หลวงตาณรงศักดิ์ ขีณาลโย

  • หน้าหลัก
  • สื่อธรรมะ
    • หนังสือธรรมะ
    • เสียงธรรม
      • เสียงธรรมรายปี
      • ไฟล์เสียงจัดชุด
    • CD
    • e-Book ปุจฉา-วิสัชนา
  • ปุจฉา-วิสัชนา
  • ภาพธรรม
  • วิดีโอธรรม
  • ธรรมทัศน์
  • ธรรมถึงใจ
  • ธรรมโอวาท
    • โอวาทธรรม
      • โอวาทธรรม 60-61
      • โอวาทธรรม 62
        • โอวาทธรรม ม.ค. - มี.ค. 62
        • โอวาทธรรม เม.ย.- มิ.ย. 62
        • โอวาทธรรม ก.ค. - ก.ย. 62
        • โอวาทธรรม ต.ค. - ธ.ค. 62
      • โอวาทธรรม 63
        • โอวาทธรรม ม.ค. - มี.ค. 63
        • โอวาทธรรม เม.ย. - มิ.ย. 63
        • โอวาทธรรม ก.ค. - ก.ย. 63
        • โอวาทธรรม ต.ค. - ธ.ค. 63
      • โอวาทธรรม 64
        • โอวาทธรรม ม.ค. - มี.ค. 64
      • โอวาทธรรมถึงใจ
    • ปกิณกธรรม
    • ประชาสัมพันธ์สื่อธรรม
    • โอวาทธรรมชุด
  • Other Languages
    • English
    • Deutsch

“ความสงบใจ”

 โอวาทธรรม Q4 2562 05 1

 

โอวาทธรรม Q4 2562 05 2

 

“ความสงบใจ” จะต้องทำบ่อย ๆ ต้องฝึกให้เกิดความสงบใจเช่นนี้บ่อย ๆ ให้ต่อเนื่องและมากขึ้นเรื่อย ๆ มันจะเกิดเป็น “ความศรัทธา”

 

ความสงบใจเกิดจากการรู้เห็นความรู้สึกนึกคิด อารมณ์ สิ่งใดที่เคลื่อนไหวปรุงแต่งภายในจิตใจ แล้วไม่หลงติดไป ไม่พยายามไปกดข่มบังคับให้เขาสงบ ใจก็จะเป็นความสงบ

 

ไม่ใช่ว่าความสงบเกิดจากการเข้าใจผิด คือพยายามไปไล่ดับความรู้สึกนึกคิด อารมณ์ทั้งหลายให้มันสงบ ยิ่งจะไปไล่ดับความรู้สึกนึกคิด อารมณ์ ยิ่งจะพยายามทำให้ใจสงบ มันยิ่งจะไม่สงบ

 

เหมือนเด็กตัวเล็ก ๆ ที่มานั่ง ถ้าเราไปบีบบังคับเขา จะให้เขานิ่ง ๆ ไปคอยกอดรัดไว้แน่น ไม่ยอมปล่อย เขาจะยิ่งดิ้น ยิ่งไม่สงบ จะยิ่งมีอารมณ์เครียด แล้วก็จะโวยวาย นิสัยก็จะเสียขึ้นไปเรื่อย ๆ

 

ในจิตใจเรา ถ้าเราไปบีบบังคับจิตใจเรา จิตใจของเราถูกบีบบังคับ จะเป็นคนเครียดโดยไม่รู้ตัวและจะอาละวาดง่าย

 

ต้อง “ปล่อยวาง”... รู้เห็น... ปล่อยวาง... รู้เห็น... ปล่อยวาง... รู้เห็น... ปล่อยวาง...

 

“วางใจจากทุกสิ่ง” ... รู้เห็นความคิด อารมณ์ อาการต่าง ๆ ที่มันเกิดอยู่ในใจ แล้วก็ปล่อยวางไป... “ปล่อยวางใจ” ไปจากทุกสิ่งเหล่านั้น ใจก็จะมีความสงบระงับโดยธรรมชาติ

 

ใจเขาจะมีความสงบระงับที่เป็นธรรมชาติ ไม่ใช่เราไปบีบบังคับเขา ให้เขาสงบระงับ ยิ่งไปกดข่ม บีบบังคับเขา เขาก็ยิ่งไม่สงบระงับ

 

ถ้าคนไหนที่ปล่อยวางไม่เป็น คอยแต่จะใช้กำลังไปกดข่มบังคับ ก็ให้บริกรรมอะไรไว้ หรือพิจารณาอะไรไว้ก็ได้ เช่น คำบริกรรมว่า “พุทโธ” หรือระลึกถึงลมหายใจเข้าออกก็ได้ เอาไว้อย่างหนึ่ง พุทโธ ๆ แล้วก็สังเกตอาการของจิต ความรู้สึกนึกคิดอารมณ์ในปัจจุบัน

 

“พุทโธ” ใจมันก็พุทโธ รู้ตัวอยู่ว่ายังพุทโธอยู่ แล้วก็รู้ว่าระหว่างที่พุทโธนั้น ภายในจิตใจมีความรู้สึกนึกคิด อารมณ์ต่าง ๆ แทรกซ้อนตลอดเวลา แต่ “พุทโธ” ก็ยังอยู่นะ พุทโธไม่ได้หายไป เพราะว่ามีสติสัมปชัญญะรู้ตัวอยู่ตลอดเวลาว่าพุทโธยังอยู่

 

แต่ไม่ใช่ว่าเข้าใจผิด คือบริกรรมพุทโธแล้วเอาไปฆ่าความคิด ไปฆ่าความรู้สึกอารมณ์ใด ๆ ให้มันดับไปหมดสิ้น เหลือแต่พุทโธอย่างเดียว อันนี้เป็นการเข้าใจผิดมหันต์

 

คือ “พุทโธ” ไว้เพื่อให้เห็นผู้คิด ไม่ติดไป จิตเป็นอย่างไรได้แต่รู้ ไม่หนี ไม่สู้ แค่รู้อยู่ที่ใจ พุทโธ ๆ เพื่อให้ “รู้จิตที่คิด” ไม่ใช่ว่าพุทโธเอาไป “ไล่ดับความคิด” ให้มันนิ่งเฉย เหม่อ เป็นโรคเอ๋อ มันจะกลายเป็นคนที่เจ้าอารมณ์และเครียด เหวี่ยงซ้ายเหวี่ยงขวา วื๊ดว๊าด ๆ ถ้าวื๊ดว๊าดสู้เขาไม่ได้ก็จะเก็บกด กลายเป็นคนนิ่งเฉยเก็บกด สุดท้ายก็เป็นโรคซึมเศร้า

 

ต้องเข้าใจว่า “พุทโธ” ไม่ได้ไปดับอะไร ไปฆ่าอะไร “พุทโธ” เป็นเพียงแค่เครื่องล่อความรู้สึกตัวไว้ เมื่อมีความรู้สึกตัวตลอดเวลาว่ายังพุทโธอยู่ แล้วสังเกตให้ดี ๆ ว่าภายในจิตใจของเราว่ามีพุทโธเนี่ย มันสารพัดจะคิด นึก ตรึกตรอง ปรุงแต่ง เอ๊ะอ๊ะ ๆ

 

เอ๊ะ... เราพุทโธอยู่จริงหรือเปล่า พุทโธอย่างนี้ถูกหรือเปล่า เราต้องคอยพุทโธไว้ หรือเราพิจารณาความตายดี หรือว่าจะอยู่ว่าง ๆ ดี... มันก็เลยคิดตรึกตรอง สงสัย ลังเล เอ๊ะอ๊ะอยู่ตลอดเวลา นั่นแหละคือตัวหลอกลวง แล้วอย่าหลงไปกับเขา

 

จิตมันจะหลอกลวงทุกอย่างตลอดเวลา อย่าหลงไปกับเขา ให้มีความรู้สึกตัวอยู่กับพุทโธ ๆ ๆ แล้วก็ไม่หลงไปกับจิตที่หลอกลวง มันคิดนึก ตรึกตรอง ปรุงแต่ง เพ่ง จ้อง พยายาม ๆ ไปดิ้นรน ไปค้นหา ก็จะหลง “ละพุทโธ” กระโจนไปหาเขา

 

อย่าละพุทโธ แล้วกระโจนไปหาจิตที่ปรุงแต่ง ได้แต่รู้ สักแต่ว่ารู้จิตที่ปรุงแต่ง ใจก็จะเป็นความสงบจากความปรุงแต่ง ไม่ใช่ว่าเราไปทำให้จิตปรุงแต่งมันสงบ แต่ใจนี้เป็นธรรมชาติที่ไม่ปรุงแต่ง เป็นสภาพที่พ้นจากจิตปรุงแต่ง ก็ “อยู่กับใจ” เรื่อยไป

 

พออยู่กับ “ใจที่สักแต่ว่ารู้จิตปรุงแต่ง” ส่วนใจไม่ปรุงแต่ง ไม่พยายามเอาตัวเราไปปรุงแต่ง ก็อยู่กับใจที่ไม่ปรุงแต่ง ได้แต่รู้จิตที่ปรุงแต่ง แล้วไม่หลงติดไป คำบริกรรมพุทโธที่ช่วยจิตไว้ไม่ให้หลงก็ไม่มีความหมาย เหลือแต่ “รู้”

 

“รู้แก่ใจ” ว่าไม่หลงไปยึดถือสิ่งใดที่เป็นความปรุงแต่ง ไม่หลงไปกดข่มบังคับ ไม่หลงไปทำตามจิตที่ปรุงแต่ง ใจมันก็จะเป็นความสงบมั่นคงเพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ โดยที่เป็นความสงบที่ปราศจากการปรุงแต่ง

 

มันต้องเกิดจาก “การฝึกฝน” ถ้าไม่ฝึกฝนอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย มันจะมีแต่ความคิด มีแต่อารมณ์ มีแต่ความฟุ้งซ่านเกินไป ไม่มีประโยชน์สาระ แล้วก็แก่ แล้วก็เจ็บ แล้วก็ป่วย แล้วก็ตายไป สุดท้ายก็กระเด็นมาร้องไห้หน้างานศพตัวเอง

 

เราก็เห็นคนอื่นมาแล้ว แต่เรายังจะเป็นอย่างนั้นอีก เรายังปล่อยให้ฟุ้งซ่าน เราก็ถูกสอนมา แล้วเราก็เห็นคนที่จับว่าง จับนิ่ง จับเฉย มีอารมณ์วื๊ดว๊าด ๆ มีแต่ความฟุ้งซ่าน เวลาตายแล้วก็มาร้องไห้หน้างานศพตัวเอง แล้วก็ถูกยมทูตเขาลากเอาไป แต่เราก็ยังไม่กลัว เราก็ยังปล่อยให้ไปดำเนินชีวิตเหมือนกับคนที่ฟุ้งซ่านไร้สาระ เราจะใช้ชีวิตอย่างไร้สาระไปวัน ๆ

 

ไม่ว่าพระพุทธเจ้าจะเสด็จมาพูดสอนเอง พระปัจเจกพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ พ่อแม่ครูอาจารย์ ครูบาอาจารย์มาพูดสอน ก็เข้าหูซ้ายทะลุหูขวา อยู่ไปวัน ๆ หนึ่ง ไร้สาระแก่นสาร

 

หลวงตาณรงค์ศักดิ์ ขีณาลโย
โอวาทธรรมก่อนฉันภัตตาหารเช้า
ณ พุทธธรรมสถานปัญจคีรี
วันที่ 9 ตุลาคม 2562

 

~~~~~~~~~~~~~~~

 

Tweet
  • Social sharing:
  • Add to Facebook
  • Add to Delicious
  • Digg this
  • Add to StumbleUpon
  • Add to Technorati
  • Add to Reddit
  • Add to MySpace
  • Like this? Tweet it to your followers!

Related items

  • 250307B-4 อวิชชาในผู้รู้
  • 250307B-3 เรียนรู้ในเหตุ เข้าใจในผล
  • 250307B-2 พุทธะ ธรรมะ สังฆะ อยู่ที่ใจ
  • 250307B-1 เมื่อไม่ยึดถือก็ไม่ต้องปล่อยวาง
  • 240914A-5 เงื่อนไขบังธรรมเพราะความเข้าใจผิด
More in this category: « ธรรมแท้มีแต่ “ปัจจุบันขณะ” “อวิชชา” คือหลงยึดถือธรรมชาติมาเป็นเรา »
back to top

Search

โอวาทธรรม Archive

  • โอวาทธรรม 60-61
  • โอวาทธรรม 62
    • ม.ค. - มี.ค. 62
    • เม.ย. - มิ.ย. 62
    • ก.ค. - ก.ย. 62
    • ต.ค. - ธ.ค. 62
  • โอวาทธรรม 63
    • ม.ค. - มี.ค. 63
    • เม.ย - มิ.ย. 63
    • ก.ค. - ก.ย. 63
    • ต.ค. - ธ.ค. 63
  • โอวาทธรรม 64
    • ม.ค. - มิ.ย. 64
  • โอวาทธรรมถึงใจ
  • ประชาสัมพันธ์สื่อธรรม
  • โอวาทธรรมชุด

5BA01AEA 57EC 462B B6FB 90B6B03148ED

719CBB23 865C 4DF5 A1C8 222F752DCCBB

« May 2025 »
Mon Tue Wed Thu Fri Sat Sun
      1 2 3 4
5 6 7 8 9 10 11
12 13 14 15 16 17 18
19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31  

Facebook

เพจหลวงตาณรงค์ศักดิ์ ขีณาลโย

บทถอนอธิษฐาน

  • บทถอนอธิษฐาน
Copyright © หลวงตาณรงค์ศักดิ์ ขีณาลโย 2025 All rights reserved.
โอวาทธรรม ต.ค. - ธ.ค. 62