายตนะเหมือนกัน แต่ “รู้แบบไม่บ่น”!!!

 

แต่ความจริงที่รู้อายตนะ (รู้รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์) มันเป็นผู้รู้ที่เป็น “วิญญาณขันธ์” มันเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จึงเรียกว่า “ผู้รู้ตัวปลอม”

 

แต่ “ผู้รู้ตัวจริง” ไม่ได้ทำหน้าที่รู้อายตนะ แต่เขาเข้าใจผิด เขาจะให้ไปทำหน้าที่รู้อายตนะแต่ให้มันไม่บ่น มันก็เลยเอ๋อ!!!

 

รู้ตัวจริงคือ “ความรู้แจ้งจากใจ” ว่า... มันยึดถืออะไรไม่ได้ ไม่มีอะไรที่ยึดถือได้ สัพเพ ธัมมา นาลัง อภินิเวสายะ ทั้งตัวจริงตัวปลอม ยึดถืออะไรไม่ได้เลย ไม่มีอะไรยึดถือได้ มันไม่ได้ทำหน้าที่รู้อายตนะ แต่ทำหน้าที่ “รู้แจ้ง”

 

ผู้รู้ตัวจริง คือ “ปัญญาวิมุตติ”
ไม่ใช่วิญญาณขันธ์ที่ไปรู้อายตนะ

 

ทีนี้เวลาเขาปฏิบัติแล้วไม่เข้าใจตรงนี้ เขาไปทำผู้รู้ตัวจริงไม่ใช่ปัญญาวิมุตติซะแล้ว เขาไปปฏิบัติว่า... ถ้าเมื่อไหร่เรารู้แล้วไม่ปรุงแต่ง มันจะเป็นผู้รู้ตัวจริง ถ้ารู้แล้วปรุงแต่งจะเป็นผู้รู้ตัวปลอม มันก็ทำหน้าที่เดียวกับรู้อายตนะเลย อันนี้ไปซ้อนกันเลย

 

พอไปซ้อนกันแล้วก็กลายเป็นว่ารู้อายตนะ แล้วพยายามจะรู้ให้มันไม่ปรุงแต่ง แต่มันทำไม่ได้ เพราะว่าอะไร? เพราะว่า “รู้อายตนะ” มันเป็น “วิญญาณขันธ์”

 

วิญญาณขันธ์ทุกตัวเวลาไปรู้ มันต้องมีเจตสิกเข้าผสม มันต้องปรุงแต่ง มันจึงไม่สามารถจะเอารู้ตัวจริงมารู้อายตนะได้

 

เมื่อสมัยก่อนเราก็แยกไม่ออกระหว่างธรรมชาติที่เป็นรู้ตัวจริง มันเป็นยังไงของมัน คือชื่อมันก็ผู้รู้เหมือนกัน ผู้รู้ตัวปลอมกับผู้รู้ตัวจริง แล้วมันทำหน้าที่ซ้อนกันอย่างไรในขันธ์ห้า ขันธ์ห้าก็มีรู้ (วิญญาณขันธ์) แล้วในขันธ์ห้าก็มีรู้ (ธาตุรู้) อีก เอ๊ะ.. แล้วมันรู้ยังไง? แล้วรู้จริงเนี่ย มันก็รู้อยู่ในขันธ์ห้าด้วย คือเป็นธาตุรู้อยู่ในขันธ์ห้า มันผสมกับธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ

 

แต่พอผสมแล้วมันเป็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไอ้วิญญาณก็ทำหน้าที่รู้อีก เอ๊ะ.. แล้วทำไมมันรู้ซ้อนกันหว่า? เมื่อก่อนเราก็งงอยู่พักหนึ่งนะ

 

ธาตุรู้มันก็รู้ แล้วทำไมธาตุรู้มันมารวมกับธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ เกิดเป็นขันธ์ห้า ธาตุรู้มันก็ยังอยู่ ไอ้ดินน้ำลมไฟก็ยังอยู่ แล้วมันทำหน้าที่รู้ตอนไหน?

 

แล้วพอมารวมเป็นขันธ์ห้า ก็มี “วิญญาณขันธ์” ทำหน้าที่รู้ทางอายตนะ (คือตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) เวลามันรู้อะไรมันจะต้องปรุงแต่ง เพราะว่ามี “เจตสิก” เข้าผสม

 

แล้ว “ธาตุรู้” ที่มันเป็นรู้ธรรมชาติ รู้แท้ แต่มันอยู่ในขันธ์ห้า แล้วมันทำหน้าที่รู้ยังไง? มันทำหน้าที่รู้ตอนไหน? มันทำหน้าที่รู้ซ้อนรู้กับขันธ์ห้าหรือไงหว่า? จริง ๆ ไม่ใช่เลย มันคนละเรื่องเลยด้วยความไม่เข้าใจเนี่ย

 

“ธาตุรู้” เป็น “ปัญญาวิมุตติ” คือ ทำหน้าที่ “รู้แจ้ง” อย่างเดียว

 

คือรู้ว่า... ยึดอะไรไม่ได้โดยธรรมชาติของมัน เรียกว่า “รู้แจ้ง” มันทำหน้าที่ “รู้ที่ยึดอะไรไม่ได้สักอย่าง”

 

มันทำหน้าที่รู้แจ้งว่ามันรู้จักตัวมันเอง แล้วมันก็รู้ว่าอย่างอื่นไม่ใช่ตัวมันเอง มันยึดอะไรไม่ได้ มันเป็นความไม่มีตัวตน

 

ธาตุรู้มันรู้แค่.. “รู้จักตัวมันเอง” กับรู้ว่า “สังขาร” ทั้งหมด และ “วิสังขาร” ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา มันมีแต่ความรู้ เรียกว่า “รู้สัจธรรม”

 

“ธาตุรู้ คือ รู้สัจธรรม”
แต่ “วิญญาณขันธ์” มันรู้ตามอายตนะ

 

ทีนี้เมื่อเขาไม่เข้าใจ แยกไม่ออก เขากะว่าจะพบผู้รู้ตัวจริงให้ได้ เขาเลยเอาวิญญาณขันธ์ไปรู้อายตนะ แล้วทำเอ๋อ ให้มันไม่ปรุงแต่ง ไปทำให้รู้เอ๋อ ไม่ปรุงแต่ง มันจะได้เป็นผู้รู้ตัวจริง อันนี้มันก็ซื่อบื้อไปเลย

 

พวกที่เขาไปเรียนติดตำรา เขาก็สอนแบบนี้ว่า... วิญญาณธาตุ (ปฏิสนธิวิญญาณ หรือ วิญญาณที่ลอยมาเกิด) เมื่อมันมารวมกับดิน น้ำ ลม ไฟ แล้ววิญญาณนี้ก็ดับไป เหลือแต่ขันธ์ห้า เวลาปฏิบัติก็ปฏิบัติที่แค่ขันธ์ห้า คือให้ขันธ์ห้าเวลารู้อะไรแล้วไม่ให้รู้เป็นรูปร่าง คือไม่ให้รู้ว่าเป็นหญิง เป็นชาย เป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นตัวตน เป็นเราเขา เขาแปลเอาว่าไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา

 

ฉะนั้นรู้อะไรไม่ให้เป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา รู้รถ ไม่ให้รู้ยี่ห้อ รู้อะไรก็ให้รู้เป็นโครงสร้าง แล้วจะนิพพาน เขาสอนกันแบบนี้นะ มันก็เลยสะกดจิตอย่างหนัก รู้อะไรให้รู้เป็นโครงสร้าง ไม่ให้รู้เป็นหญิงเป็นชาย ไม่ให้รู้ว่าอะไรเป็นอะไร ไม่ให้เอาสมมุติมาปน ให้รู้เป็นวิมุตติอย่างเดียว

อย่างนี้ไม่ใช่รู้แจ้งสัจธรรมความจริงตามความเป็นจริง

 

หลวงตาณรงค์ศักดิ์ ขีณาลโย
โอวาทธรรมจากสนทนาธรรมกับคณะศิษย์
ณ พุทธธรรมสถานปัญจคีรี
วันที่ 31 ธันวาคม 2562

 

~~~~~~~~~~~~~~~

 

Tweet
  • Social sharing:
  • Add to Facebook
  • Add to Delicious
  • Digg this
  • Add to StumbleUpon
  • Add to Technorati
  • Add to Reddit
  • Add to MySpace
  • Like this? Tweet it to your followers!

Related items

  • 250307B-4 อวิชชาในผู้รู้
  • 250307B-3 เรียนรู้ในเหตุ เข้าใจในผล
  • 250307B-2 พุทธะ ธรรมะ สังฆะ อยู่ที่ใจ
  • 250307B-1 เมื่อไม่ยึดถือก็ไม่ต้องปล่อยวาง
  • 240914A-5 เงื่อนไขบังธรรมเพราะความเข้าใจผิด
More in this category: « เสียงเงียบของใจ ชีวิตนี้น้อยนัก »
back to top

Search

โอวาทธรรม Archive

  • โอวาทธรรม 60-61
  • โอวาทธรรม 62
    • ม.ค. - มี.ค. 62
    • เม.ย. - มิ.ย. 62
    • ก.ค. - ก.ย. 62
    • ต.ค. - ธ.ค. 62
  • โอวาทธรรม 63
    • ม.ค. - มี.ค. 63
    • เม.ย - มิ.ย. 63
    • ก.ค. - ก.ย. 63
    • ต.ค. - ธ.ค. 63
  • โอวาทธรรม 64
    • ม.ค. - มิ.ย. 64
  • โอวาทธรรมถึงใจ
  • ประชาสัมพันธ์สื่อธรรม
  • โอวาทธรรมชุด

5BA01AEA 57EC 462B B6FB 90B6B03148ED

719CBB23 865C 4DF5 A1C8 222F752DCCBB

« May 2025 »
Mon Tue Wed Thu Fri Sat Sun
      1 2 3 4
5 6 7 8 9 10 11
12 13 14 15 16 17 18
19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31  

Facebook

เพจหลวงตาณรงค์ศักดิ์ ขีณาลโย

บทถอนอธิษฐาน

  • บทถอนอธิษฐาน
Copyright © หลวงตาณรงค์ศักดิ์ ขีณาลโย 2025 All rights reserved.
โอวาทธรรม ต.ค. - ธ.ค. 62