หลวงตา : เหมือนกับเราไม่รู้จริง ๆ ไม่ใช่เราคิดว่าเรารู้มากกว่าเค้า ให้ถามจริง ๆ ออกมาเลยว่า... เราติด ๆ ขัด ๆ ตื้อ ๆ ตัน ๆ มันไม่ทะลุ ที่พยายามมาหาหลวงตาเนี่ย เราติดอะไร ถามหนูสองคนนี่เลย อยากให้ถามจริง ๆ ออกมาจากใจของเรา
โยม : คุณยายสงสัยมากตัวเองทำไมกลัว? กลัวชีวิตหลังความตาย กลัวว่าต้องเกิดอีก ทั้งที่หลวงตาก็ให้การบ้านไปแล้วว่า “ไม่มีตัวเรา” ไม่ต้องวาง ไม่ต้องวางอะไร เพราะไม่มีตัวเรา ท่องมาสองปีแล้วค่ะ อยากถามลูกสองคนน่ะค่ะ ว่าจะทำยังไงนะคะ ถึงจะยอมรับได้ว่ามันไม่มีตัวเราจริง ๆ ไม่ต้องไปท่อง? ตอบคำถามให้คุณยายหน่อยเถอะค่ะ
น้องพอดี : หนูคิดว่านะคะ คือจริง! ที่คุณป้าท่องคือไม่มีตัวเรา เราแบบวางทำไม ไม่มีตัวเราอยู่แล้ว
แต่คือเหมือนบางครั้ง … เราคิดว่า … เราน่ะไม่มีตัวตนแล้ว แล้วเราก็พยายามที่จะไปปล่อยวางมัน … ไม่ปล่อยวางมัน เพราะคิดว่าเราน่ะไม่ได้มีตัวเราแล้ว แต่ลำดับแรกเลย … หนูคิดว่า เราควรจะแน่ใจก่อนว่าเราน่ะไม่ได้ “ยึด” แล้ว ว่ามันคือตัวเรา
ก็คือ เราไม่ควรคิดว่าเราไม่มีตัวเราแล้ว เพราะมันยิ่งเป็นการเหมือนบ่งบอกว่าเราน่ะมี “ตัวตน” ที่มันจะพยายามไปให้ไม่มีตัวตนน่ะค่ะ
น้องนินิม : ขอโอกาสนะคะ ก็แค่พิจารณาความตายอยู่ทุกลมหายใจแค่นั้น
โยม : คำตอบของน้องพอดี กับหนูนินิม มันใช่เลยค่ะ นี่คือวิธีการที่จะต้องไปทำ หรือ ไม่ทำก็แล้วแต่
ก็คือหนึ่ง … ก็จะต้องยอมรับมันจริง ๆ แจ้งจริง ๆ ไม่ใช่ท่อง! อย่างที่น้องพอดีบอก
ข้อสองก็ … สิ่งที่ต้องทำจริงๆ ก็คือ “มรณานุสติ” การม้างกายที่เหมือนหลวงตาสอน
การทำหรือไม่ทำก็แล้วแต่ ยอมรับความจริงว่า ร่างกายเราเป็นอย่างนี้ มันไม่มีตัวตนมาตั้งแต่แรก รู้จริงๆ ไม่ใช่ท่องจำ! ก็คือต้องพิจารณาตรงนี้เจ้าค่ะ ก็เป็นไปตามที่หลวงตาสอนทุกประการเจ้าค่ะ ... สาธุนะคะ
น้องพอดี : คุณยายต้องไม่ใช่แค่รู้ว่า... คือต้องรู้จริงๆ ! น่ะค่ะ เพราะบางครั้งมันก็เหมือนตัวเราอีกที ที่ไปรู้ว่ามันมีตัวเรา ซึ่งเราไม่ได้เห็นจริง ๆ ไม่ได้เห็นว่าเรา “เป็นคนคิดปรุงแต่ง” ขึ้นมาน่ะค่ะ ก็คือ อยากให้ระวังนิดหนึ่งน่ะค่ะ คือ เหมือนบางครั้งมันยังปรุงแต่งอยู่ แต่เหมือนเรา “คิด” อีกความคิดหนึ่งว่า … “เนี่ย ไม่ใช่ตัวเราแล้ว เรารู้ทุกอย่างแล้ว” “เราไม่มีตัวเราแล้ว” น่ะค่ะ
โยม : น้องพอดีกำลังจะบอกคุณยายว่า คุณยายแอบมีตัวซ่อนอยู่ใช่มั้ยคะ?
น้องพอดี : ค่ะ
โยม : แล้วไอ้ตัวแอบตัวนั้น ให้มันหายไปยังไงน่ะคะ?
น้องพอดี : ให้เรายอมรับน่ะค่ะ ให้เราไม่คิดน่ะค่ะ ก็คือเหมือนการ “ปล่อยวาง” ที่พี่นิม แล้วก็หลวงตา ได้ย้ำว่าให้ปล่อยวางน่ะค่ะ
โยม : แล้วตัวนั้นไม่หายทำไงนะคะ?
หลวงตา : อาจารย์นินิมว่าไง
โยม : มันยังแอบดื้อ ... ดื้อ… แล้วเราก็ไปบังคับแล้วก็ไปดุว่าเค้า แล้วเค้าก็ไม่ได้อิสระสักที เพราะมันมีคนไปบอกว่า … ต้องไม่มีนะ! ต้องไม่มีนะ! ไอ้ “ตัวแอบ”นี่มันตัวร้าย จะทำยังไงกับมันดีนะคะ?
น้องนินิม : ขอโอกาสนะคะ ก็ปล่อยให้มันดื้อไปของมันค่ะ แล้วก็ไม่ต้องไปอะไรกับมันค่ะ
โยม : สาธุเลยค่ะ ง๊าย ง่าย ค่ะ ไม่ซับซ้อน อยากจะดื้อก็ดื้อไป ไม่ต้องยุ่งกับมันใช่มั้ยคะ?
น้องนินิม : ค่ะ
โยม : ก็เท่านั้นเอง … สาธุ
น้องนินิม : ก็แค่รู้มันเฉย ๆ น่ะค่ะ รู้มัน แล้วก็ปล่อยให้มันไป ก็ช่างมัน ... แค่นั้นค่ะ
โยม : ชัดเจนเลยค่ะ ขอบคุณนะคะ … สาธุ
หลวงตาณรงค์ศักดิ์ ขีณาลโย
โอวาทธรรมจากไฟล์เสียง
190330B-4 ตอบคำถามโดยน้องพอดี & นินิม 2
30 มีนาคม 2562
ฟังจากยูทูป :
https://www.youtube.com/watch?v=AinTZXZotaY
ฟังจากระบบซาวด์คลาวด์ :
https://soundcloud.com/luangtanarongsak/190330b-4-2
--------------------------
แนะนำไฟล์เสียงและวีดีโอซีรีส์น้องพอดีและน้องนินิม (คู่ธรรมโรจนธรรมอนันต์)
น้องพอดี : ส่งการบ้านครั้งที่ 1 ที่โรจนธรรมสถาน (29 ก.ย.2561)
ไฟล์เสียง : 180929A-1 สิ้นความยึดถือ
https://youtu.be/mNwFyzygvWQ
วีดีโอ : สิ้นความยึดถือ
https://youtu.be/-Ys_ricxxLY
น้องพอดี – น้องนินิม : ตอบคำถามที่โรจนธรรมสถาน (30 มี.ค.2562)
ไฟล์เสียง : 190330B-3 ตอบคำถามโดยน้องพอดี & นินิม 1
https://youtu.be/8bfTEoic2hs
ไฟล์เสียง : 190330B-4 ตอบคำถามโดยน้องพอดี & นินิม 2
https://youtu.be/AinTZXZotaY
วีดีโอ : พอดี&นินิม ทำอย่างไรให้ลูกสนใจธรรมะ (How to motivate kids interested in Dhamma - English subtitle)
https://youtu.be/cSLnPNohUgQ
วีดีโอ : #1# น้องพอดี & น้องนินิม @โรจนธรรมสถาน 30 มี.ค.2562 ช่วงแรก (ส่งการบ้าน)
https://youtu.be/tnyjUtJH58Q
วีดีโอ : #2# น้องพอดี & น้องนินิม @โรจนธรรมสถาน 30 มี.ค.2562 ช่วงตอบคำถาม ตอนที่ 1/3
https://youtu.be/PsTPN6-VmrA
วีดีโอ : #3# น้องพอดี & น้องนินิม @โรจนธรรมสถาน 30 มี.ค.2562 ช่วงตอบคำถาม ตอนที่ 2/3
https://youtu.be/mVRHMLDTQZU
วีดีโอ : #4# น้องพอดี & น้องนินิม @โรจนธรรมสถาน 30 มี.ค.2562 ช่วงตอบคำถาม ตอนที่ 3/3
https://youtu.be/lwxTjom2XjY