น้องพอดี : จะส่งการบ้านหลวงตาเจ้าค่ะ ก็คือดูจิตตัวเองเจ้าค่ะแล้วคราวเนี้ย มันเห็นกิเลสที่มันมาเป็นรูปแบบที่ทำให้เราคิดว่า ... มันไม่ใช่กิเลส คือ มันอยากทำดี อยากคิดดี อยากให้มันดีที่สุด
ก็เลยรู้สึกว่าเราควรเห็นมันอย่างเดียวแล้วก็ไม่ไป... เหมือนที่หลวงตาบอก... ไม่พยายามไปทำให้มันหายไป แต่ว่าดูมัน แล้วก็เห็นมันอย่างเข้าใจเจ้าค่ะ
เลยอยากรู้วิธีที่จะแก้ไข เมื่อมันมีกิเลสรูปแบบนี้ขึ้นมาเจ้าค่ะ
หลวงตา : เอ้า อาจารย์นินิม มาตอบหนูพอดีหน่อย หนูพอดีปีนี้อายุเท่าไหร่แล้วลูก?
พอดี : สิบขวบอยู่เจ้าค่ะ กำลังจะสิบเอ็ดเจ้าค่ะ
หลวงตา : อาจารย์นินิม ตอนนี้ ปีนี้ก็สิบสองขวบแล้ว ก็อยู่ในไฟล์เสียง เป็นลูกศิษย์หลวงตาตั้งแต่หกขวบ
นี่พอดีเป็นลูกศิษย์หลวงตา สิบขวบ ความรู้ความสามารถในธรรมนี่ไม่ใช่เด็ก เพราะฉะนั้นจิตนี่เป็นธรรมแท้ หรือ ใจดั้งเดิมแท้ ๆ เป็นธรรม ไม่มีเด็ก ไม่มีผู้ใหญ่
เอ้า... เดี๋ยวให้อาจารย์นินิมตอบคำถาม ตอบความสงสัยของหนูพอดี
น้องพอดี : ก็คืออยากรู้ว่าเวลาดูจิตแล้วเราไปเจอกิเลส ที่มันมาเป็นรูปแบบของอยากทำดี อยากคิดดีอย่างนี้ค่ะ แล้วก็เลยอยากรู้ว่าควรแก้อย่างไรค่ะ?
น้องนินิม : ก็แค่รู้ว่าอยาก แค่นั้นค่ะ แค่รู้ว่าอยาก... แต่ไม่มี “ผู้ไปรู้” แค่รู้ว่าอยากทำดีแค่นั้น ไม่มีผู้ไปยึดความดีอะไรนั้นอยู่
หลวงตา : เข้าใจมั้ยลูก?
น้องพอดี : เข้าใจค่ะ
หลวงตา : หา... แหมเด็กพูดกันแค่นี้เข้าใจเลย มันทำไมง่ายอย่างเงี้ย ไหนหนูลองทวนซิ เอ้า... เข้าใจยังไง ไหนหนูลองพูดออกมาใหม่ซิ
น้องพอดี : ก็คือเหมือนแค่รู้ว่า… มันอยาก แต่ว่าไม่ต้องไปยึดติดมันค่ะ
หลวงตา : หือ … เด็กเข้าใจง่ายมากเลย มีอะไรอีกมั้ยลูก? อยากจะพูดออกมาจากใจ
น้องพอดี : ก็คืออยากรู้ว่า ถ้าสมมุติว่า เหมือนเราเห็นว่าเราคิดปรุงแต่งขึ้นมาเองว่าเราเห็น “ผู้รู้” ทั้งที่เราไม่ได้เห็น “ผู้รู้ตัวจริง” แล้วเราออกมาแล้วนะคะ... คือ เราหยุดคิดแล้ว แต่ว่าเหมือนเราไม่แน่ใจว่า อะไรคือของจริง หรือ อะไรที่เราคิดขึ้นมาเอง?
น้องนินิม : ก็ถ้าเกิดเป็น “ผู้รู้ตัวจริง” ก็จะแบบไม่มี ... “ผู้” ... ไปอะไร ไม่มีผู้ไปรู้ แค่รู้เฉย ๆ แบบไม่มีอะไรไปกระทำ รู้ขึ้นมาเอง ... แค่นั้นค่ะ ก็แค่รู้ขึ้นมาเองแค่นั้น
น้องพอดี : แล้วถ้าสมมุติเป็นสิ่งที่เราคิดขึ้นมาล่ะคะ?
น้องนินิม : ก็จะมีตัวเราไป เอ๊ะอ๊ะ... อุ๊อิ๊... น่ะค่ะ จะแบบ มีตัวเราไปเป็น “ผู้รู้” มีเราน่ะค่ะ แค่นั้น
หลวงตา : เข้าใจมั้ย?
น้องพอดี : เข้าใจค่ะ
หลวงตา : เอ้า เข้าใจอีกแล้ว โห... ผู้ใหญ่ยังไม่เข้าใจเลย หนูพูดกันเข้าใจสองคนเลย ไหนหนูลองอธิบายกลับหน่อยซิ หนูเข้าใจยังไงลูก?
น้องพอดี : ก็คือ ถ้าสมมุติเป็น “ผู้รู้ตัวจริง” เนี่ย คือเหมือนเราไม่ต้องเอาตัวเราเข้าไปคลุกคลีกับอารมณ์ หรือ ความรู้สึกนั้น
แต่ว่าถ้าสมมุติเป็น “ตัวเรา” ที่คิดภาพขึ้นมาเอง มันก็ยังเหมือนเดิม คือ “ตัวเรา” ไปดูมัน แต่ว่าถ้า “รู้ผู้รู้” ก็คือว่า ... มันไม่ใช่ตัวเราที่ไปดู!
หลวงตา : โอ้โห สุดยอดเลย เอ้า ... แล้วก็มีอะไรอีก
น้องพอดี : ที่หลวงตาบอกว่า จะมีสิ่งที่เราคิดว่ามันมีตัวตนแล้วเราภาวนาว่ามัน ...ไม่มีตัวตน ๆ กับถ้าสมมุติว่าเราคิดว่ามันไม่มีตัวตนจริง ๆ แล้วเราภาวนาแบบนั้นน่ะค่ะ เราควรทำหรือไม่ควรทำ?
น้องนินิม : ก็แค่ปล่อยให้มันเป็น “ของเป็นเอง” แค่นั้นค่ะ คือ “มันเป็นของเป็นเอง” น่ะค่ะ ถ้าเกิดมี... “ผู้” ... ก็จะมี “เรา” คือเราปล่อยให้มันเป็นของเป็นเอง ไม่มีผู้ไปกระทำอะไรแค่นั้นค่ะ
น้องพอดี : ก็คือเหมือนประมาณว่า เราไม่ได้ตั้งใจที่จะไปเพ่งภาวนาแบบนั้นแต่คือ... เราแค่เข้าใจ และก็ “รู้แก่ใจ” ว่าทุกสิ่งทุกอย่างมันไม่มีตัวตน อะไรอย่างนั้น
น้องนินิม : ใช่...แค่ปล่อยให้มันเป็น “ของเป็นเอง” แค่นั้นน่ะค่ะ
น้องพอดี : อยากรู้ว่าเวลาเราเกิดความรู้สึกขึ้นมา ... เหมือนเวลาเรามีความสุข ที่เราได้ทำสิ่งดีอย่างนี้ค่ะ “ถ้าเราไม่ยึดด้วยนะคะ” แค่เกิดความรู้สึกมาอย่างงั้นน่ะ ถือว่าผิด หรือว่าถูก?
น้องนินิม : ก็แค่รู้มันก็ไม่ได้ผิดอะไร สมมุติมีความรู้สึกขึ้นมาเราก็ “แค่รู้” แค่นั้นค่ะ รู้แบบ...ไม่มี “เรา” ไปรู้น่ะค่ะ คือ แบบรู้เฉย ๆ
น้องพอดี : ก็คือ... แค่รู้ความรู้สึกเท่านั้น คือ ทุกอารมณ์เลย ก็คือ... เราแค่รู้มัน
น้องนินิม : ใช่ค่ะ
น้องพอดี : ก่อนที่มาเรียนสายแบบดูจิตค่ะ หนูเคยเรียนมาว่าเหมือนเวลาให้เราภาวนาว่า... สมมุติอย่างเนี้ย...“เห็นหนอ” ... “เกิดความรู้สึกอย่างนี้หนอ”
ถ้าสมมุติว่าเราไปภาวนาแบบนั้น คือ มันถูกต้องมั้ย หรือ ว่าแค่มันเป็นการตอกย้ำเพิ่มว่าเราเกิดความรู้สึกนั้น?
น้องนินิม : ก็น่าจะใช่นะคะ เพราะว่าหนูไม่เคยพูดรู้หนออะไรแบบนี้น่ะค่ะ ก็น่าจะแบบ ... “แค่รู้” ว่าเรากำลังทำอันนี้อยู่นะ แต่ว่าไม่ได้มี “ตัวเรา” ไปรู้ด้วย น่าจะแค่นั้นน่ะค่ะ
น้องพอดี : ก็คือคล้าย ๆ เหมือนดูจิต แต่ว่าเราแค่ไม่ใส่ความรู้สึก ในคำที่เราพูดออกไป แต่ว่า ... แค่รู้
น้องนินิม : น่าจะใช่ค่ะ
น้องพอดี : หมดคำถามแล้วค่ะ
หลวงตาณรงค์ศักดิ์ ขีณาลโย
โอวาทธรรมจากไฟล์เสียง
190330B-3 ตอบคำถามโดยน้องพอดี&นินิม-1
30 มีนาคม 2562
ฟังจากยูทูป :
https://www.youtube.com/watch?v=8bfTEoic2hs
ฟังจากระบบซาวด์คลาวด์ :
https://soundcloud.com/luangtanarongsak/190330b-4-1
--------------------------
แนะนำไฟล์เสียงและวีดีโอซีรีส์น้องพอดีและน้องนินิม (คู่ธรรมโรจนธรรมอนันต์)
น้องพอดี : ส่งการบ้านครั้งที่ 1 ที่โรจนธรรมสถาน (29 ก.ย.2561)
ไฟล์เสียง : 180929A-1 สิ้นความยึดถือ
https://youtu.be/mNwFyzygvWQ
วีดีโอ : สิ้นความยึดถือ
https://youtu.be/-Ys_ricxxLY
น้องพอดี – น้องนินิม : ตอบคำถามที่โรจนธรรมสถาน (30 มี.ค.2562)
ไฟล์เสียง : 190330B-3 ตอบคำถามโดยน้องพอดี & นินิม 1
https://youtu.be/8bfTEoic2hs
ไฟล์เสียง : 190330B-4 ตอบคำถามโดยน้องพอดี & นินิม 2
https://youtu.be/AinTZXZotaY
วีดีโอ : พอดี&นินิม ทำอย่างไรให้ลูกสนใจธรรมะ (How to motivate kids interested in Dhamma - English subtitle)
https://youtu.be/cSLnPNohUgQ
วีดีโอ : #1# น้องพอดี & น้องนินิม @โรจนธรรมสถาน 30 มี.ค.2562 ช่วงแรก (ส่งการบ้าน)
https://youtu.be/tnyjUtJH58Q
วีดีโอ : #2# น้องพอดี & น้องนินิม @โรจนธรรมสถาน 30 มี.ค.2562 ช่วงตอบคำถาม ตอนที่ 1/3
https://youtu.be/PsTPN6-VmrA
วีดีโอ : #3# น้องพอดี & น้องนินิม @โรจนธรรมสถาน 30 มี.ค.2562 ช่วงตอบคำถาม ตอนที่ 2/3
https://youtu.be/mVRHMLDTQZU
วีดีโอ : #4# น้องพอดี & น้องนินิม @โรจนธรรมสถาน 30 มี.ค.2562 ช่วงตอบคำถาม ตอนที่ 3/3
https://youtu.be/lwxTjom2XjY