หลวงตาณรงศักดิ์ ขีณาลโย

  • หน้าหลัก
  • สื่อธรรมะ
    • หนังสือธรรมะ
    • เสียงธรรม
      • เสียงธรรมรายปี
      • ไฟล์เสียงจัดชุด
    • CD
    • e-Book ปุจฉา-วิสัชนา
  • ปุจฉา-วิสัชนา
  • ภาพธรรม
  • วิดีโอธรรม
  • ธรรมทัศน์
  • ธรรมถึงใจ
  • ธรรมโอวาท
    • โอวาทธรรม
      • โอวาทธรรม 60-61
      • โอวาทธรรม 62
        • โอวาทธรรม ม.ค. - มี.ค. 62
        • โอวาทธรรม เม.ย.- มิ.ย. 62
        • โอวาทธรรม ก.ค. - ก.ย. 62
        • โอวาทธรรม ต.ค. - ธ.ค. 62
      • โอวาทธรรม 63
        • โอวาทธรรม ม.ค. - มี.ค. 63
        • โอวาทธรรม เม.ย. - มิ.ย. 63
        • โอวาทธรรม ก.ค. - ก.ย. 63
        • โอวาทธรรม ต.ค. - ธ.ค. 63
      • โอวาทธรรม 64
        • โอวาทธรรม ม.ค. - มี.ค. 64
      • โอวาทธรรมถึงใจ
    • ปกิณกธรรม
    • ประชาสัมพันธ์สื่อธรรม
    • โอวาทธรรมชุด
  • Other Languages
    • English
    • Deutsch

สติปัฏฐาน ๔ คือ ทางเอกทางเดียว

 โอวาทธรรม Q4 2562 18

 

ไม่มีหรอกทางลัดน่ะ ทางลัดมี พระพุทธเจ้าก็เดินแล้ว ท่านมีปัญญามากกว่าเราตั้งมากมายมหาศาล
บุญบารมีมากกว่าเรามากมายมหาศาล ท่านยังเดินทางลัดไม่ได้เลย ท่านก็พิจารณาตรง ๆ มานี่ จนตั้งว่าทางที่จะมรรคผลนิพพานมีทางเดียวเท่านั้น ทางอื่นนอกจากนี้ไม่มี

 

คือ "สติปัฏฐาน ๔ "

 

ให้พิจารณากายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม แล้วท่านจะสอนทำไมล่ะ จะวางรากฐานไว้ทำไม อย่างนั้นท่านก็บอกว่าเข้าสู่ความว่างเลย จบนิพพานภายในขณะจิตเดียวเลย คือ สอนกันครั้งเดียวนิพพานเลย

 

ถ้าอย่างนั้นน่ะ พระองค์จะบัญญัติทำไมว่าให้พิจารณากายซะก่อน พิจารณากายในกาย แล้วก็มันก็จะเหลือเวทนาแล้วก็ไม่มีความหมายแล้ว เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม ก็หมดความหมายแล้ว คือ กายมันก็สังขาร เวทนา จิต ธรรมก็เป็นสังขารหมดเลย มันก็เป็นสังขารทั้งหมดแหละ

 

ปล่อยวางสังขารหมด มันก็คือ "ใจ" ที่ไม่สังขารแล้ว คือ ปล่อยวาง กาย เวทนา จิต ธรรม หมด
เพราะกาย เวทนา จิต ธรรม ก็คือสังขารหมดเลย

 

กายก็คือรูปร่างกายเรานี้ เวทนาก็คือ ความรู้สึกเป็นสุข ความรู้สึกเป็นทุกข์ ความรู้สึกไม่สุขไม่ทุกข์ ความรู้สึกที่ว่ามันเป็นกลาง ๆ ไม่สุขไม่ทุกข์ แล้วก็สัญญาก็คือความจำได้หมายรู้

 

กายในกาย เวทนาในเวทนา จิต ก็คือ สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็คือ ความจำ ความคิด ความปรุงแต่ง ความรู้อารมณ์ต่าง ๆ นี่คือจิต

 

ธรรมในธรรม ก็คือ ธรรมารมณ์ คือ ทุกอย่างที่เป็นอาการทั้งหมดที่ถูกรู้ได้ทางใจเรียกว่าธรรมหมด ธรรม ก็คือธรรมารมณ์ สิ่งที่ถูกรู้ได้ทางใจและรวมทั้งผู้ที่ไปรู้ด้วย คือ "วิญญาณขันธ์" ที่ไปรู้ธรรมารมณ์ มันก็เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยงเหมือนกัน

 

พิจารณากายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม เพื่อให้เห็นอะไร? ให้เห็นว่ามันเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทั้งกาย เวทนา จิต ธรรม กายก็คือร่างกาย เวทนาก็คือความรู้สึกเป็นสุขเป็นทุกข์เป็นกลาง ๆ จิตก็คือ ความรู้สึกนึกคิดอารมณ์ นี่คือจิต แล้วก็ธรรมารมณ์ ก็คืออาการทั้งหมด

 

สรุปแล้ว ก็คือ อาการทั้งหมดที่ถูกรู้ได้ทั้งหมดเป็นธรรมารมณ์ และก็ไม่ใช่ว่าเป็นธรรมารมณ์ที่ถูกรู้อย่างเดียวนะ อายตนะภายใน ประตูเนี่ย ประตูทวารที่เป็นทางผ่าน ทางผ่านให้ไปรู้อายตนะภายนอกมันก็เป็นสังขารอีก เนี่ยก็คือธรรมในธรรม คือว่ามันเป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่ง ก็คือ ประตูตา ประตูหู ประตูจมูก ประตูลิ้น ประตูกาย ประตูใจ ก็เป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่ง ไม่เที่ยง เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นี่ก็ธรรมในธรรม

 

แล้วก็วิญญาณขันธ์ที่ไปรู้ผ่านประตูตา ประตูหู ประตูจมูก ประตูลิ้น ประตูกาย ที่ไปรู้รูปรสกลิ่นเสียงสัมผัสเสียดสีธรรมารมณ์ วิญญาณขันธ์เนี่ยก็ไม่เที่ยงอีก เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นี่ก็คือ ธรรมในธรรม

 

ธรรมในธรรมสรุปแล้ว อายตนะภายนอกก็เป็นธรรมในธรรม เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อายตนะภายใน ประตูตา ประตูหู ประตูจมูก ประตูลิ้น ประตูกาย ประตูใจ ก็เป็น อนิจจังทุกขัง อนัตตา

 

"วิญญาณขันธ์" ที่ไปรับรู้ทางประตูตา ประตูหู ประตูจมูก ประตูลิ้นประตูกาย ประตูใจ ก็เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

 

งั้นสรุปแล้ว ธรรมในธรรมก็คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ "ขันธ์ห้า"รวมทั้งสังขารทั้งหมดที่เป็นนิวรณ์ห้า สังขารที่เป็นอุปกิเลสสิบหก ล้วนแต่เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทั้งหมด ไม่มีอะไรยึดมั่นถือมั่น ไม่ใช่ตัวตนไม่ใช่เป็นของเรา

 

ไม่ใช่ว่าพอใจมีอาการไม่สบายหน่อย นี่ใจของเราไม่สบาย พอใจเรามีกิเลสหน่อย ใจของเรามีกิเลส
พอใจว่าง ใจของเราว่าง
พอใจทุกข์ ใจของเราทุกข์
พอใจสุข ใจของเราสุข
พอใจเศร้าหมอง ใจของเราเศร้าหมอง
พอใจผ่องใส ใจของเราผ่องใส

 

มันยึดหมดเลยอันเนี้ย

 

พระพุทธเจ้าบอกยึดไม่ได้ยึดไม่ได้ แต่พอเกิดอะไรขึ้น กูยึดหมดเลยตะพึดตะพือ ยึดทุกอย่างเลย แล้วมันตรงคำสอนมั้ยเนี่ย

 

สติปัฏฐาน ๔ เป็นทาง ๆ เดียวที่มันไม่สามารถที่จะใช้วิธีลัดได้ มันต้องพิจารณาแทงทะลุให้ขาดไป เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ตั้งแต่กาย เวทนา จิต ธรรม ทั้งอายตนะภายนอก อายตนะภายในและ "วิญญาณขันธ์" ที่รู้ผ่านอายตนะภายในไปสู่อายตนะภายนอก

 

*** ล้วนเป็นสังขารปรุงแต่งหมดสิ้น ยึดมั่นถือมั่นไม่ได้ ***

 

รวมทั้งอุปกิเลสสิบหก และนิวรณ์ห้า ก็เป็นสังขารปรุงแต่งทั้งหมด รวมทั้งธรรมทั้งหมวดเลยทุกหมวด ธรรมทั้งหมวดก็เป็นความปรุงแต่งยึดถือไม่ได้

 

แต่ธรรมนั้นเอามาใช้เป็นเรือข้ามฟากให้เข้าใจถึงสัจธรรมความจริง อริยมรรคทั้งแปดข้อ จึงเป็นสังขารเป็นความปรุงแต่งเป็นกิริยาจิต ยังไม่ใช่เป็น "อกิริยา"

 

สติ สมาธิ ปัญญา เป็นสังขารเป็นกิริยาจิตปรุงแต่งเอามาใช้ให้เกิดความรู้ความเข้าใจว่าอะไรเป็นสังขาร และก็สิ้นยึดถือสังขารกลายเป็นใจที่ไม่สังขาร แล้วก็ไม่ยึดถือแม้แต่ใจที่ไม่สังขาร ก็นิพพานไป

 

สติ สมาธิ ปัญญา จึงรู้แจ้งตลอดสาย อาศัยเป็นเรือข้ามฟากแต่ไม่ได้ยึดเรือนั้น แต่อาศัยสติสมาธิปัญญามารู้เห็นเข้าใจ ไม่ใช่รู้เห็นเข้าใจเพื่อให้ตัวเราไปเป็นอะไร แต่รู้เห็นเข้าใจเพื่อให้หายโง่เท่านั้นเอง

 

ไม่ใช่ว่ามาปฏิบัติธรรมให้มันรู้เห็นเข้าใจแล้วตัวเราไปได้ ตัวเราไปถึง ตัวเราไปเป็น ตัวเราไปรู้แจ้ง ตัวเราไปบรรลุ ตัวเราไปนิพพาน... ไม่ใช่

 

แต่ให้มันหายโง่ว่าไม่มีอะไรยึดมั่นถือมั่น เพราะความคิดความรู้สึกเป็นตัวเรา ที่จะไปรู้ ไปเห็น ไปได้ ไปเป็นน่ะ มันเป็น "อวิชชา" มันเป็นสังขาร เป็นความปรุงแต่ง

 

พอปล่อยวางตัวเราไปแล้วเห็นว่ามันเป็น "อวิชชา" เป็นสังขารเป็นความปรุงแต่ง ไม่ยึดถือความคิดความปรุงแต่งความรู้สึกที่เป็นเราเป็นตัวตนของเราเสีย เพราะมันเป็นสังขาร

 

ความคิดความรู้สึกที่เป็นเราเป็นตัวตนของเรา มันก็ถูกปล่อยวางไปหมดสิ้น เหลือแต่ความรู้ที่บริสุทธิ์ ไม่มีตัวเราปนอยู่ในความรู้

 

ความรู้ที่บริสุทธิ์ไม่มีตัวเราปนอยู่ในความรู้นั่นแหละ นั่นแหละ คือ นิพพาน

 

หลวงตาณรงค์ศักดิ์ ขีณาลโย
โอวาทธรรมจากไฟล์เสียง
191005B2-3 แจกแจงธรรมละเอียดทุกแง่ทุกมุม ตอน 2
5 ตุลาคม 2562

 

ฟังจากยูทูป :
https://youtu.be/ThRFRK2d3tg

 

ฟังจากระบบซาวด์คลาวด์ : https://soundcloud.com/luangtanarongsak/191005b2-3-2

 

~~~~~~~~~~~~~~~

 

Tweet
  • Social sharing:
  • Add to Facebook
  • Add to Delicious
  • Digg this
  • Add to StumbleUpon
  • Add to Technorati
  • Add to Reddit
  • Add to MySpace
  • Like this? Tweet it to your followers!

Related items

  • 250307B-4 อวิชชาในผู้รู้
  • 250307B-3 เรียนรู้ในเหตุ เข้าใจในผล
  • 250307B-2 พุทธะ ธรรมะ สังฆะ อยู่ที่ใจ
  • 250307B-1 เมื่อไม่ยึดถือก็ไม่ต้องปล่อยวาง
  • 240914A-5 เงื่อนไขบังธรรมเพราะความเข้าใจผิด
More in this category: « พบใจ พบธรรม ถึงใจ ถึงพระนิพพาน ธรรมทั้งมวลไม่ควรยึดมั่นถือมั่น »
back to top

Search

โอวาทธรรม Archive

  • โอวาทธรรม 60-61
  • โอวาทธรรม 62
    • ม.ค. - มี.ค. 62
    • เม.ย. - มิ.ย. 62
    • ก.ค. - ก.ย. 62
    • ต.ค. - ธ.ค. 62
  • โอวาทธรรม 63
    • ม.ค. - มี.ค. 63
    • เม.ย - มิ.ย. 63
    • ก.ค. - ก.ย. 63
    • ต.ค. - ธ.ค. 63
  • โอวาทธรรม 64
    • ม.ค. - มิ.ย. 64
  • โอวาทธรรมถึงใจ
  • ประชาสัมพันธ์สื่อธรรม
  • โอวาทธรรมชุด

5BA01AEA 57EC 462B B6FB 90B6B03148ED

719CBB23 865C 4DF5 A1C8 222F752DCCBB

« May 2025 »
Mon Tue Wed Thu Fri Sat Sun
      1 2 3 4
5 6 7 8 9 10 11
12 13 14 15 16 17 18
19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31  

Facebook

เพจหลวงตาณรงค์ศักดิ์ ขีณาลโย

บทถอนอธิษฐาน

  • บทถอนอธิษฐาน
Copyright © หลวงตาณรงค์ศักดิ์ ขีณาลโย 2025 All rights reserved.
โอวาทธรรม ต.ค. - ธ.ค. 62