หลวงตาณรงศักดิ์ ขีณาลโย

  • หน้าหลัก
  • สื่อธรรมะ
    • หนังสือธรรมะ
    • เสียงธรรม
      • เสียงธรรมรายปี
      • ไฟล์เสียงจัดชุด
    • CD
    • e-Book ปุจฉา-วิสัชนา
  • ปุจฉา-วิสัชนา
  • ภาพธรรม
  • วิดีโอธรรม
  • ธรรมทัศน์
  • ธรรมถึงใจ
  • ธรรมโอวาท
    • โอวาทธรรม
      • โอวาทธรรม 60-61
      • โอวาทธรรม 62
        • โอวาทธรรม ม.ค. - มี.ค. 62
        • โอวาทธรรม เม.ย.- มิ.ย. 62
        • โอวาทธรรม ก.ค. - ก.ย. 62
        • โอวาทธรรม ต.ค. - ธ.ค. 62
      • โอวาทธรรม 63
        • โอวาทธรรม ม.ค. - มี.ค. 63
        • โอวาทธรรม เม.ย. - มิ.ย. 63
        • โอวาทธรรม ก.ค. - ก.ย. 63
        • โอวาทธรรม ต.ค. - ธ.ค. 63
      • โอวาทธรรม 64
        • โอวาทธรรม ม.ค. - มี.ค. 64
      • โอวาทธรรมถึงใจ
    • ปกิณกธรรม
    • ประชาสัมพันธ์สื่อธรรม
    • โอวาทธรรมชุด
  • Other Languages
    • English
    • Deutsch

สมมติบัญญัติเพื่อสื่อภาษาให้เข้าใจตรงกัน

 โอวาทธรรม Q1 2562 82

 

โยม : กราบนมัสการครับหลวงตา

 

จิต กับ ใจ
ใจ เป็น วิสังขาร
จิต เป็น สังขาร

 

ใจ มีหนึ่งเดียว คือ “รู้” (ธรรมธาตุ, วิญญานธาตุ, นิพพานธาตุ, สุญญตาธาตุ อมตะธาตุ) เรียกตามคุณสมบัติของใจ

 

ส่วน... จิต มีมากหน้าหลายตา นับไม่ถ้วน

 

ท่านพุทธทาสท่านกล่าวไว้ว่า สังขาร คือ สิ่งที่ตรงกันข้ามกับวิสังขาร
ดังนั้น
จิต ปรุงแต่งได้
ใจ ปรุงแต่งไม่ได้

 

จิต เกิดดับได้
ใจ ไม่เกิดดับ

 

จิต เปลี่ยนแปลงได้
ใจ เปลี่ยนแปลงไม่ได้
เป็นต้น

 

ดังนั้นการปฏิบัติต้องทวนเข้าหาผู้รู้ หรือ ใจ นั่นเอง
ถ้าหลงไปกับจิต ก็จะทุกข์
ถ้าเป็นใจ แล้ว พ้นทุกข์

 

แต่สุดท้ายถ้ามีเราไปยึด ใจ ก็ทุกข์ทันที
เพราะการยึด ต้องมีตัวเราไปยึด เกิดอวิชชาขึ้นมา
เป็นสังขาร ก็ให้รู้เท่าทันสังขาร และไม่หลงติดไป

 

การปฏิบัติมีเท่านี้ คือ “รู้” ให้ทันสังขาร และไม่หลงติดไป ก็จะเป็นใจ แต่ไม่ยึดใจ

 

ดังนั้นองค์หลวงปู่หล้า ท่านจึงสอนว่า ...
นิพพาน ไม่มีที่หมาย
นิพพาน ข้ามผู้รู้ (ใจ)
นิพพาน ไม่ยึดทั้งสังขารและ วิสังขาร
นิพพาน ไม่ยึดทั้งสมมติ และ วิมุตติ

 

เพียรมี สติสัมปชัญญะ ปัญญา ให้แน่วแน่ อยู่ในใจเสมอว่า
จิต ล้วนเกิดดับ อยู่ในใจ
จากใจ ที่ว่างเปล่า สักพัก ก็มีบางสิ่งบางอย่างเกิดขึ้นมาตลอด
และ ดับหายไปตลอด มันเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
ไม่คงที่ จนกว่าขันธ์ห้า จะตายแล้วมันเกิดดับที่ “ใจ”

 

ดังนั้น ใจ มันจึงรู้ทุกอย่างที่เกิดขึ้น
และ มันรู้ ด้วยว่า สิ่งที่เกิดดับ ไม่ใช่มัน
และ ใจมันก็รู้จักตัวมันเอง มันจึงไม่หลงไปเป็น จิต
จิต กับ ใจ จึงต่างกันอย่างนี้

 

การปฏิบัติจึงต้องแม่นยำ
ตรงที่แม่นยำ ตรงนี้คือ สติ สมาธิ ปัญญา เป็นเรือข้ามฟาก เป็นขันธ์ห้า (ยืมมาใช้)
เมื่อถึงฝั่งแล้ว ก็ “วาง” คือ ไม่มีอวิชชา ครอบงำ

 

อวิชชา คือ ความไม่รู้ ความหลงเข้าใจผิด คิดว่า ขันธ์ห้า เป็นเรา เป็นของเรา มีตัวตน (มิจฉาทิฏฐิ)

 

พระพุทธเจ้า องค์ท่านสอนให้เห็นว่า (เจริญมรรค)
ขันธ์ห้า ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่มีตัวตน
เมื่อใด ที่เรามีความเห็นแบบนี้จึงเรียกว่า สัมมาทิฏฐิ

 

การปฏิบัติ จึงแค่เพียร... ละความเห็นผิด
และเจริญความเห็นถูกให้มีมากขึ้น ๆ

 

การปฏิบัติมีเท่านี้
จบ (ผลิตผลจากพี่จ๋า และหมอโอ๋ ครับ)

 

หลวงตา : สาธุ ถูกต้องแล้ว

 

คำว่า “จิต” กับ “ใจ” ก็เป็นเพียงชื่อสมมติ ที่บัญญัติศัพท์ขึ้นมา เพื่อสื่อสารให้เข้าใจตรงกัน ซึ่งอาจจะบัญญัติชื่อเรียก ดังนี้

 

อาการของจิต (จิตตสังขาร) กับ จิต หรือ จิตเดิมแท้ หรือ จิตดั้งเดิม (วิสังขาร หรือ ธาตุรู้)

 

อาการของใจ (จิตตสังขาร) กับ ใจ (วิสังขาร หรือ ธาตุรู้)

 

จิต (จิตตสังขาร) กับ ใจ (วิสังขาร หรือ ธาตุรู้)

 

จิตปรุงแต่ง (จิตตสังขาร) กับ พุทธะ หรือ พุทโธ (ธาตุรู้)
.................ฯลฯ

 

ถ้าคนต่างชาติ หรือ แม้แต่คนชาติเดียวกัน ก็ สมมติเรียกชื่อสังขาร กับ วิสังขาร แตกต่างกันไป

 

ซึ่งถ้าเข้าใจความหมายให้ตรงกันเสียแล้ว ก็จะไม่ถกเถียงกันด้วยภาษา

 

หลวงตาณรงค์ศักดิ์ ขีณาลโย
โอวาทธรรมจากปุจฉาวิสัชนา
29 มีนาคม 2562

 

Tweet
  • Social sharing:
  • Add to Facebook
  • Add to Delicious
  • Digg this
  • Add to StumbleUpon
  • Add to Technorati
  • Add to Reddit
  • Add to MySpace
  • Like this? Tweet it to your followers!

Related items

  • 250307B-4 อวิชชาในผู้รู้
  • 250307B-3 เรียนรู้ในเหตุ เข้าใจในผล
  • 250307B-2 พุทธะ ธรรมะ สังฆะ อยู่ที่ใจ
  • 250307B-1 เมื่อไม่ยึดถือก็ไม่ต้องปล่อยวาง
  • 240914A-5 เงื่อนไขบังธรรมเพราะความเข้าใจผิด
More in this category: « ความหมายของคำว่า “โลกธาตุ” ความแตกต่างระหว่าง “หลงคิด” กับ “รู้คิด” »
back to top

Search

โอวาทธรรม Archive

  • โอวาทธรรม 60-61
  • โอวาทธรรม 62
    • ม.ค. - มี.ค. 62
    • เม.ย. - มิ.ย. 62
    • ก.ค. - ก.ย. 62
    • ต.ค. - ธ.ค. 62
  • โอวาทธรรม 63
    • ม.ค. - มี.ค. 63
    • เม.ย - มิ.ย. 63
    • ก.ค. - ก.ย. 63
    • ต.ค. - ธ.ค. 63
  • โอวาทธรรม 64
    • ม.ค. - มิ.ย. 64
  • โอวาทธรรมถึงใจ
  • ประชาสัมพันธ์สื่อธรรม
  • โอวาทธรรมชุด

5BA01AEA 57EC 462B B6FB 90B6B03148ED

719CBB23 865C 4DF5 A1C8 222F752DCCBB

« May 2025 »
Mon Tue Wed Thu Fri Sat Sun
      1 2 3 4
5 6 7 8 9 10 11
12 13 14 15 16 17 18
19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31  

Facebook

เพจหลวงตาณรงค์ศักดิ์ ขีณาลโย

บทถอนอธิษฐาน

  • บทถอนอธิษฐาน
Copyright © หลวงตาณรงค์ศักดิ์ ขีณาลโย 2025 All rights reserved.
โอวาทธรรม ม.ค. - มี.ค. 62