หลวงตาณรงศักดิ์ ขีณาลโย

  • หน้าหลัก
  • สื่อธรรมะ
    • หนังสือธรรมะ
    • เสียงธรรม
      • เสียงธรรมรายปี
      • ไฟล์เสียงจัดชุด
    • CD
    • e-Book ปุจฉา-วิสัชนา
  • ปุจฉา-วิสัชนา
  • ภาพธรรม
  • วิดีโอธรรม
  • ธรรมทัศน์
  • ธรรมถึงใจ
  • ธรรมโอวาท
    • โอวาทธรรม
      • โอวาทธรรม 60-61
      • โอวาทธรรม 62
        • โอวาทธรรม ม.ค. - มี.ค. 62
        • โอวาทธรรม เม.ย.- มิ.ย. 62
        • โอวาทธรรม ก.ค. - ก.ย. 62
        • โอวาทธรรม ต.ค. - ธ.ค. 62
      • โอวาทธรรม 63
        • โอวาทธรรม ม.ค. - มี.ค. 63
        • โอวาทธรรม เม.ย. - มิ.ย. 63
        • โอวาทธรรม ก.ค. - ก.ย. 63
        • โอวาทธรรม ต.ค. - ธ.ค. 63
      • โอวาทธรรม 64
        • โอวาทธรรม ม.ค. - มี.ค. 64
      • โอวาทธรรมถึงใจ
    • ปกิณกธรรม
    • ประชาสัมพันธ์สื่อธรรม
    • โอวาทธรรมชุด
  • Other Languages
    • English
    • Deutsch

ไม่มีตัวตนของผู้ทุกข์ เพราะไม่มีตัวตนของผู้ยึดถือ

 โอวาทธรรม Q1 2562 79 1

 

โอวาทธรรม Q1 2562 79 2

 

โยม : ... เขาบอกว่าคุณหมอไปติดสภาวะละเอียด สังเกตดี ๆ ในความสงบ ว่าง ความคิดอารมณ์ที่เป็นกิเลสหยาบเกาะติดไม่ได้นั้น มันยังมีความเปลี่ยนแปลงได้อยู่มันยังมีความเบื่ออยู่ และยังไม่เห็นว่า ผู้รู้สภาวะนั้น มันเกิดดับ ไม่ได้คงที่ถาวร คุณหมอต้องสังเกต ว่าผู้รู้มันไม่ได้รู้ต่อเนื่อง ความเข้าใจว่า ผู้รู้เป็นตัวตนคงที่จึงจะขาดสะบั้นลง

 

ตอนแรกยังไม่ get เขาตามประกบเลยเจ้าค่ะ จะปลูกต้นไม้ ขยับแขน ขยับมือ เรารู้สึกมันมีสติ เป็นปัจจุบันต่อเนื่องมาก ๆ ไม่มีอะไรเลย แต่เขาบอกว่า ให้รู้ที่ผู้รู้ อย่าไปอยู่ที่สภาวะ พอเข้าหาผู้รู้ สภาวะจึงขาดลง จึงได้รู้ว่า เมื่อกี๊หลงใน “สภาวะมีสติ อยู่กับปัจจุบันอย่างต่อเนื่อง” เสียแล้ว

 

เขาบอกว่า คุณหมอเป็นวสี เข้าสู่สมาธิ ตั้งแต่หยาบจนถึงละเอียดได้จนเคยชิน ถึงจะมีความเข้าใจ และเส้นทางเดินในจิตที่ถูกต้อง เป็นทางตรง ไม่มีเขวแล้ว แต่ความรู้แจ้ง ยังถูกบังอยู่ ต้องหมั่นสังเกตมาก ๆ

 

ระหว่างทางขับรถกลับ มันก็รำพึง วิตกวิจารณ์ขึ้นมาว่า ช่วงนี้ชีวิตรู้จักกัลยาณมิตร มากหน้าหลายตา แต่ละคนก็ระดับการปฏิบัติ ไม่เหมือนกัน รูปแบบก็ไม่เหมือนกัน เชื้อชาติ ภาษาก็ไม่เหมือนกัน

 

มันเห็นความหลากหลายของคนที่ปฏิบัติที่ได้มารู้จัก แล้วอยู่ ๆ มันก็เห็นขึ้นมาเอง ว่า ถึงแม้ คนที่มารู้จักด้วย จะมากหน้าหลายตา เยอะแยะ หลายกลุ่มไปหมด แต่คนผู้ที่ไปรู้จัก พวกเขาเหล่านั้น กลับมีแค่คนเดียว

 

คนทั้งหลาย ก็เหมือนกับสภาวะภายในจิต จะหยาบ จนถึงละเอียด จะหลากหลายมากมายยังไง แต่ผู้รู้สภาวะนั้นมีเพียงหนึ่งเดียว

 

ผู้นั้น คือ “ตัวเราเอง” เจ้าค่ะ มันย้อนทวนเข้าหาตัวเราผู้รู้ เหมือนเป็นอีกครั้งหนึ่ง ที่เห็นตัวเองอย่างแจ่มแจ้ง น้ำตาไหลพราก ราวกับไม่เคยรู้มาก่อน

 

มันรู้แล้วเจ้าค่ะ ในไฟล์เสียงที่บอกว่า ถึงกิเลสเข้าสู่ใจไม่ได้ แต่ผู้รู้กับสติ มันติดกันอยู่ มันเป็นยังไง อวิชชาตัวใหญ่ ตัวเราผู้รู้ ตัวสุดท้ายจริง ๆ ที่มันเป็นหนึ่งเดียวกับสติ มันไม่อาจถูกเห็นได้ เหมือนสังขารความคิด อารมณ์ หรือแม้แต่กริยาจิตตัวอื่น ๆ เพราะมันไม่ออกเป็นกริยาอาการให้เห็นได้ เมื่อไหร่ที่จะไปเห็น มันไปเป็นรู้ซ้อนข้างหลังทันที ไม่มีทางที่จะเห็นความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาได้ ด้วยการรู้แบบเดียวกับสังขารตัวอื่น

 

มันจะพลิกได้ด้วยสติปัญญาของเจ้าของเท่านั้น สติปัญญา ในสิ่งที่ไม่อาจเห็นได้ สติรู้ว่า “สิ่งนี้... มีอยู่” และปัญญาที่รู้ว่า “สิ่งนี้... ไม่มีจริง”

 

ตัวเราผู้รู้ มันมีอยู่ แต่มันไม่มีจริง เจ้าค่ะ

 

หลวงตา : สงบ เงียบ สงัด ว่างเปล่าไปถึงใจ ไม่มีอะไรกะดุกกะดิก ไม่มีการไป ไม่มีการมา ไม่มีการหยุดอยู่ ไม่มีการปรุงแต่ง ไม่มีผู้ยึดถือ

 

***ไม่ยึดถือแม้แต่ความสงบ...นั้น

 

นี่แหละ ที่สุดแห่งทุกข์

 

เมื่อใดแทงทะลุความดำที่ห่อหุ้มใจไว้ ซึ่งเปรียบเหมือนอวิชชา คือ ความหลงยึดถือ

 

ก็จะพบ “ใจ” หรือ ธาตุรู้ ซึ่งมันเป็นความว่างที่มีความรู้ มันรวมอยู่กับความว่างของธาตุอากาศ

 

ดังนั้น ถ้ายึดถือความว่าง แสดงว่า พึงพอใจ ติดใจ ยินดีความว่างของอากาศ ซึ่งเป็นความว่างที่ไม่มีความรู้

 

***แต่ถ้าสักแต่ว่ารู้ความว่าง คือ ไม่แอบหลงยึดถือ คือ ติดใจ พึงพอใจ ยินดีในความว่างแล้ว ก็จะเป็น “ใจ” หรือ ธาตุรู้

 

***แต่ถ้ามีความหลงยึดถือ “ใจ” หรือ ธาตุรู้ คือ มีความพยายามสักแต่ว่ารู้ อย่างนี้ เป็นความหลงปรุงแต่งยึดถือ ไม่ได้เป็น “ใจ” หรือธาตุรู้ที่ไม่สังขาร

 

***ใจหรือจิตแท้ ๆ ซึ่งเป็นธาตุรู้ที่บริสุทธิ์ตามธรรมชาติ หรือ ตามธรรม นั้น จะตั้งชื่อตามคุณสมบัติแท้ ๆ ของเขา เช่น

 

- วิสังขาร อสังขตธาตุ อสังขตธรรม ธรรมธาตุ หมายถึง เป็นธรรมชาติที่ไม่ปรุงแต่ง

 

- สุญญตา หรือ มหาสุญญตา หมายถึง ความว่างอันไม่มีขอบเขต ดุจความว่างของธรรมชาติ หรือ จักรวาล

 

- พุทธะ หรือ พุทโธ หมายถึง “ผู้รู้” คือ รู้แจ้งถึงใจในสัจจธรรมความจริงของอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

 

“ผู้ตื่น” คือ ตื่นจากอวิชชา ซึ่งเปรียบเหมือนคนหลับมายาวนานหลายภพ หลายชาติจนนับไม่ถ้วน เป็นความหลง หรือ ความไม่รู้ คือ หลงยึดถือสิ่งที่ไม่เที่ยง ซึ่งเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เช่น ร่างกายและจิตปรุงแต่ง หรือ ขันธ์ห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ว่าเป็นของเที่ยง เป็นตัวเป็นตน เป็นเรา เป็นตัวเรา หรือ เป็นของเรา หรือ ตื่นจากความหลงยึดถือวิสังขาร ซึ่งเป็นจิตแท้ ๆ หรือใจแท้ ๆ หรือ ธรรมแท้ที่ไม่ปรุงแต่ง ว่าเป็นเรา เป็นตัวเรา หรือเป็นของเรา

 

ซึ่งอวิชชา หรือ ความหลง หรือ ความไม่รู้นี้ เปรียบเหมือน ไม่รู้ว่าเป็นไฟ (ไฟราคะ ไฟโทสะ ไฟโมหะ หรือ ไฟความโลภ ไฟความโกรธ ไฟความหลง) หรือ เห็นกงจักรเป็นดอกบัว เป็นมิจฉาทิฏฐิ คือ มีความเห็นผิดไปจากสัจธรรมหรือความจริงของธรรมชาติ หรือ เป็นคนโง่ คนหลง คนไม่รู้ จึงหลงไปจับ ไปยึดให้เป็นทุกข์

 

“ผู้เบิกบาน” คือ ผู้ไม่หลงยึดถือให้เป็นทุกข์ ผู้ไม่ทุกข์ หรือ พ้นทุกข์ เรียกว่า นิพพาน

 

- นิพพาน หรือ นิพพานธาตุ หมายถึง ความไม่มีตัวตนของผู้ทุกข์ เพราะไม่มีตัวตนของผู้ยึดถือ ... *** ไม่มีตัวตนของผู้ยึดถือแม้นิพพาน ***

 

ฯลฯ

 

หลวงตาณรงค์ศักดิ์ ขีณาลโย
โอวาทธรรมจากปุจฉาวิสัชนา
25 มีนาคม 2562

 

Tweet
  • Social sharing:
  • Add to Facebook
  • Add to Delicious
  • Digg this
  • Add to StumbleUpon
  • Add to Technorati
  • Add to Reddit
  • Add to MySpace
  • Like this? Tweet it to your followers!

Related items

  • 250307B-4 อวิชชาในผู้รู้
  • 250307B-3 เรียนรู้ในเหตุ เข้าใจในผล
  • 250307B-2 พุทธะ ธรรมะ สังฆะ อยู่ที่ใจ
  • 250307B-1 เมื่อไม่ยึดถือก็ไม่ต้องปล่อยวาง
  • 240914A-5 เงื่อนไขบังธรรมเพราะความเข้าใจผิด
More in this category: « รู้แล้วติดเป็นสมมติ แจ้งใน “อริยสัจธรรม” ด้วยความเพียรจากประสบการณ์ตรง »
back to top

Search

โอวาทธรรม Archive

  • โอวาทธรรม 60-61
  • โอวาทธรรม 62
    • ม.ค. - มี.ค. 62
    • เม.ย. - มิ.ย. 62
    • ก.ค. - ก.ย. 62
    • ต.ค. - ธ.ค. 62
  • โอวาทธรรม 63
    • ม.ค. - มี.ค. 63
    • เม.ย - มิ.ย. 63
    • ก.ค. - ก.ย. 63
    • ต.ค. - ธ.ค. 63
  • โอวาทธรรม 64
    • ม.ค. - มิ.ย. 64
  • โอวาทธรรมถึงใจ
  • ประชาสัมพันธ์สื่อธรรม
  • โอวาทธรรมชุด

5BA01AEA 57EC 462B B6FB 90B6B03148ED

719CBB23 865C 4DF5 A1C8 222F752DCCBB

« October 2018 »
Mon Tue Wed Thu Fri Sat Sun
1 2 3 4 5 6 7
8 9 10 11 12 13 14
15 16 17 18 19 20 21
22 23 24 25 26 27 28
29 30 31        

Facebook

เพจหลวงตาณรงค์ศักดิ์ ขีณาลโย

บทถอนอธิษฐาน

  • บทถอนอธิษฐาน
Copyright © หลวงตาณรงค์ศักดิ์ ขีณาลโย 2025 All rights reserved.
โอวาทธรรม ม.ค. - มี.ค. 62