... มันก็จบในตัวของมันเอง... สิ้นปรุงแต่ง...ก็ว่างเปล่า
มันก็เห็นเหตุอย่างนี้แหละ สังเกตเหตุอย่างนี้แหละ
อยู่ดี ๆ ของมันก็ดีอยู่แล้ว มันก็เป็นธรรมชาติของมันอยู่แล้ว อยู่ดี ๆ ก็หาเรื่องปรุงแต่ง จะไปเอาอะไร จะไปเป็นอะไร จะให้ได้อะไร จะให้บรรลุอะไร จะให้สำเร็จอะไร จะพยายามไปรักษาอะไร มันก็เลยเริ่มทุกข์ เริ่มเครียด เริ่มมีกิเลสตัณหาขึ้นมาเลย
อยู่ดี ๆ มันก็ไม่ได้ไปปรุงแต่งเป็นกิเลสตัณหากับสิ่งใด แล้วอยู่ดี ๆ ก็พยายามจะรักษาใจไม่ให้มีกิเลสตัณหา มันก็เริ่มมีกิเลสตัณหาขึ้นมา ณ เสี้ยววินาทีที่จะไป “พยายามรักษาใจ” ไม่ให้มีกิเลสตัณหา
มันอ่านไม่ขาดเอง มันดูสังเกตไม่ออกเองว่า... เราอยู่ดี ๆ ก็ดีอยู่แล้ว ก็ปกติ ไม่เห็นมีกิเลสตัณหาอะไร ไม่มีความทุกข์ความเดือดร้อนอะไร
แล้วอยู่ ๆ ก็ไปหาเรื่องคิดปรุงแต่ง หาเหตุ หาผล หาถูก หาผิด หาความเข้าใจ ดิ้นรนค้นหา จะต้องไปเอา ไปถึง ไปได้ ไปเป็น ไปบรรลุ ไปสำเร็จให้ได้ มันก็เลยเริ่มทุกข์ขึ้นมาทันทีเลย เริ่มทุกข์น้อย ๆ เริ่มทุกข์มากขึ้นเรื่อย ๆ ทีนี้ เริ่มเครียด
หรือว่าไปพยายามรักษาสภาวะใดไว้ อยู่ดี ๆ ของมันก็ดีอยู่แล้ว มันก็เป็นปกติธรรมชาติอยู่แล้ว ที่ไม่ทุกข์
อยู่ ๆ ก็พยายามจะไปรักษาอะไร ไปประคองอะไร ไปทำอะไร ไปปรุงแต่งอะไร ไปหมกมุ่นกับอะไร มันก็เป็นทุกข์ขึ้นมาทันที
ก็สังเกตอย่างนี้แหละ โดยปกติส่วนใหญ่ก็เหมือนกับเป็น “ทางเดิน” ของผู้ปฏิบัติธรรมกันแทบทั้งนั้น คือว่า... มันมีความรู้สึกว่า.. “มันจะต้องทำ” เป็น “กระทำ” ไม่ใช่ว่าเป็น “ธรรมะ” นะ
แต่เป็นกระทำ มันจะต้องไป... ทอ – อำ – ทำ... อะไรให้เราไปได้ ไปถึง ไปเป็น
แม้แต่ว่าจะไปได้ธรรม ไปบรรลุธรรม ไปสำเร็จพระนิพพาน มันก็ต้องไปกระทำมันถึงจะได้ แบบว่ามันคิดแบบทางโลก
ทางโลกคือมันจะต้องไป “กระทำ” ถึงได้
แต่ทางธรรมะ... ธรรมชาตินี่มันตรงกันข้าม มันต้อง “สิ้นสุดการกระทำ” ในใจเรา
คืออยู่อย่างปกติ ไม่แอบไปกระทำอะไรในใจ... แอบ แอบ...ไปแอบกระทำอะไรในใจเพื่อผลประโยชน์ตัวเรา
พอในใจมันสิ้น “การแอบ” แอบไปกระทำเพื่อผลประโยชน์ของตัวเรา มันก็ไม่มีอะไร ความทุกข์เดือดร้อนมันก็ไม่มี มันก็อยู่เป็นปกติที่ไม่มีอะไร ไม่มีความทุกข์ความเดือดร้อนอะไร
แต่เราก็จะต้องไปเอา “เหตุผล” กับมันให้ได้ พยายามไปเอาเหตุผลให้ได้ หาเหตุหาผลกับมันให้ได้
แต่เสี้ยววินาทีเดียวที่จะไปหาเหตุหาผลกับมันให้ได้ มันก็กลายเป็นว่า... มี “ตัวเรา” เป็นผู้เข้าไปหาเหตุหาผล เพื่อผลประโยชน์ตัวเรา ที่เราจะไปได้อะไร จะไปเอาอะไร จะไปบรรลุอะไร จะไปสำเร็จอะไร
มันก็เลยกลายเป็นว่าเราเดินทางอยู่ในฝ่ายกิเลส เป็น "อวิชชา ตัณหา อุปาทาน"
คือ เดินทาง "ตรงข้าม" พระนิพพาน...
เราก็เลยทุกข์... เลยเครียด...
หลวงตาณรงค์ศักดิ์ ขีณาลโย
โอวาทธรรมจากไฟล์เสียง
190225-1 ตัณหาดับ ทุกข์ทั้งมวลก็ดับพร้อม
25 กุมภาพันธ์ 2562
ฟังจากยูทูป :
https://youtu.be/Yohhjw6qT7o
ฟังจากระบบซาวด์คลาวด์ :
https://soundcloud.com/luangtanarongsak/190225-1a
ดาวน์โหลด (คอมพิวเตอร์) :
http://bit.ly/2tQsBND